Numquam prohibere somniantes
Operation Z
Operation Z

Operation Z

https://www.youtube.com/watch?v=1eOXkIFGa0o

Спец операция Z (Special Operation Z)

24 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์สั่งให้เริ่มปฏิบัติการพิเศษ Special Operation (Demilitary and Denazifization) เพื่อสนับสนุน สาธารณรัฐโดเน็ตส์ (Donetsk Republic) และสาธารณรัฐลุกานส์ก (Lugansk Republice) ที่รัสเซียให้การรับรองเอกราช โดยได้ถือเอาพรหมแดนตามรัฐธรรมนูญ หรือแผนที่เดิมเป็นพื้นที่ของรัฐ แต่ว่ามีพื้นที่หลายส่วนกว่าครึ่ง ถูกทหารยูเครนยึดครองอยู่ รัสเซียจึงเริ่มปฏิบัติการณ์พิเศษนี้ขึ้นมา 

ซึ่งจากภาพข่าว เราจะเห็นตัวอักษร “Z” นั้นถูกเขียนหรือสลักอยู่บนรถถัง รถหุ้มเกาะ และพาหนะอื่นๆ ของรัสเซียตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่เข้าไปปฏิบัติภาระกิจพิเศษนี้ นอกจากนั้นประชาชนในรัสเซียที่สนับสนุนปฏิบัติการณ์ของกองทัพก็จะติดสัญลักษณ์ “Z” ไว้ที่พาหนะ

ที่มาของ “Z”  

ตัว “Z” นั้นเป็นชื่ออย่างเป็นทางการที่ปรากฏในเอกสารราชการของซึ่งเรียกพื้นที่ทำเหมืองฐานหินบริเวณแอ่งกะทะคุซเนตสก์ (Kutnetsk basin) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไซเบียเรียว่า คุซบาสส์ (KuZbass, Кузбасс)   ซึ่งปัจจุบันก็เป็นที่ตั้งของเขตเคเมโรโว (Kemerovo Oblast) หรือเรียกว่าเขตคุซบาสส์ (Kuzbass Oblast) ก็ได้

โดยสมัยยังเป็นสหภาพโซเวียตนั้น สหภาพโซเวียตมีแหล่งฐานหินที่สำคัญอยู่สามแหล่งใหญ่ คือใน ดอนบาสส์ (Donbass) ในยูเครนโซเวียต, คุซบาสส์ (Kuzbass Oblast) ซึ่งอยู่ในไซบีเรียตะวันตกเฉียงใต้ และที่วอร์กุต้า (Vorkuta basil) ซึ่งอยู่ในวงแหวนอาร์กติก (Arctic circle) ที่มีอากาศหนาวเย็น

  เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ดอนบาสส์ ตกไปอยู่กับยูเครน ซึ่งก่อนที่ดอนบาสส์จะประกาศเอกราชในปี 2014 ตอนบาสส์เป็นแหล่งผลิตถ่านหินที่สำคัญ ซึ่งมีสัดส่วน GDP ประมาณ 16% ของยูเครน

Z จึงหมายถึงคุซบาสส์ในรัสเซีย ที่มีความสัมพันธ์กันกับดอนบาสส์ในแง่ของการเป็นแหล่งแร่ถ่านหินเช่นเดียวกัน

นอกจากนั้น Z ยังถูกตีความว่าคือคำว่า Zapad (Запад) ที่แปลว่า “ทิศตะวันตก” เพราะดอนบาสส์อยู่ทางตะวันตกของรัสเซีย


…… ความขัดแย้งในดอนบาสส์

กุมภาพันธ์ 2014, เกิดการรัฐประหาร (EuroMaiden Color Revolution) เพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีวิเตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) นำโดยกลุ่มหัวรุนแรงที่เรียกว่าไมเดน (Maiden) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาติสมาชิกสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ  เหตุการณ์ประท้วงมีความรุนแรงจนทำให้ประธานาธิบดียานูโควิชต้องหนีออกนอกประเทศ ซึ่งรัสเซียมองว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นการปฏิวัติและไม่ชอบธรรม จึงได้เข้าแทรกแซงและจัดให้มีการลงประชามติในไครเมีย (Crimea) เพื่อกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย

2 มีนาคม, ในไครเมียซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายรัสเซีย ลงประชามติสนับสนุนการกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย โดยที่ไม่มีสงคราม เพราะไครเมียเป็นพื้นที่ที่รัสเซียเช่าจากยูเครนในการตั้งฐานทัพ

7 เมษายน, โดเน็ตสก์ ประกาศเอกราช

17 เมษายน, ลุกานสก์ ประกาศเอกราช

แต่ว่าการประกาศเอกราชของโดเน็ตสก์และลุกานสก์ ไม่ง่ายเหมือนในไครเมีย เพราะว่าทั้งสองพื้นที่มีฐานทัพของยูเครนตั้งอยู่ ทำให้ยูเครนส่งทหารเข้ามาต่อสู้กับฝ่ายที่ต้องการเอกราช

2015 15 กุมภาพันธ์, มีการทำข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวระหว่างยูเครนกับสองสาธารณรัฐ ที่เรียกว่าข้อตกลงกรุงมินส์ก (Minsk agreement) โดยที่ผู้หนุนหลังแต่ละฝ่ายทั้งรัสเซีย และชาติยุโรป ในนามของ องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE, Organization for Security and Co-Operation In Europe) ให้การรับรอง

แต่ว่าแม้ว่าจะมีข้อตกลงมินสก์แล้วก็ยังเกิดการปะทะระหว่างฝ่ายยูเครนกับดอนบาสส์,ลุกานสก์ อยู่ตลอดเวลากว่า 8 ปี ซึ่งฝ่ายดอนบาสส์และลุกกานสก์บอกว่ามีผู้เสียชีวิตจากการที่ยูเครนโจมตีไม่ต่ำกว่า 14,000 คน แต่ว่าข่าวเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในดอนบาสส์นี้กลับถูกสื่อและฝ่ายตะวันตกละเลย เสมือนว่าไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น

2022 21 กุมภาพันธ์, (22022022 ตามเวลาตะวันออก) รัสเซียประกาศรับรองเอกราชให้กับลุกานสก์และโดเน็ตสก์ 

24 กุมภาพันธ์, ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน สั่งให้เริ่มปฏิบัติการพิเศษ เพื่อปลดกำลังทหารและต่อต้านนาซี (Demilitary & Denazification) ของยูเครน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!