วิกฤต 1819
ถูกเรียกว่าเป็นวิกฤตทางการเงินครั้งแรกของสหรัฐฯ โดยลุกลามไปอย่างช้าๆ ตามแนวรัฐผ้าฝ้าย (Cotton Belt) ซึ่งหมายถึงกลุ่ม รัฐทางใต้ของสหรัฐฯ ซึ่งเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการปลูกฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจ
สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากสงครามนโปเลียน (Napoleonic, 1803-1815) ในยุโรป สหรัฐอเมริกาในเวลานั้นยังคงเป็นประเทศเกิดใหม่ ที่มีประชากร 22 ล้าน และเศรษฐกิจก็ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยมีพืชเศรษฐกิจสำคัญนอกจากฝ้ายแล้ว ได้แก่ ยาสูบและข้าวสาลี โดยที่นิวยอร์ค, ฟิลาเดลเฟีย และบอสตัน เป็นเมืองหลักที่เป็นศูนย์กลางในการทำการค้า แต่ว่าระบบการเงินยังอ่อนแอ โดยเงินของสหรัฐฯ ในเวลานั้นอ้างอิงกับโลหะมีค่าสองตัว คือ โดยเหรียญแบบอ้างอิงกับทองคำ และเหรียญที่สองอ้างอิงกับโลหะเงิน โดยเหรียญเงินถูกผลิตมาจากอังกฤษ, โปตุเกส และฝรั่งเศส
1803 อเมริกาซื้อหลุยส์เซียน่า (Louisiana) มาจากฝรั่งเศส แต่ว่ารัฐบาลของเจฟเฟอร์สัน (Jefferson) ขณะนั้นไม่มีเงิน ซึ่งได้ออกพันธบัตรกระทรวงการคลังมุลค่า 11.25 ล้านเหรียญขายให้กับนักลงทุนทั้งในแต่ต่างประเทศ โดยให้ดอกเบี้ย 6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการชำระเงินค่าซื้อรัฐหลุยส์เซียน่านั้น มีกำหนดที่จะต้องจ่ายเงินงวดแรกเป็นทางคำให้กับฝรั่งเศสในปี 1818
1811 ธนาคาร The First Bank of the United States ล่ม
1812 เมื่อเกิดสงครามในปี 1812 (War of 1812) ระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ
มิถุนายน, สหรัฐฯ ประกาศสงครามกับอังกฤษ ด้วยเหตุผลว่าอังกฤษปิดล้อมทางเศรษฐกิจต่อฝรั่งเศสมีผลกระทบกับสหรัฐฯ , การที่อังกฤษบังคับให้ชาวอเมริกันต้องไปเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, และการที่อังกฤษสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ ทะเลสาบเกรทเลค (the Great Lakes)ที่ต่อต้านอเมริกา นอกจากนั้นสหรัฐฯ ยังหวังที่จะได้ดินแดนแคนนาดาและฟลอริด้า ที่ขณะนั้นอยู่ในครอบครองของอังกฤษ
หลังการประกาศสงคราม สหรัฐฯ ก็ส่งทหารบุกแคนาดา
1814 เมษายน, นโปเลียน ถูกบังคับให้ต้องสละราชสมบัติ เมื่ออังกฤษเป็นฝ่ายมีชัยในสงครามในยุโรป หลังจากนั้นอังกฤษก็ทุ่มเททรัพยากรทางทหารเพื่อมารบกับสหรัฐฯ
สิงหาคม, อังกฤษยึดวอชิงตัน ดี.ซี (Washington, D.C.) เอาไว้ได้ และก็จัดการเผาทำเนียบขาว
กันยายน, สหรัฐเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะหลายครั้งในการรบทางทะเลกับอังกฤษ
14 ฮันวาคม, สหรัฐฯ และอังกฤษ ได้ทำสนธิสนัญญาเก็นต์ (Threaty of Ghent) เพื่อยุติสงคราม 1812 ระหว่างกัน
1815 หลังสงคราม อังกฤษ และยุโรปต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพราะว่าความสูญเสียจากสงคราม โรงงานต่างๆ ในอังกฤษซึ่งเคยผลิตสินค้าอุตสาหกรรมป้อนกองทัพก็ต้องปิดตัวลงเพราะความต้องการสินค้าจากกองทัพหายไป คนจำนวนมากก็ว่างงาน
อังกฤษพยายามแก้ปัญหาการว่างงานและการปิดโรงงานด้วยการส่งเสริมการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ด้วยการทุ่มตลาด เมื่อสินค้าคุณภาพดีจากอังกฤษหลั่งไหลเข้ามาสุ่สหรัฐฯ ในราคา ซึ่งทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันพึงพอใจ แต่บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ ก็เรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ
แต่ภารการเกษตรของยุโรปนั้นเผชิญกับปัญหาผลผลิตตกต่ำ จนไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงประชากร ทำให้ เกิดการบูมในภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เพื่อผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกไปขายอย่างยุโรป
พรรค Federalist Party พ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง และหมดอิทธิพลในการเมืองสหรัฐฯ ไป ในขณะที่พรรคเดโมแครต-รีพับพลิกัน (Democratic-Republican Party) ซึ่งสนับสนุนแนวคิดแบบเสรีนิยมของโธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ก็เข้ามากุมกำนาจ
