Numquam prohibere somniantes
Joseph Greenberg
Joseph Greenberg

Joseph Greenberg

โจเซฟ กรีนเบิร์ก (Joseph Horald Greenberg)

ผู้บุกเบิก lingusitic typology , Amerind hypothesis

กรีนเบิร์ก เกิดวันที่ 29 พฤษภาคม 1915 ในบรู๊คลิน, นิวยอร์ค ครอบครัวของเขาเป็นคนเชื้อสายยิว 

พ่อเป็นยิวโปแลนด์ชื่อว่าจาค๊อฟ (Jacob Greenberg) เป็นเภสัชกร ส่วนแม่เป็นชาวยิวเยอรมันชื่อฟลอเรนซ์ (Florence Pilzer) โดยที่กรีนเบิร์กเป็นลูกคนที่สองในพี่น้องทั้งหมดสองคน นามสกุลเดิมของพ่อของเขาคือไซโต (Zyto) โดยที่นามสกุล Greenburg นั้นเป็นนามสกุลเจ้าของที่ดินซึ่งพวกเขาเข้ามาอาศัยระหว่างที่อพยพเข้ามาในสหรัฐฯ 

ชีวิตในวัยเด็กเขาจัดเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ในการเล่นดนตรี โดยแม่ของเขาเป็นคนสอนเปียโนให้ ก่อนที่จะส่งเขาเข้าเรียนในโรงเรียนดนตรี

            ตอนอายุ 14 ปี กรีนเบิร์กเคยจัดเปียโนคอนเสิร์ตของตัวเองในสไตน์เวย์ฮอลล์ (Steinway Hall) และยังมีความสามารถในการพูดได้หลายภาษาทั้ง ฮิบรู, อะราบิก, เยอรมันและยิดดิช

เขาจบมัธยมจากโรงเรียนมัธยมเจมส์เมดิสัน (James Madison High School) โดยที่โรงเรียนแห่งนี้สอนภาษาเยอรมันและลาตินให้กับเขา แต่ว่าระหว่างที่เรียนกรีนเบิร์กมีเพื่อนต่างโรงเรียน ซึ่งได้เรียนภาษากรีกด้วย กรีนเบิร์กเคยร้องไห้เพื่อขอพ่อไปเรียนที่โรงเรียนเดียวกับเพื่อน แต่ว่าเมื่อพ่อไม่อนุญาตแต่เห็นว่าลูกร้องไห้ เขาก็พากรีนเบิร์กเข้าร้านหนังสือเก่าและซื้อตำราเรียนภาษากรีกให้กรีนเบิร์ก เขาจึงฝึกภาษากรีกด้วยตัวเอง

1932 เข้าเรียนที่โคลัมเบียคอลเลจ (Columbia College) โดยได้มีโอกาสเรียนกับ ฟรานซื โบแอส (Franz Boas) นักภาษาศาสตร์ที่เชียวชาญด้านภาษาอินเดียนอเมริกันพื้นเมือง กับ รูท เบเนดิกต์ (Ruth Benedict) โดยระหว่างเรียนกรีนเบิร์กเกิดความสนใจที่จะวิจัยเกี่ยวกับการพบกันระหว่างศาสนาคริสต์กับอิสลามในทวีปแอฟริกา แต่ว่าที่โคลัมเบียคอลเลจไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแอฟริกา

1936 เมื่อจบปริญญาตรีจากโคลัมเบียคอลเลจ กรีนเบิร์ได้รับคำแนะนำและจดหมาแนะนำตัวของอาจารย์โบแอสและเบเนดิกต์ ให้ไปเรียนกับ เมลวิลล์ เฮอร์โกวิต (Melville Herskovits) ซึ่งเชียวชาญเกี่ยวกับแอฟริกา ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสต์เทิร์น (Nortwestern University) ในชิคาโก้  

ระหว่างเรียนปริญญาเอกกรีนเบิร์กได้มีโอกาสไปออกภาคสนามในแอฟริกาและเขาได้เข้าไปอยู่กับชนเผ่าเฮาซ่า (Huasa) ในไนจีเรีย และได้เรียนภาษาเฮาซ่า

