ศิลปะติการาม
(Cilappatikaram : The Tale of an Anklet, ทมิฬ : சிலப்பதிகாரம்,)
ศิลปะติการาม เป็น 1 ใน 5 วรรณกรรมเก่าแก่ของทมิฬ (Tamil ) ถูกแต่งขึ้นมาเป็นบทกวีความยาว 5,730 บรรทัด โดยตามความเชื่อบอกว่า ไอลันโก้ อติกาล (Ilanko Atikal) นักบวชเชน (Jain Monk) เป็นผู้แต่งขึ้น โดยไอลันโก้ อติกาล เป็นพระอนุชาของกษัตริย์เชนกุตตุวาน (King Chenkuttuvn) แห่งอาณาจักรเชรา (Chera Kingdom) ที่อยู่ทางใต้ของอินเดีย ดังนั้นศิลปะติการามจึงถูกเชื่อว่าถูกแต่งขึ้นราวปี ค.ศ. 188-243 ซึ่งเป็นรัชสมัยของกษัตริย์เชนกุตตุวาน
พล๊อตเรื่อง
มหากาฬของชาวทมิฬ ทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักของ
กันนาคี (Kannaki) กับ โควาลัน (Kovalan) สองสามีภรรยาซึ่งเพิ่งจะแต่งงานกัน และใช้ชีวิตอยู่ในเมืองชายทะเล ในอาณาจักรโจละ (Chola kingdom)
โควาลัน นั้นเป็นพ่อค้าหนุ่มชาวพูการ์ (Pukar) ที่มีฐานะร่ำรวย ส่วนกันนาคีก็มาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและทั้งคู่ก็อยู่ในวรรณะเดียวกัน
อยู่มาวันหนึ่งโควาลันเกิดไปหลงสเนห์มาตาวี (Matavi) ซึ่งเป็นนักเต้นระบำที่มีชื่อเสียง โควาลันจึงได้ทิ้งกันนาคีไป
ในช่วงเทศกาลบูชาพระอินทร์ (Indra) เทพเจ้าแห่งฝน โควาลันได้ขับร้องบทกวีเกี่ยวกับผู้หญิงที่ทรยศคนรัก ในขณะที่มาตาวีได้ร้องเพลงเกี่ยวกับผู้ชายที่หักรักคนรัก ซึ่งเนื้อเพลงนั้นเหมือนกับต้องการจะสื่อสารให้อีกฝ่ายรู้ หลังจากนั้นโควาลันจึงได้แยกทางกับมาตาวี และกลับไปหากันนาคี
ต่อมากันนาคีกับโควาลัน เดินทางไปเที่ยวยังเมืองมาตุรัย (Maturai) ของอาณาจักรปัญญา (Pandya kingdom) โควาลันได้ใช้โอกาสนี้สารภาพความผิดต่อกันนาคี และนางก็ให้อภัย และขอให้เริ่มต้นชีวิตครอบครัวกันใหม่ ในโอกาสนี้กันนาคีได้มอบกำไลข้อเท้าของนางให้เพื่อให้สามีเอาไปขายเพื่อเป็นทุนในการเริ่มต้นกันใหม่
โควาลันนำเอากำไรข้อเท้าของก้นนาคี ไปขายให้กับช่างทองขี้โกงหนึ่ง ซึ่งช่างทองคนนี้เพิ่งจะขโมยกำไรข้อเท้าที่เหมือนกับของกันนาคีมาจากพระราชินี
ต่อมาพระราชาสั่งให้จับโควาลันในฐานะของหัวขโมย และประหารโควาลัน
เมื่อกันนาคีทราบว่าสามีถูกจับ นางก็เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือสามี โดยนำกำไรข้อเท้าอีกข้างของเธอมาด้วย เพื่อพิสูจน์ว่ากำไรข้อเท้าอันนั้น โควาลันสามีของนางไม่ได้ขโมยมา นอกจากนั้นกำไรของกันนาคีก็ประดับด้วยทับทิม ในขณะที่กำไรของพระราชินีนั้นประดับด้วยไข่มุก นี่จึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่าโควาลันเป็นผู้บริสุทธ์
แต่ว่ากันนาคีมาช่วยโควาลันไม่ทัน สามีของนางถูกประหารชีวิตไปเสียแล้ว กันนาคีเสียใจมาก จึงได้โยนกำไลข้อเท้าของนางที่เหลือไปที่หน้าพระพักตร์ และกล่าวคำสาบแช่งพระราชาตลอดจนประชาชนของมาตุรัย กันนาคีฉีกหน้าอกของตัวเองและโยนไปที่หมู่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งเมื่อหน้าอกของกันนาคีตกลงผืนดินก็ทำให้เกิดไฟลุกขึ้นมาเผาพลาญเมืองมาตุรัยทั้งเมืองจดมอดใหม่ ในขณะที่พระราชาก็สวรรคตด้วยความตกพระทัย ในเหตุการณ์นี้ประชาชนเกือบทั้งหมดของเมืองเสียชีวิตลง ยกเว้น พราห์ม, วัว, ผู้ชายหรือผู้หญิงที่ซื่อสัตย์, คนแก่ เด็ก คนพิการ
หลังจากเดินทางออกมาจากมาตุรัย กันนาคีไปมุ่งหน้าไปยังอาณาจักเชระ (Chera kingdom) ซึ่งระหว่างทางนางได้พบกับพระอินทร์ซึ่งประทับรถม้า และพระอินทร์ได้พากันนาคีขึ้นไปยังสรวงสรรค์ด้วย
เมื่อพระราชาของอาณาจักเชระ ทราบเรื่องดังกล่าวก็ได้รับสั่งให้มีการสร้างวัดขึ้นมาเพื่อบูชากันนาคี ในฐานะเทพเจ้า และได้เสด็จไปยังเทือกเขาหิมาลัยเพื่อนำหินมาสลักเป็นรูปของกันนาคี และเรียกกันนาคีว่าว่า เทพปัตตินี (Pattini)