เมื่อสงครามยุติ เศรษฐกิจของอเมริกาก็ยิ่งขยายตัว ระหว่างปี 1815-1818
ประกอบกับการที่ภูเขาไฟตามโบร่า (Mount Tambora) ในอินโดนีเซีย เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่มีการบันทึกเอาไว้
1816 ด้วยอิทธิพลการระเบิดของภูเขาไฟในอินโดนีเซีย ปี 1816 ถูกเรียกว่าเป็นปีที่ไร้ฤดูร้อน ( A Year without summer) เพราะเถ้าถ่านจากภูเขาไฟปกคลุมไปทั่วโลก การที่แสงแดดไม่เพียงพอทำให้ผลผลิตการเกษตรตกต่ำไปทั่วยุโรป และราคาสินค้าก็เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นอากาศยังหนาวผิดปกติ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยุโรปต้องนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ จำนวนมาก
Tariff of 1816 (Dallas Tariff) เป็นกฏหมายภาษีศุลกากรฉบับแรกของสหรัฐฯ ซึ่งออกมาเพื่อคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศจากคู่แข่งจากต่างประเทศ
Second Bank of the United State (SBUS) ถูกตั้งขึ้นมา ซึ่งทำหน้าที่เสมือนธนาคารกลางของรัฐ คอยดูแลเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ SBUS เริ่มก่อตั้งด้วยเงินทุน 35 ล้านเหรียญ มีบทบาทสำคัญในการให้เครดิตเพื่อให้เกษตรกรไปซื้อที่ดินราคาถูกในด้านตะวันตก เพื่อขยายการผลิตฝ้าย ยาสูบและข้าวสาลี นอกจากนั้นเงินกู้ยังถูกนำไปซื้อทาสเพื่อเป็นแรงงานในการผลิต
โดยเงินทุนของ SBUS ลดลงเหลือ 22 ล้านเหรียญในปี 1818 และเหลือ 12 ล้านเหรียญ ในปี 1819
ที่ดินการเกษตรจากเดิมราว 1 ล้านเอเคอร์ ในปี 1815 ถูกเพิ่มเป็น 3.5 ล้านเอเคอร์ในปี 1819 โดยที่ดินเหล่านี้ประชาชนไปกู้เงินเพื่อมาซื้อจากรัฐบาล โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของอเมริกานั้นที่จริงไม่มีเงินในการซื้อที่ดิน แต่ว่ารัฐบาลยอมให้พวกเขาซื้อโดยใช้เครดิต
1817 วิลเลี่ยม โจนส์ (William Jones) ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีเจมส์ เมดิสัน (James Madison) ให้เป็นประธานของ the Second Bank of the United States
มีนาคม, เจมสห์ มอนโร (James Monroe) รับตำแหน่งประธานาธิบดี
ราคาข้าวสาลีเริ่มตกลง และราคาฝ้ายก็ตกลงอย่างรวดเร็ว เพราะอังกฤษสามารถซื้อข้าวสาลีและฝ้ายจำนวนมากได้เพียงพอจากทั้งแหล่งในสหรัฐฯ และอินเดีย
เมื่อราคาข้าวสาลีและฝ้ายตกลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาฟองสบู่ในภาคการเงิน อสังหาริมทรัพย์ จากการปล่อยกู้ของธนาคารเพื่อซื้อที่ดิน ก็เริ่มมีปัญหา เกษตรกรไม่สามารถขายสินค้าได้ราคาเหมือนที่คาดไว้เพื่อมาจ่ายคืนเงินกู้ที่ครบกำหนดเวลา
1819 การเกษตรของยุโรปกลับมาเป็นปกติทำให้ราคาสินค้าเกษตรของอเมริกาตกต่ำลง เพราะยุโรปเป็นตลาอดส่งออกสินค้ากว่า 70% ของอเมริกา โดยครึ่งหนึ่งเป็นอังกฤษ
ภาวะความรุ่งเรืองของการค้า การส่งออกมาถึงช่วงที่หยุดชะงัก เกษตรกรไม่มีเงินที่จะไปชำระเงินกู้ที่กู้มา
ประกอบกับเมื่อถึงกำหนดในการชำระเงินค่างวดในการซื้อรัฐหลุยส์เซียน่า ธนาคาร SBUS ไม่มีเงินสำรองเพียงพอ ธนาคารจึงได้เรียกเงินคืนกู้จากเกษตรกรที่กู้ไปซื้อที่ดินในทันที ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินจ่ายและพากันล้มละลาย เป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤต 1819
ฟองสบู่แตกออกมาให้เห็นชัดเจน GDP ของสหรัฐฯ ตกลงเกือบ 20%
1820 รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฏหมาย the Land Act of 1820 โดยประกาศลดราคาที่ดินลงจาก 2 เหรียญต่อเอเคอร์ เหลือ 1.25 เหรียญ ,ลดขนาดที่ดินขั้นต่ำจาก 160 เอเคอร์เหลือ 80 เอเคอร์ เพื่อช่วยให้คนยากจนเข้าถึงที่ดินได้ง่ายขึ้น
1821 รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฏหมาย the Relife Act of 1821 อนุญาตให้เกษตรกรที่ซื้อที่ดินก่อนปี 1820 ซึ่งมีราคาสูง สามารถคืนที่ดินให้กับรัฐบาล
1823 วิกฤตจบลง