Numquam prohibere somniantes
Kenesary Kasymov
Kenesary Kasymov

Kenesary Kasymov

เคเนซารี คาซีมอฟ (Кенесары хан, Кунесары Кусымов, Kenesary Kasymov )

ข่านองค์สุดท้ายของคาซัคฯ 

คาซีมอฟ เกิดในปี 1802 ในรัฐข่านชุซกลาง (Middle Zhuz Khanate) ซึ่งเป็นรัฐข่านที่กินอาณาบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ๋ของตอนกลางและตะวันออกของคาซัคสถานปัจจุบัน ปัจจุบันสถานที่ที่คาซีมอฟเกิดอยู่บริเวณเขตอัคโมลา (Akmola region) ประเทศคาซัคสถานปัจจุบัน  ในขณะนั้นซุซตอนกลางเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย

คาซีมอฟเป็นโอรสของสุลต่านคัสซิม (Kassim Sultan) ข่านแห่งซุซกลาง ส่วนพระมารดานั้นเป็นธิดาองค์หนึ่งของการ์ตั้นซื่อหลิน (Galdan Tseren, 噶爾丹策零) ข่านแห่งซันการ์ (Dzungar Khanate)

คาซีมอฟยังเป็นหลานของข่านอะบีไล (Abylai Khan) 

แต่ว่าข่านอาไล (Uali Khan, 1781-1821) ซึ่งปกครองซุซกลางในเวลานั้นต่อจากข่านอะบีไล ได้ยอมให้รัสเซียเช้ามาตั้งสำนักงานอยู่ในหมู่บ้านค๊อกเชตัว (Kokshetau Valley) ได้  แต่ว่าหลังจากข่านอาไลสวรรคต เขามีโอรสองค์หนึ่งคือกุไบดอลล่า (Gubaidolla) เป็นรัชทายาท แต่ว่ารัสเซียไม่ได้ให้การรับรอง ซึ่งกุไบดอลล่าได้พยายามต่อต้านรัสเซียแล้วแต่เขาก็ถูกจับและถูกเนรเทศไปยังไซบีเรีย คาซีมอฟจึงได้พยายามที่จะรวบรวมกำลังของรัฐข่านเผ่าต่างๆ ขึ้นมาใหม่เพื่อต่อต้านรัฐเซีย

1822 จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ ที่ 1 (Emperor Alexander I) ได้ออกพระราชกฤษฏีกาในการยกเลิกอำนาจของข่านในไซบีเรียและเอเชียกลาง ทำให้ข่านองค์ต่างๆ ในบริเวณดังกล่าวไม่พอใจ และได้พยายามลุกขึ้นต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิรัสเซีย

1837 ในช่วงปี 1837-1847 คาซีมอฟ เป็นผู้นำกลุ่มชาวคาซัคกลุ่มใหญ่ที่สุดในหลายกลุ่ม ในการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซีย

1838 กลุ่มกบฏซึ่งนำโดยคาซีมอฟสามารถยึดป้อมปราการอักโมลา (Akmola fort) ซึ่งอยู่ยบริเวณกรุงนูร์-สุลต่าน (Nur-Sultan) ในปัจจุบัน แต่ว่าถูกรัสเซียปราบปรามได้อย่างง่ายดาย  

ขณะเดียวกันชาวโคแคนด์ (Kokand) ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐข่านโคแคนด์ (Kokand Khanate) บริเวณอุซเบกีสถานปัจจุบันและส่วนใหญ่นับถืออิสลาม โคแคนด์เคยอยู่ใต้การปกครองของซุซกลางก็ได้ก่อกบฏขึ้นด้วย ทำให้คาซีมอฟต้องเผชิญกับศึกสองด้านทั้งรัสเซียและโคแคนด์

1840 สุลต่านคัสซีม เสียชีวิตในการรบกับข่านแห่งโคแคนด์

1841 คาซีมอฟได้รับเลือกให้เป็นผู้นำของชาวคาซัคฯ ทั้งหมด

คาซีมอฟทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย แต่ว่าไม่นานหลังจาก วลาดิมีร์ อ๊อปรูเชฟ (Vladimir A. Obrychev)  ได้เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ ของเมืองโอเรนเบิร์ก (Orenburg) เขาก็ฉีกข้อตกลงทิ้งด้วยการทำสงครามกับชาวคาซัตฯ อีก

1843 รัสเซียส่งกำลังทหารชุดใหญ่เข้าปราบปรามกองกำลังของคาซีมอฟ ทำให้เขาต้องถอยร่นเข้าไปยังเขาเชตีชู (Zhetysu)

1845 คาซีมอฟสามารถยึดป้อมปราการหลายแห่งของชาวโคแคนด์ไว้ได้ อาทิ Zhanakorgan, Zhulek, Sozak และ Merke ซึ่งช่วงเวลานี้พลังอำนาจของคาซีมอฟกลับมาเข้มแข็งในพื้นที่อีกครั้งและเขาได้ฟื้นฟูราชวงศ์บียี (Biyi court) ขึ้นมาอีกครั้ง แต่ว่าเขาปกครองด้วยความเข้มงวด และโหดเหี้ยม ทำให้เกิดแรงต่อต้านแม้แต่ในราชวงศ์เอง ซึ่งคาซีมอฟก็จะตอบโต้อย่างเด็ดขาดเช่นกัน เช่นการสั่งให้สังหารชาวซัปปาส (zhappas) ทั้งหมู่บ้านกว่า 500 คนในคืนเดียว 

ด้านการฑูต คาซีมอฟได้สถาปนาความสัมพันธ์กับรัฐข่านใกล้เคียงอย่าง โคแคนด์ แม้ว่าจะเคยเป็นศัตรูกนมาก่อน และยังได้สถาปนาความสัมพันธ์กับรัฐข่านคีวา (Khiva Khanate) ของข่ารนอัลลากุลิ (Khan Allakuli) ที่อยู่บริเวณเอเชียกลาง และรัฐข่านบุคาร่า (Bukhara Khanate) 

1847 คาซีมอฟ นำกำลังทหาร 15,000 บุกเคิร์กีซสถาน แต่ว่าต่อมาคาซีมอฟก็ถูกจับตัวเอาไว้ได้และถูกขังคุกอยู่นานสามเดือน ก่อนที่จะถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการตัดศรีษะ

หลังจากศรีของคาซีมอฟถูกตัดแล้ว ศรีษะของเขาก็ถูกนำส่งไปถวายให้กับข่านออร์มอน (Ormon Khan) แห่งเคิร์กีซ ก่อนที่ข่านออร์มอน จะส่งศรีษะมาให้กับเจ้าชายปีเตอ์ กอร์ชาคอฟ (Prince Peter D. Gorchakov) ซึ่งเป็นผู้ว่าฯ เขตไซบีเรียตะวันตกของรัสเซียขณะนั้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!