Numquam prohibere somniantes
Russian Formalism
Russian Formalism

Russian Formalism

Russian Formalism (русский формализм, 1918-1930) เป็นการรวมกลุ่มกันของนักคิด นักเขียน ที่มารวมกลุ่มกันเพื่อศึกษาวรรณกรรม เพื่อศึกษาวรรณกรรม ในการหา รูปแบบ (Form) โครงสร้าง (Structure) กลวิธีทางภาษา (Linguistic Devices) และ เทคนิค (technique) มากกว่าเรื่องของเนื้อหาของวรรณกรรม 

Russian Formalist Movement ถือเป็นจุดกำเนิดของทฤษฏี Formative theory หรือ Formalism ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคนิดในการสร้างภาพยนต์ 

RF ไม่ใช่กลุ่มเดี่ยว แต่ว่ามีกลุ่มย่อยที่มีอิทธิพลอยู่ 2 กลุ่ม คือ

  1. OPOYAZ (ОбПОЯЗ, Общество изучения Позтического Языка) เป็นกลุ่มที่ศึกษาด้านภาษา มีฐานอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มีสมาชิกสำคัญ อาทิ วิเตอร์ ชิกลอฟสกี้ (Vikto Shklovsky) บอริส อิกเฮนบวม (Boris Eikhenbaum) ยูริ ไทเนียนอฟ (Yuri Tynyanov) เซอร์เกย์ เบิร์นสไตน์ (Sergey I. Bernstein)
  2. กลุ่มภาษาศาสตร์มอสโคว์ (Moscow Linguistic Circle) เป็นกลุ่มที่อยู่ในมอสโคว์ มีสมาชิกสำคัญ อาทิ กริกอรี่ วิโนกูร์ (Grigory Vinokur) และ โรมัน ยาค๊อฟสัน (Roman Jakobson)

แนวคิดหลักของ Russian Formalism

  1. Form (รูปลักษณ์)
  2. การทำให้แปลก (Defamiliarization) เป็นแนวคิดที่คิดโดย วิกเตอร์ คลอฟสกี้ หมายถึง การนำเสนอสิ่งที่สามัญธรรมดาในรูปแบบที่ไม่คุ้นเคยหรือแปลกใหม่ เพื่อ ทำลายกำแพงของความคุ้นชิ้น เพื่อจะเป็นการบังคับให้ผู้อ่านได้มองเห็นมุมมองใหม่ของตัวละคร
  3. Literariness (Literaturnost)  แนวคิดของ RF มีคำถามสำคัญว่า อะไรที่ทำให้ตัวหนังสือกลายเป็นวรรณกรรม ? (What makes a text literay?) ซึ่ง RF อ้างว่า การจะจัดว่าสิ่งนั้นจะเป็นวรรณกรรมได้หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหา แต่อยู่ที่การใช้กลวิธีทางภาษา และเครื่องมือที่จำเพาะ ซึ่งทำให้วรรณกรรมถูกแยกออกมาได้จากภาษาทั่วไปที่ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
  4. กลวิธี (Device) ชาว RF เชื่อว่า วรรณกรรมคือผลรวมของกลวิธีทางวรรณศิลป์และโครงสร้าง (เช่น อุปลักษณ์ การซ้ำคำ จังหวะ การวางดครงเรื่อง และมุมมองการเล่าเรื่อง)
  5. เค้าโครงเรื่อง (Syuzhet) และ เนื้อเรื่อง (Fabula)
    1. เนื้อเรื่อง (Fabula) คือ วัตถุดิบของเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ 
    2. เค้าเรื่อง (Syuzhet) คือ วิธีการจัดเรื่องและนำเสนอเรื่อง หรือ พล๊อต (Plot) ซึ่งการจัดลำดับเค้าเรื่อง จะทำให้เกิดผลกระทบทางวรรณกรรม ทำให้เกิดความน่าสนใจ สงสัย และความประหลาดใจได้
  6. เน้นรูปลักษณ์ RF เชื่อว่า รูปลักษณ์ (Form) มีความสำคัญมากกว่าเนื้อหา (Content) 

ความเคลื่อนไหวของ RF ในสหภาพโซเวียตถูกโจมตีจากรัฐบาลสหภาพโซเวียตจนทำให้การเคลื่อนไหวภายในสหภาพโซเวียตหยุดไปในช่วงปี 1930s แต่ว่าสมาชิกสำคัญของกลุ่มอย่าง ยาค๊อฟสั้นได้ลี้ภัยไปยังยุโรปตะวันตก มีอิทธิพลต่อการกำเนิด แนวคิดว่าโครงสร้างนิยม  (Structuralism) ผ่านกลุ่มนักเขียนปราก (Prague Linquistic Circle)  และต่อมายาค๊อฟสันไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ทำให้แนวคิดของ RMF เผยแพร่ออกไป ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนางานวรรณกรรม รวมถึงงานภาพยนต์จนกระทั้งปัจจุบัน

ผลงานสำคัญที่เป็นพื้นฐานของ Formalism

  1. Resurrection of the Word, 11917, Shklovsky
  2. Art as a technique, 1917, Shklovsky
  3. How Gogol’s “Chinel” was made, 1919 , บทความวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง Chinel ของโกโกล (Gogol) ที่เขียนโดย บอริส อิกเฮนบวม (Boris Eikhenbaum)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!