Numquam prohibere somniantes
Dmitry Belyaev
Dmitry Belyaev

Dmitry Belyaev

ดมิทรี เบลาเยฟ (Дмитрий Константинович Беляев)

นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรม ซึ่งใช้เวลาหลายทศวรรษในการศึกษาและผสมพันธ์จิ้งจอกเงิน (Silver fox) ทำให้เข้าใจกระบวนการเกิดสัตว์เลี้ยง (domestication)

เบลาเยฟ เกิดวันที่ 17 กรกฏาคม 1917 ในเมืองโปรตาโซโว่, คอสโตรม่า (Protasovo, Kostroma) พ่อของเขาชื่อคอนสแตนติน (Konstantin Pavlovich) เป็นนักบวช เบลาเยฟเป็นลูกคนที่สี่ในครอบครัว เขามีพี่ชายคนหนึ่งชื่อนิโคไล (Nikolai) ที่เป็นนักศึกษาพันธุกรรมเช่นเดียวกัน และนิโคไลยังเคยทำงานกับเซอร์เกย์ เชตเวริกอฟ (Sergei Chetverikov) หนึ่งในผู้บุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรมของประชากร

1938 สำเร็จการศึกษาด้านสัตววิทยา จากสถาบันเกษตรกรรมอิวาโนโว่ (Ivanovo Agricultural Institute, www.ivgsha.ru) และได้เข้าทำงานที่กรมผสมพันธุ์สัตว์ที่ให้ขนเพื่อการค้า ของศูนย์วิจัยกลาง (the Central Research Laboratory) ในมอสโคว์ ซึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงการค้าต่างประเทศ

1941 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่  2 เบลาเยฟได้เข้าเป็นทหาร และได้ไปทำงานอยู่ในแผนกของการวิจัยอาวุธเคมี 

1946 หลังสงครามโลก เขากลับเข้ามาทำงานที่กรมผสมพันธุ์สัตว์ฯ อีกครั้งหนึ่ง และได้ทำการศึกษาและผสมพันธ์จิ้งจอกสีเงิน (silver fox) เบลาเยฟนั้นเชื่อทฤษฏีการคัดสรรโดยธรรมชาติ (Darwinism) และทฤษฏีเกี่ยวกับพันธุกรรมของเมนเดล (Mendelian) แต่เป็นเพราะว่าในยุคนั้น สตาลิน (Joseph Stalin) ให้การสนับสนุนทฤษฏีของไลเซนโก้ (Trifim Lysenko) ซึ่งไลเซนโก้ ปฏิเสธแนวคิดของเมนเดล ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีการค้นพบยีนต์ และไลเซนโก้คิดว่าแนวคิดของเมนเดลผิด และไลเซนโก้เสนอทฤษฏีของตัวเองขึ้นมา ที่เรียกว่าไลเซนโกอิซึ่ม (Lysenkoism) หรือเป็นทฤษฏีนีโอ-ลามาร์ค (neo-Lamarckian) ซึ่งอธิบายว่าลักษณะทางทางพันธุกรรมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ และลักษณะด้อยจะถูกคัดออกในรุ่นแม่ก่อนที่จะถ่ายทอดลักษณะที่เด่นที่จำเป็นไปสู่รุ่นลูก  …​เนื่องจากสตาลินสนับสนุนไลเซนโก้ จึงทำให้แนวคิดของไลเซนโก้ไม่มีใครกล้าเถียงในโซเวียต เพราะนั้นอาจจะทำให้ถูกตั้งข้อหาว่าต่อต้านรัฐ และโทษอาจจะถึงกับชีวิต

1953 สตาลิน เสียชีวิต และวงการวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียตก็เริ่มกลับมาศึกษาแนวคิดเรื่องพันธุกรรมกันได้อย่างเสรีอีกครั้ง

1958 เบลาเยฟเข้าทำงานที่สถาบันศึกษาโครงสร้างเซลล์และพันธุกรรม, สถาบันวิทยาศาสตร์สหภาพโซเวียต (Institute of Cytology and Genetics, USSR Academy of Sciences) ในเมืองโนโวซีเบิร์ก (Novosibirsk) 

