Numquam prohibere somniantes
Kurgan Hypothesis
Kurgan Hypothesis

Kurgan Hypothesis

นักภาษาศาสตร์จำนวนมากให้การยอมรับว่าภาษา อังกฤษ, รัสเซีย, สเปน, รัสเซียและเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาที่เรียกว่า Proto-Indo-European (PIE) นั้นมีที่มาเดียวกัน กำเนิดขึ้นเมื่อราว 5,000 ปีก่อน โดยถือกำเนิดมาจากชนเผ่าเร่ร่อน ซึ่งอยู่ในบริเวณประเทศยูเครนปัจจุบัน

ชนเผ่าเร่ร่อนซึ่งอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าทางใต้ของยูเครนนั้น เรียกว่าชาวยามนาย่า (Yamnaya people) ซึ่งเป็นชาวเผ่านักล่าสัตว์และใช้ม้าเป็นพาหนะ 

ซึ่งในปี 1956 นักโบราณคดี มาริจา กิมบุตัส (Marija Gimbutas)  เป็นคนที่เสนอ สมมุติฐานเคอร์แกน (The Kurgan hypothesis) ซึ่งมีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า The Steepe Theory, Eastern European hypothesis หรือ The Ukranian Origin ซึ่งแนวคิดของมาริจา เป็นการพยายามรวมเอาหลักฐานทางโบราณคดี (archaeological) เข้ากับข้อมูลทางภาษาศาสตร์ (linguistic) 

คำว่า Kurgan หมายถึง เนินดินที่สร้างมาสำหรับฝังศพ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการฝังศพของชาวยามนาย่า และยุโรปตะวันออก

มาริจา แบ่งวัฒนธรรมของเคอร์แกนออกเป็น 4 ชั่วเวลา

Kurgan I (4000-3000 BC) ช่วงสหัสวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคทองแดง (Bronze age) และเริ่มมีการสร้างภาษาเขียน เป็นช่วงที่เกิดอารยธรรมของเคอร์แกนขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำโวลก้า (Dnieper) และโวลก้า (Volga) ซึ่งอยู่ในยูเครนและรัสเซียปัจจุบัน ซึ่งหมายรวมเอาวัฒนธรรม ซามารา (Samara culture) และวัฒนธรรมเซโรกลาโซโว่ (Seroglazovo culture) ด้วย

Kurgan II-III ช่วงที่ 2 และช่วงที่ 3 ของเคอร์แกน เป็นช่วงครึ่งหลังของสหัสวรรษที่ 4 ซึ่งเกิดวัฒธรรม มิดเดิลสโตโว (Middlestovo culture) ขึ้นในแถบภูมิภาคเอซอฟ (Azov region) เกิดวัฒนธรรมมายาค๊อฟ (Mayakop culture) ในตอนเหนือของคอเคซัส เริ่มมีการสร้างรถม้า, แผ่นจารึกหรือรูปเคารพจากหิน

Kurgan IV เป็นช่วงครึ่งแรกของสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งวัฒนธรรมของเคอร์แกนแพร่ขยายออกไปครอบคลุมทุ่งหญ้าสเตปป์ในยูเครน ไปจนถึงแม่น้ำยูรัล (Ural river) และโรมาเนีย

ซึ่งมาริจายังได้แบ่งคลื่นของการอพยพเป็น 3  คลื่น (ช่วง) คือ

The 1st wave เป็นช่วงเวลาก่อน Kurgan I ซึ่งเป็นช่วงที่วัฒนธรรมเคอร์แกนกับวัฒนธรรมคุคุเตนิ (Cucuteni-Trypillia culture) อยู่ร่วมสมัยกัน  วัฒนธรรมเคอร์แกนขยายจากพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำโวลก้าไปยังลุ่มแม่น้ำดนิเปอร์ (Dnieper) 

