Numquam prohibere somniantes
Leonid Kravchuk
Leonid Kravchuk

Leonid Kravchuk

ลีโอนิด คราฟชุก (Леонид Макарович Кравчук)

ประธานาธิบดีคนแรกของยูเครน

ลีโอนิด เกิดวันที่ 10 มกราคม 1934 ในหมู่บ้านเวลีกี้ ซีติน (Velykyi Zhytyn) ซึ่งในช่วงปี 1921-1939 นั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์ แต่ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดริฟนี (Rivne Oblast) ของยูเครน 

ครอบครัวของเขาเป็นเกษตรกร พ่อชื่อมาการ์ (Makar Alekseevich Kravchuk, 1906-1944) ส่วนแม่ชื่ออีฟีมิย่า (Efimiya Ivanovna Melnichuk, 1908-1980) 

มาการ์เคยถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพโปแลนด์ช่วงปี 1930s ต่อมาในช่วงปี 1940s ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาก็เป็นทหารในกองทัพแดงของสหภาพโซเวียต โดยอยู่ในหน่วยทหารปืนไรเฟิ้ล 

1944 มาการ์เสียชีวิตเสียชีวิตในการรบช่วงสงครามโลก หลังจากเสียบิดาไปลีโอนิดก็เติบโตขึ้นมาโดยแม่และพ่อเลี้ยงใหม่ของเขา 

1953 จบจากวิทยาลัยสหกรณ์ริฟนี (Rivne Cooperative College) ทางด้านบัญชี  หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลยเคียฟ (Kiev State University name after Taras Shevchenko) ในคณะเศรษฐศาสตร์

1957 แต่งงานกับแอนโตนิน่า (Antonina Mykhailivna Mishura) ซึ่งเป็นเพื่อนที่เรียนในคณะเดียวกัน ซึ่งภายหลังแอนโตนิน่าทำงานเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ พวกเขามีลูกด้วยกันหนึ่งคนชื่อโอเล็กซานเดอร์ (Oleksandr Kravchuk, b.1959)

1958 จบปริญญาตรีด้านเศรฐศาสตร์การเมือง หลังจากเรียนจบ ลีโอนิดก็ทำงานเป็นครูสอนหนังสือที่วิทยาลัยเชอร์นีฟซี (Chernivtsi College) ทางใต้ของยูเครน 

1960 ออกจากการเป็นครูและมาเป็นที่ปรึกษาให้กับฝ่ายการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเขตเชอร์นีฟชี (Chernivsti Regional Committee of the Communist Party)

1967 เข้าเรียนต่อในระดับสูง ที่สถาบันสังคมศาสตร์ประจำคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต (Academy of Social Sciences of Central Committee of the CPSU, ranepa.ru)

1970 จบกาาศึกษา โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “The Essence of Profit Under Socialism and Its Role in Collective Farm Production”

ปลังจากได้เข้าทำงานที่แผนกโฆษณาชวนเชื่อประจำคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ 

1972 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครน (Assistant Secretary of the Central Committee of the Communist Party of Ukraine)

1971 ได้ตำแหน่งรองหัวหน้าแผนกโฆษณาชวนเชื่อประจำคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต

1988 ได้ตำแหน่งผู้อำนวยการของแผนกอุดมการณ์ประจำคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครน 

1990 มีนาคม, ได้รับตำแหน่งประธานสุพรีมโซเวียตประจำยูเครน (Chairman of the Supreme Soviet of the Ukrainian SSR) ซึ่งเทียบเท่ากับเป็นผู้นำของยูเครน 

ได้ตำแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต

24 ตุลาคม, ระบบพรรคการเมืองเดี่ยวในยูเครนถูกยกเลิก 

1991 19-21 สิงหาคม, เมื่อเกิดการรัฐประหารในสหภาพโซเวียต (Soviet coup attempt) แต่ว่าล้มเหลว ลีโอนิดซึ่งอ้างไม่เห็นด้วยกับการพยายามปลดประธาธิบดีมิคาอิล กอร์บาเชฟ (Mikhail Gorbachev) ออกจากตำแหน่งของคณะรัฐประหาร ลีโอนิดจึงได้ลาออกจากพรรคคอมมิวนิสต์

24 สิงหาคม, รัฐสภายูเครน ได้ผ่านกฏหมายการประกาศเอกราชของยูเครน และลีโอนิดกลายเป็นประธานาธิบดีของยูเครนในทางปฏิบัติ

5 ธันวาคม, ลีโอนิดได้รับเลือกจากรัฐสภาเป็นดำลงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ และรัฐสภายูเครนยังได้ลงมติแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตด้วย