1959 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันศึกษาโครงสร้างเซลล์และพันธุกรรม

ในปีนี้เบลาเยฟ และผู้ช่วยของเขา ลุดมิล่า ทรุต (Lyudmila Trut) ซึ่งมีอายุ 25 ปี เริ่มทำการทดลองเพื่อศึกษากระบวนการที่สัตว์ป่าเปลี่ยนมาเป็นสัตว์เลี้ยง (domesticate) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเบลาเยฟ สงสัยว่าทำไมหมาป่า (wolf) ถึงกลายเป็นสุนัข (dog) ที่มนุษย์เลี้ยงเอาไว้เป็นสัตว์เลี้ยง  แต่ว่าเบลาเยฟเลือกที่จะใช้จิ้งจอกในการศึกษาเพราะเป็นสัตว์ที่ได้ศึกษามาก่อนหน้า เบลาเยฟ นั้นรู้ว่าสัตว์เลี้ยงนั้นมีการแชร์ลักษณะบางประการที่คล้ายกัน เช่น หูพับ, หางม้วน, ปากที่สั้นกว่าสัตว์ประเภทเดียวกันในป่า, ขนมีหลายสี, และมีช่วงระยะเวลาการผสมพันธ์ุที่ยาวนานกว่า ซึ่งลักษณะพวกนี้ถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มอาการของสัตว์เลี้ยง (Domestication syndrome) 

เบลาเยฟตั้งสงสัยว่าทำไม สัตว์ต่างๆ ที่ถูกเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นม้า, วัว, สุนัข ถึงปรากฏกลุ่มอาการของสัตว์เลี้ยง ที่คล้ายกัน เขาจึงตั้งสมมุติฐานว่ามันเกิดจาก ความเชื่อง (tameness) ซึ่งอุปนิสัยนี้สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง (ในขณะนั้นเรื่องพันธุกรรมยังเพิ่งเริ่มต้น) ไม่เฉพาะแต่ลักษณะภายนอกจากกายภาพ (morphology)

การทดลองของเบลาเยฟ เขาจึงเลือกจิ้งจอกที่มีความเชื่อที่สุดในแต่ละรุ่น และค่อยๆ ผสมพันธุ์และเลือกลูกที่มีความเชื่อที่สุดในรุ่นมาผสมพันธุ์ ทำอย่างนี้หลายรุ่นและใช้เวลาหลายสิบปี เพื่อจะดูว่าจิ้งจอกมีความเชื่อเพิ่มมากขึ้น และกลุ่มอาการของสัตว์เลี้ยงจากปรากฏขึ้นหรือไม่

1962 ทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลับโนโวซิเบิร์ก (Novosibirsk State Universtiy) และเป็นผู้อำนวยการของภาควิชาชีววิทยาด้วย 

1970 รับตำแหน่งผู้อำนวยการของแผนกศึกษาโครงสร้างเซลล์และพันธุกรรม 

1978 การทดลองของเบลาเยฟ กินเวลา 40 รุ่นของจิ้งจอก ศึกษาจิ้งจอกกว่า 45,000 ตัว   จนได้จิ้งจอกที่เลียมือของผู้เลี้ยง, รับอาหารที่ถูกป้อน และวิ่งเข้าผู้เลี้ยง ทำให้เขาสามารถสรุปได้ในที่สุดว่า กลุ่มอาการสัตว์เลี้ยง (domostication syndrome) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความเชื่อง (tame behavior)

เบเลเยฟ รายงานการศึกษาจิ้งจอกสีเงินของเขาในที่ประชุมด้านพันธุกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 14 (Internation Congress of Genetics) จัดขึ้นในมอสโคว์

1985 14 พฤศจิกายน, เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง

1999 งานวิจัยของเบเลเยฟ ได้รับความสนใจในตะวันตก เมื่อลุดมิล่า ทรุด ได้เขียนบทความเกี่ยวกับงานวิจัย ลงในนิตยสาร The Amercian Scientist 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!