The 2nd wave เป็นช่วงกลางของสหัสวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเริ่มเกิดวัฒนธรรมไมคอฟ (Maykop culture) ซึ่งวัฒนธรรมเคอร์แกนขยายไปยังบุโรปเหนือ  (Globular Amphora culture, Baden Culture)  ซึ่งทำให้ภาษาอินโด – ยูโปเปี้ยนเข้าไปยังยุโรปด้วย

The 3rd wave ป็นช่วง  3,000-2,800   ก่อนคริสตกาล ซึ่งวัฒนธรรมขยายไปทั่วทุ่งหญ้าสเตปป์ และเข้าไปในโรมาเนีย, บัลกาเรีย, และฮังการีตะวันออก

ลำดับเหตุการณ์

5,500 4,000 BC 

 ภาษาอินโด – ยูโรเปี้ยนในช่วง เริ่มต้น (Early PIE ), วัฒนธรรมซามาร่า (Samara culture) เกิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำโวลก้า  (Volga river)  ในรัสเซีย เริ่มมีการนำม้ามาเลี้ยง 

4,000 – 3,500 BC 

วัฒนธรรมไมย์คอฟ (Maykop Culture) ทางตอนเหนือของคอเคซัส  มีการเลี้ยงม้า และวัฒนธรรมโบไต (Botai culture) ในคาซัคสถาน และเกิดการแตกแขนงของภาษาในเอเชียไมเนอร์

3,500 – 3,000 BC 

ภาษาอินโด – ยูโรเปี้ยน ช่วงกลาง (Middle PIE), เกิดภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปี้ยน (Indo-European family, centum -satem languages) 

เริ่มมีการสร้างรถเทียมม้ายุคแรก, การผสมพันธ์ุปศุสัตว์, การทำป้ายหิน

3,0002,500 BC

 ภาษาอินโด – ยูโรเปี้ยน ช่วงปลาย (Late PIE), วัฒนธรรมเคอร์แกนแผ่ขยายไปจนครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของพอนติกสเต๊ปป์ (Pontic steppe) ซึ่งครอบคลุมบริเวณทุ่งหญ้าริมทะเลดำไปจนถึงทุ่งหญ้าแถบทะเลแคสเปี้ยน (Caspian sea) 

2,5002,000 BC  

เริ่มเกิดภาษากรีก (Proto-Greek) ภาษาบอลข่าน (Paleo-Balkan languages) ในแถบบอลข่าน และเกิดภาษาอินโด-อิหร่าน (Proto-Indo-Iranina languages) และเกิดวัฒนธรรมแอนโดรโว่ (Androvo culture) ในตอนเหนือของทะเลแคสเปี้ยน

2,000 – 1,500 BC

เกิดวัฒนธรรมการฝังศพใต้ดิน (the Catacomb culture) ในตอนเหนือของทะเลดำ ในขณะที่ภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน ขยายตัวไปยังเอเชียกลางและอินเดีย

1,500 – 1,000 BC 

เกิดวัฒนธรรมฮัลล์สแต๊ต (Hallstatt culture) เกิดวัฒนธรรมไมเซเนี่ยน (Mycenaen culture) ในกรีซ และภาษาเซลติก (proto-celtic languages) ในยุโรปกลาง  และเกิดภาษาอิตาลี (Italic languages) ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอิตาลี 

1,000500 BC

ภาษาเยอรมัน (Germanic languages) ขยายไปในยุโรปเหนือ และยุคบรอนซ์   (Bronze Age) สิ้นสุดลงและเข้าสู่ยุคเหล็ก  (Iron Age)

 การศึกษาพันธุกรรม

ในปี 2015  การศึกษา  Y-DNA Haplogroup R1a1  ซึ่งพบในเอเชียกลางและตะวันตก, อินเดีย, รัสเซียและกลุ่มรัฐบอลติก  แต่ว่าไม่พบน้อยในกลุ่มชาวยุโรปตะวันตก ซึ่งการศึกษาพันธุกรรมนี้ยืนยัน  Kurgan Hypothesis

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!