Numquam prohibere somniantes
Anatolian hypothesis
Anatolian hypothesis

Anatolian hypothesis

สมมุติฐานอนาโตเลีย (Anatolian hypothesis)

สมมุติฐานอนาโตเลีย หรือทฤษฏีเกษตรกรรมประจำถิ่น (sedentary farmer theory) ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ โคลิน เรนฟริว (Colin Renfrew) ในปี 1987 

สมมุติฐานอนาโตเลีย เสนอว่า ผู้ใช้ภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปี้ยน (Proto-Indo-Europeans language, PIE) นั้นมีต้นกำเนิดมาจากดินแดนอนาโตเลีย (Anatolia บริเวณประเทศตุรกีปัจจุบัน) ตั้งแต่ยุคหินใหม่ (Neolithic) หรือประมาณ 10,000-2,000 ปีก่อนคริสต์กาล โดยภาษาถูกเผยแพร่ออกไปจากการกระจายถิ่นฐานของประชากรอย่างสันติ โดยกระบวนการที่เรียกว่า demic diffusion (การกระจายของประชากร โดยการอพยพและนำวัฒนธรรมและภาษาของตนไปด้วย) โดยมีการอพยพของประชากรจากอนาโตเลีย ไปเอเชียไมเนอร์และไปยังยุโรปในที่สุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่การทำเกษตรกรรมมีความก้าวหน้าขึ้น

แต่ต่อมาเรนฟริวมีการปรับปรุงสมมุติฐานของเขา โดยเขาสันนิษฐานว่า ภาษา Proto-Indo-Anatolian เกิดขึ้นในอนาโตเลีย ประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสต์กาล และภาษา PIE เกิดขึ้นแถวคาบสมุทรบัลค่าน (Balkans) ราว 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล

ซึ่งลำดับเหตุการณ์จากสมมุติฐานของเรนฟริวคือ

ประมาณ 6,500 ปีก่อนคริสต์กาล 

กลุ่มผู้ใช้ภาษา Pre-PIE  (Pre-Proto-Indo-European, ภาษาก่อน PIE) อาศัยอยู่ในบริเวณอนาโตเลีย ก่อนจะแตกออกเป็นสองภาษา คือ Anatolian และ  archaic-PIE (archaic Proto-Indo-European, ภาษา PIE-โบราณ)  และเริ่มขยายถิ่นฐานเข้าไปยังยุโรปพร้อมกับการขยายพื้นที่ทำเกษตรกรรม

เรนฟริว สันนิษฐานว่าภาษา archaic-PIE  เกิดขึ้นบริเวณคาบสมุทรบอลค่าน ในวัฒนธรรม สตาร์เซโว-โครอส-คริส (Starčevo–Körös–Criș culture, Starčevo – บริเวณประเทศเซอร์เบียในปัจจุบัน, Körös – มาจากชื่อแม่น้ำ Körös ในฮังการี, Criș – มาจากแม่น้ำ Criș ในโรมาเนีย) และวัฒนธรรมเครื่องปันดินเผาลายเส้น (Linear Pottery culture) แถบลุ่มน้ำดานูบ( Danube)

ประมาณ 5,00 ปีก่อนคริสต์กาล

ผู้ใช้ภาษา archaic-PIE แบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเดินทางไปยังตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป เกิดเป็นภาษา อิตาลี(Italina), เซลติค( Celtic) และเยอรมัน (Germanic)  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเดินทางไปทางตะวันออก และเป็นต้นกำเนิดของภาษาโตชาเรียน (Tocharian)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!