1940 จบปริญญาเอก โดยที่เขาเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับชาวเผ่าเฮาซ่าซึ่งได้รับอิทธพลจากศาสนาอิสลาม แต่ว่าชาวเฮาซ่าปฏิเสธการเปลี่ยนไปนับถืออิสลาม

หลังจากจบ ป.เอก กรีนเบิร์กยังได้ไปศึกษาต่อเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ซึ่งที่เยลนี้กรีนเบิร์กได้รับแนวคิดแบบ Structuralism (แนวคิดที่ว่าการศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์จะสามารถเข้าใจได้ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นโดยกว้างขวาง)

แต่ว่าการเรียนต้องหยุดชะงักเพราะเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 แต่ว่าก่อนที่เขาจะไปเป็นทหาร กรีนเบิร์กได้แต่งงานกับเซลม่า  (Selma Berkowitz) ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยเรียน

1941 ช่วงสงครามโลก กรีนเบิร์กเข้าประจำการณ์ในหน่วยสื่อสาร (Army Signal Corps) ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ถอดรหัส (codebreaker) อยู่ในภูมิภาคแอฟริกา 

1942 (Operation Torch) ได้เข้าร่วมในปฏิบัติการณ์ยกพลขึ้นปกที่คาซาบลันก้า (Casablanca) ในอิตาลีช่วงปลายสงคราม

1946 หลังสงครามโลก กรีนเบิร์กมาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัมินเนโซต้า (University of Minessota) 

1948 ย้ายมาสอนหนังงสือที่มหาวิทาลัยโคลัมเบีย (University of Columbia) ในสาขามานุษยวิทยา ซึ่งระหว่างสอนอยู่ที่นี่กรีนเบิร์กได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบ Struturalism (Prague School) 

1949 มีผลงานเขียนชิ้นสำคัญชิ้นแรก คือเรื่องการจำแนกภาษาในแอฟริกา (the genetic classification of the languages of Africa) ซึ่งเขียนเป็นประจำลงในวารสาร the Southwestern Journal of Anthropology ซึ่งเขียนระหว่างปี 1949-1950 ซึ่งในเวลานั้นภาษาในแอฟริกาถูกแยกออกเป็น 5 ตระกูล คือ Semitic, Hamitic, Sudanic, Bantu, และ Bushman แต่ว่ากรีนเบิร์กได้แยกภาษาในแอฟริกาออกเป็นแบบใหม่ ที่มี 16 ตระกูล แต่ว่าภายหลังได้ลดลงมาเหลือ 12 ตระกูล และต่อมาได้ลดลงเหลือ 4 ตระกูล ได้แก่ Afroasiatic, Khoisan, Niger-Kordofanian และ Nilo-Saharan

1961 ในการประชุม Dobbs Ferry conference กรีนเบิร์กนำเสนอแนวคิด Universals of grammar

1962 ย้ายมาสอนที่คณะมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลับสแตนฟอร์ด (Stanford University) ซึ่งเขาทำงานอยู่ที่นี่จนกระทั้งเกษียณ 

1965 ได้รับตำแหน่งประธานของสมาคมแอฟริกาศึกษา (African studies Association) และได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences)  โดยกรีนเบิร์กเป็นนักภาษาศาสตร์คนแรกที่ถูกเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันฯ 

1973 ได้เป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ (American Academy of Arts and Sciences) 

1975 ได้เป็นสมาชิกของสมาคมปรัชญา (American Philosophical Society) 

1987 พิมพ์หนังสือ Language in the Americans ซึ่งน้ำเสนอสมมุติฐาน Amerind hypothesis ซึ่งบอกว่าทุกภาษาพื้นเมืองในทวีปอเมริกา เกิดจากการอพยพของคนเข้ามาในทวีปใน 3 ครั้ง 

2001 7 พฤษภาคม, เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับภายในบ้านของเขาที่สแตนฟอร์ด, แคลิฟอร์เนีย

ผลงานเขียน

  1. Universal of Language, 1963
  2. Languages of Africa, 1966
  3. Anthropological linguistics, 1968
  4. Universals of human language, 1978
  5. Indo-Europeanand its closets relatives, 200

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!