Numquam prohibere somniantes
Elephant on Acid
Elephant on Acid

Elephant on Acid

ทัสโก้ เป็นช้างเอเชีย มันเกิดราวปี 1948  ไม่ทราบประเทศที่กำเนิด 

1953 สวนสัตว์บรอนซ์ (Bronx zoon) ขายทัสโกให้กับคณะละครสัตว์ Diano Brothers Circus 

1958 คณะละครสัตว์ Critiani Brothers Circus ซื้อทัสโก้ต่อมา 

1961 ถูกขายให้กับคณะละครสัตว์  Atterbury Brothers Circus แต่ว่าไม่นานก็ถูกขายให้กัสวนสัตว์โอกลาโฮม่า (Oklahoma City Zoo)

1963 วันศุกร์สิงหาคม,  นักวิจัยของโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยโอกลาโฮม่า (University of Okhahoma School of Medicine) นำโดย หลุยส์ เวสต์ (Louis Jolyon West) และ เชสเตอร์ (Chester M. Pierce) ต้องการที่ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของ LSD (Lysergic acid diethylamide) เพื่อขยายองค์ความรู้ พวกเขาจึงติดต่อกับวอร์เรน โทมัส (Warren Thomas) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการของสวนสัตว์โอกลาโฮม่า

นักวิจัยเลือกศึกษ LSD ในช้างด้วยเหตุผลว่า 

1. ช้างมีสมองขนาดใหญ่ ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับสมองมนุษย์ได้ ก

2. ช้างเพศผู้มีการตกมัน (musth) ซึ่งช่วงที่ช้างตกมันจะมีการหลั่งสารบางออกมา จากต่อมซึ่งอยู่ระหว่างใบหูและดวงตา และช่วงนี้ช้างจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว   นักวิจัยจึงต้องการรู้ว่า LSD สามารถกระตุ้นให้เกิดการตกมันในช้างได้หรือไม่

ในช่วงเช้านักวิจัยจึงได้ไปพบกับทัสโก้ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ  14 ปี  โดยพวกเขาทดลองฉีด LSD ให้กับทัสโก้ โดยพวกเขาเชื่อว่า LSD จะมีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการตกมัน แต่เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ที่ใหญ่และไม่เคยมีใครทดลองฉีด LSD ให้ช้างมาก่อน  จึงไม่สามารถกำหนดปริมาณที่เหมาะสมของ LSD  ที่จะใช้กับทัสโก้ได้ ซึ่งปกติในมนุษย์  LSD  เพียง  20-30  ไมโครกรัม (หนักว่าเม็ดทราย) ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการหลอนได้แล้ว 

แต่นักวิจัยไม่ต้องการที่จะเสี่ยงฉีด LSD ให้ช้างที่ละนิด พวกเขาจึงฉีดได้ฉีด LSD เข้าไป  297 มิลลิกรัม  ซึ่งมากว่าโดสที่ปลอดภัยของมนุษย์กว่าสามพันเท่า

ซึ่งไม่นานหลังจากฉีด LSD เข้าไป ทัสโก้ก็ส่งเสียงร้องออกมาดังและวิ่งไปรอบๆ กรง ก่อนที่จะสูญเสียการควบคุมการทรงตัว มีอาการชักเกร็ง ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วง ซึ่งคาดว่าเป็นอาการโอเวอร์โดส 

ซึ่งนักวิจัยทำการทดลองต่อไป โดยพยายามแก้ไขอาการโอเวอร์โดส ด้วยการฉีด โปรมาซีน ไฮโดรคลอไรด์ (promazine hydrochloride) เข้าไป 2,800 มิลิกรัม  ซึ่งโปรมาซีน ไฮโดรคลอไรด์นี้ช่วยให้ทัสโก้หยุดชัก แต่ว่าทัสโก้ยังไม่ดีขึ้น 

8 นาทีต่อมา นักวิจัยจึงฉีด เพนโตบาร์ไบทัล (pentobarbital sodium)  ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการประหารชีวิตนักโทษโดยการุณฆาตร และไม่นานทัสโก้ก็เสียชีวิต ซึ่งนับระยะเวลาตั้งแต่ได้รับ LSD นั้นก็เป็นเวลา 2 ชั่วโมง

การเสียชีวิตของทัสโก้ ซึ่งเป็นสัตว์จากสวนสัตว์ ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้สัตว์เป็นสัตว์ทดลอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!