Numquam prohibere somniantes
Sri Lankan economic crisis 2022
Sri Lankan economic crisis 2022

Sri Lankan economic crisis 2022

การขาดดุลแฝด (twin deficits economy) หรือ หนี้ซ้ำซ้อน (double debt)   คือ การที่ประเทศขาดดุลการค้า (trade deficit) รายได้จากการส่งออกน้อยกว่ารายจ่ายของการนำเข้าสินค้า, และรัฐบาลขาดดุลงบประมาณ (budget deficit)  เป็นระยะเวลายาวนาน ทำความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการไม่เพียงพอที่จะสร้างรายได้  , การขาดดุลแฝดเป็นสูตรสำเร็จที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ล่มมาแล้วหลายเคส  ซึ่งในกรณีของศรีลังกา การเมือง นโยบายเศรษฐกิจที่ผิดผลาด ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศเข้าสู่วิกฤต วิกฤตเศรษฐกิจของศรีลังการะหว่าง 2019-2022 นี้ ผู้คนส่วนมากโยนความผิดไปให้กับการบริหารเศรษฐกิจที่ผิดผลาด การคอร์รัปชั่นของตระกูลราจาปักษา (Rajapaksa)

2015 นายรานิล วิคกรมสิงห์ (Ranil wickremesinghe) ชนะการเลือกตั้งและได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งแรกระหว่างปี 2001-2004) 

ในขณะที่ในขณะนั้นมาอิทรีปาลา ศิริเสนาส (Maithripala Sirisenas, 2015-2019) เป็นประธานาธิบดี

เศรษฐกิจของศรีลังกาในช่วงปี 2015-2019 เติบโตปีละกว่า 5% แต่ว่าการขาดดุลการค้าในแต่ละปีมีมูลค่ามหาศาลไปด้วย โดยแต่ละปีขาดุลการค้าถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  ทำให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดยการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งก็ทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น

ในปี 2015 นายกรัฐมนตรีรานิล วิคกรมสิงห์ ได้พยายามปฏิรูปเศรษฐกิจ หลังจากได้รับคำเตือนจากสถาบันนโยบายศึกษา (Institute of Policy Studies of Sri Lanka) โดยรัฐบาลได้ประกาศจะลดการนำเข้าสินค้าต่างประเทศ ด้วยการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 11% เป็น 15% และพยายามเร่งการส่งออก และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากขึ้น  ซึ่งการพยายามปฏิรูปเศรษฐกิจได้รับการชื่นชมจากนานาชาติ

2019 นายรานิล ก็พ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง และรัฐบาลใหม่นำโดยนายมาฮินดา ราจาปักษา (Mahinda Rajapaksa, 2019-2022) ก็เข้ามาบริหารประเทศ นายมาฮินดา ราจาปักษา เคยเป็นประธานาธิบดีศรีลังกามาก่อนระหว่างปี 2005-2015 นายมาฮินดา ราจาปักษา ได้เครดิตในสมัยที่เขาเป็นประธานาธิบดีที่สามารถเอาชนะกลุ่มกบฏพยัคทมิฬ (Tamail Tigers) และทำให้สงครามประชาชน (Sri Lankan Civil war) ยุติลงได้

มีความพยายามในการแก้ไขกฏหมายของธนาคารกลางศรีลังกา เพื่อให้มีความเป็นอิสระจากการเมือง โดยกฏหมายจะไม่ให้รัฐมนตรีคลังหรือเจ้าหน้าที่จะรัฐบาลเข้ามานั่งเป็นบอร์ดบริหารของธนาคารกลางอีก นอกจากนั้นยังจะห้ามไม่ให้ธนาคารกลางเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้จ่ายเงินที่มากเกินไป แต่ว่ากฏหมายที่จะให้ธนาคารกลางเป็นอิสระ ก็ได้รับการต่อต้านจากพรรค SLPP (Sri Lanka Podujana Peramuna) ของนายมาฮินดา ราจาปักษา