8 ธันวาคม, (Belovezh Accords) ลีโอลิด ร่วมลงนามในข้อตกลงเบโลเวซ ร่วมกับประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) และประธานสภาของเบลารุส สตานิสลาฟ ชุชเควิช (Stanislav Shushkevich) และนายกรัฐมนตรีเบรารุส วยาเชสลาฟ เคบิช (Vyacheslav Kebich) ซึ่งข้อตกลงนี้ถือเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ

1992 สภาดูม่าของรัสเซียลงมติให้การที่สหภาพโซเวียตมอบไครเมีย(Crimea) ให้กับยูเครนเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ซึ่งฝ่ายยูเครนและลีโอนิด ไม่เห็นด้วยกับรัสเซีย นอกจากนั้นลีโอนิดยังขัดแย้งกับรัสเซียในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องที่เขาต้องการให้ยูเครนเข้าร่วมกับนาโต้ และการเรียกร้องให้มีการแบ่งกองทัพเรือในทะเลดำของสหภาพโซเวียตคนละครึ่งระหว่างรัสเซียและยูเครน 

1994 ลีโอนิดลงสมัครแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 แต่ว่าเขาพ่ายแพ้ให้กับ ลีโอนิด คุชม่า (Leonid Kuchma)  โดยคุชมาได้รับคะแนน 38.36% ในขณะที่ลีโอนิดได้รับการสนับสนุน 31.37% ในการลงคะแนนรอบสอง

หลังจากพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ลีโอนิด ได้เข้าร่วมกับพรรรค SDPU (Social Democratic Party of Ukraine)  และได้เป็น ส.ส. ตั้งแต่ปี 1994 จะถึงปี 2006 โดยระหว่างนี้เขาให้การสนับสนุนวิคเตอร์ ยานุโควิช (Viktor Yanukovych) ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 

2009 ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค SDPU และเปลี่ยนมาสนับสนุนยูเรีย ไทโมเชนโก้ (Yulia Tymoshenko) ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2010 โดยเขาให้เหตุผลที่เลิกสนับสนุนยานุโควิชเพราะว่ายานุโควิชมีนโยบายที่แตกต่างจากที่เขาริเริ่มเอาไว้ในสมัยเป็นประธานาธิบดี 

2011 ได้รับตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภาถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครน

2014 (Ukraine Coup 2014) ปลายปี 2013 เกิดการประท้วงในยูเครนเพื่อโคนล้ม ประธานาธิบดียานุโควิช  นำโดยกลุ่มหัวรุนแรงที่เรียกว่าเมดาน (Maida) ซึ่งชาติฝ่ายตะวันตกให้การสนับสนุน ซึ่งนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตยของยูเครน 

25 พฤษภาคม, ยานุโควิช หนึออกจากยูเครน  และรัฐทางตะวันออกของยูเครนซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนยานุโควิช และรัสเซียได้พากันประท้วงฝ่ายปฏิวัตินำโดยเมดาน

14 มีนาคม, ประชาชนไครเมียลงประชามติประกาศเอกราชจากยูเครน 

17 มีนาคม, ผลประชามติ ทำให้ไครเมียประกาศเอกราชจากยูเครน

21 มีนาคม, รัสเซียสนับสนุนเจตจำนงค์ของการประชามติในไครเมีย และไครเมียได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย 

ในขณะที่โดเน็ตส์ก (Donetsk) และลุกานส์ก (Lugansk) ก็ประกาศเอกราชจากยูเครนเช่นกัน ซึ่งนำไปสู่สงครามในดอนบาสส์ (Donbass war) 

2015 ลีโอนิดได้รับตำแหน่งประธานของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อนำยูเครนเข้าร่วมกับนาโต้ (NATO)

2020 ลีโอนิดได้ถูกเลือกให้เป็นผู้แทนของยูเครนในการเข้าร่วมเจรจาสามฝ่าย (Trilateral Contact Group) ระหว่างยูเครน, รัสเซีย และองค์การความร่วมมือด้านความมั่นคงแห่งยุโรป (OSCE, Orgaination for Security and Co-operation in Europe) เพื่อหาทางยุติสงครามในดอนบาส (Donbass region)

2021 มิถุนายน, เข้ารับการผ่าตัดหัวใจ

2022 10 พฤษภาคม, เสียชีวิตในเยอรมัน ขณะอายุ 88 ปี ขณะที่ร่างของเขาถูกนำไปฝังที่สุสานเบย์กอฟ (Baykov cemetery)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!