พฤศจิกายน, โกตาบายา ราจาปักษา (Gotabaya Rajapaksa) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี นายโกตาบายา นั้นเป็นน้องชายของนายมาฮินดา นายกรัฐมนตรี , โกตาบายาเป็นอดีตนายทหารมียศเป็นพันโท

ต่อมาประธานาธิบดีโกตาบาย่า ราจาปักษา ได้มีนโยบายลดภาษีขาดใหญ่ ลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 28% เหลือ 24% , ลดภาษีมุลค่าเพิ่มลงเหลือ 8% , ยกเลิกภาษีเงินได้หัก ณ. ที่จ่าย (Pay-as-you-earn tax), ยกเลิกภาษีสนับสนุนการสร้างสาธารณูปโภค (nation-building tax) ซึ่งเดิมเก็บ 2%, มาตรการลดและเลิกภาษีเหล่านี้ทำให้การขาดดุลงบประมาณสูงขึ้น เพราะรายได้ที่น้อยลงของรัฐบาล แต่ประธานาธิบดีให้เหตุผลว่าเป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

2020 การระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19) ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยการท่องเที่ยวมีมูลค่าราวหนึ่งในสิบของจีดีพีของศรีลังกา

2021 เมื่อปัญหาการขาดดุลงบประมาณรุงแรง ธนาคารกลางจึงถูกสั่งให้พิมพ์เงินออกมาจำนวนมาก ซึ่งประมาณว่าเป็นจำนวน 432 พันล้านรูปี 

กรกฏาคม, นายเบซิล ราจาปักษา (Basil Rajapaksa) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลัง โดยก่อนหน้านั้นเขาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2010-2015 นายเป็นเบซิล เผชิญกับข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นมากมาย จนเขาถูกตั้งฉายาว่า “มิสเตอร์ 10% (Mr. Ten Percent)”

กุมภาพันธ์, เงินทุกสำรองระหว่างประเทศของศรีลังกามีเงินเหลือเพียง 2.31พันล้านเหรียญ แต่ว่ามีภาระหนี้ระยะสั้นที่จะต้องจ่ายคืนจำนวนมาก โดยเฉพาะในกรกฏาคมจะต้องจ่ายเงิน 1 พันล้านเหรียญให้กับ ISB (International Soveriegn Bond)  และภายในปี 2022 จะต้องจ่ายหนี้ต่างๆ อีกกว่า 4 พันล้านเหรียญ

รัฐบาลศรีลังกาหันไปขอความช่วยเหลือจากอินเดีย, จีน โดยอินเดียได้ให้เครดิตในการซื้อน้ำมัน 500 ล้านเหรียญ และ 1 พันล้านเหรียญ สำหรับนำเข้าสินค้าจำเป็น ในขณะที่จีนให้เงินกู้ 1 พันล้านเหรียญ

เมษายน, ประธานาธิบดีโกตาบายา ราจาปักษา ประกาศนโยบายเกษตรอินทรีย์ โดยห้ามใช้ปุ๋ยเคมีทุกชนิดในการเกษตรเพื่อที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศ แต่ว่าเกิดผลกระทบทางการเกษตรจนทำให้ผลผลิตตกต่ำ ผลผลิตข้าวลดลง 20% และรายได้ของรัฐจากการเก็บภาษีปุ๋ยเคมีหายไป 425 ล้านเหรียญจนในที่สุดต้องยกเลิกมาตรการ

2022 มกราคม, อัตราแลกเปลี่ยน 1USD= 201 ศรีลังการูปี

8 มีนาคม, ศรีลังการประกาศลดค่าเงิน

12 เมษายน, รัฐบาลศรีลังกาประกาศว่าจะต้องผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 51 พันล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศที่ผิดนัดชำระหนี้

9 พฤษภาคม, นายกรัฐมนตรีมาฮินดา ราจาปักษา ลาออกจากตำแหน่ง

16 พฤษภาคม, นายรานิล วิคกรมสิงห์ (Ranil wickremesinghe) ได้รับแต่งตั้งให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3

มิถุนายน, อัตราแรกเปลี่ยน 1 USD=360 รูปี 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!