แอนเดรย์ โกลโมโกรอฟ (Андрей Николаевич Колмогоров)
นักคณิตศาสตร์ผู้บุกเบิกทฤษฏีความน่าจะเป็น
โกลโมโกรอฟ เกิดวันที่ 25 เมษายน 1903 ในตามบอฟ (Tambov) แม่ของเขาชื่อมาเรีย (Maria Yakovlevna Kolmogorova, 1871-1903) เธอเสียชีวิตไม่นานหลังจากโกลโมโกรอฟเกิด
พ่อกับแม่ของเขาไม่ได้แต่งงานกันอย่างถูกกฏหมาย ข้อมูลเกี่ยวกับพ่อนั้นไม่แน่ชัด แต่คาดว่าคือนิโคไล คาตาเยฟ (Nikolai Matveevich Kataev) นักเกษตรศาสตร์ซึ่งถูกเนรเทศออกจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพราะเคลื่อนไหวต่อต้านซาร์ เขาได้ย้ายมาอยู่ในยาโรสลาฟ (Yaroslavl) และหายตัวไปในช่วงสงครามภายในประเทศ (Russia civil war) ช่วงปี 1919-1921 คาดว่าเขาจะเสียชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าว
โกลโมโกรอฟเติบโตขึ้นมาจากการเลี้ยงดูโดยป้าของเขาชื่อเวร่า (Vera Yakovlevna Kolmogorova) ซึ่งอยู๋ในตูนอชน่า (Tunoshna) ใกล้กับยาโรสลาฟ โดยป้าเป็นเจ้าของโรงเรียนในหมู่บ้านและเป็นโรงเรียนที่โกลโมโกรอฟเรียนหนังสือ
เขามีผลงานเขียนทางคณิตศาสตร์ชิ้นแรกตอนอายุเพียง 5 ขวบ ตีพิมพ์ลงในวารสารของโรงเรียน ชื่อ “The Swallow of Spring” ซึ่งเป็นวารสารสำหรับนักเรียนที่นำผลงานของเด็กๆ มาลงพิมพ์
1910 ป้าพาโกลโมโกรอฟย้ายมาอยู่ในมอสโคว์ และเขาได้เข้าเรียนที่จิมเนเซียเร็ปแมน (Evgenia A. Repman gymnasium) ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ซึ่งเขานอกจากจะชอบเรียนคณิตศาสตร์แล้ว ยังชอบวิชาสังคมและประวัติศาสตร์ โดยการศึกษาด้วยตัวเองจากสาธานุกรม The Brockhaus and Efron Encyclopaedic Dictionary
1920 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ (Moscow State University) ในสาขาคณิตศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็เรียนที่สถาบันเมนเดเลเยฟ (Mendeleev Moscow Institute of Chemistry and Technology) ไปด้วย
1925 สำเร็จการศึกษาจาก ม.มอสโคว์ หลังจากนั้นได้ศึกฟืษาคณิตศาสตร์เพิ่มเติมกับนิโคไล ลุซิน (Nikolai Luzin) นักคณิตศาสตร์แถวหน้าของรัสเซียซึ่งทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์
มีผลงานตีพิมพ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง “On the principle of the excluded middle”
1929 ได้รับปริญญาเอกจาก ม.มอสโคว์
1930 ออกเดินทางไปยังยุโรป ทั้งเยอรมันและฝรั่งเศส เพื่อศึกษาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
1931 ตีพิมพ์ผลงาน “About the Analytical Methods of Probability Theory” ระหว่างที่อยู่ในเยอรมัน
ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำ ม.มอสโคว์
1933 พิมพ์ Foundations of the Theory of Probability (Grundbegriffe der Wahrscheinlichkeitsrechnung) ซึ่งเป็นผลงานที่บุกเบิกพื้นฐานของทฤษฏีความน่าจะเป็น และทำให้โกลโมโกรอฟกลายเป็นนักคณิตศาสตร์แถวหน้าของโลกในด้านทฤษฏีความน่าจะเป็น
1935 ก่อตั้งภาควิชาทฤษฏีความน่าจะเป็นขึ้นในคณะคณิตศาสตร์ของ ม.มอสโคว์
1936 (Lusin Affair), ในช่วงการกวาดล้างครั้งใหญ่ (Great Purge) ของสตาลิน (Joseph Stalin) , นิโคไล ลุซิน ซึ่งเป็นอาจารย์ของโกลโมโกรอฟ กลายเป็นเป้าที่ถูกโจมตีทางการเมืองจากฝ่ายบริวารของสตาลิน ซึ่งลูกศิษย์ของลุซินหลายคน ถูกนำตัวมาเป็นพยานในการกล่าวหาลูซิน ซึ่งไม่แน่ชัดว่ามีโกลโมโกรอฟรวมอยู่ด้วยหรือไม่ แต่ว่าเหตุการณ์นี้ทำให้ลุซินพ้นจากตำแหน่งภายในมหาวิทยาลัย แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าลุซินไม่ได้ถูกจับและยังคงเป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์โซเวียต ( USSR Academy of Sciences) อยู่
1938 stochastic processes
1939 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์โซเวียต
ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 โกลโมโกรอฟ ได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาบอลลูนป้องกันเครื่องบิน (barrage ballons) ซึ่งช่วยให้การทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายสำคัญทำได้ยากขึ้น และยังใช้คณิตศาสตร์ของเขาในการพัฒนาวิถึการยิงปืนใหญ่ ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัล Stalin Prize ในปี 1941
1942 แต่งงานกับแอนนา (Anna Dmitrievna Egorova) บุตรสาวของดมิทรี เยโกรอฟ (Dmitry N. Egorov) นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของโซเวียต ทั้งคู่ไม่มีลูกด้วยกัน แต่ว่าแอนนา มีลูกติดหนึ่งคนจากการแต่งงานครั้งก่อน นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่าโกลโมโกรอฟเป็นรักร่วมเพศ
1954 ในที่ประชุมสภานักคณิตศาสตร์นานาชาติ (International Congress of Mathematicians) เขาได้นำเสนอทฤษฏี Kolmogorov-Arnold-Moser theorem ซึ่งพัฒนาร่วมกับลูกศิษย์ของเขา ชื่อ วลาดิมีร์ อาโนล์ด (Vladimir Arnold) ซึ่งขณะนั้นอาร์โนล์ดมีอายุเพียง 19 ปี ทฤษฏีสามารถใช้แก้ปัญหาข้อที่ 13 ของฮิลเบิร์ก (Hilbert’s thirteenth problem) ได้
ในช่วงเวลานี้โกลโมโกรอฟ ยังได้บุกเบิกพื้นฐานของทฤษฏี algorithmic complexity theory
1971 ร่วมในการเดินทางสำรวจมหาสมุทรกับเรือสำรวจชื่อดมิทรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev)
1987 20 ตุลาคม , เสียชีวิตในมอสโคว์ จากอาการเกี่ยวข้องกับโรคพาคินสัน (Parkinson)
ทฤษฏีคณิตศาสตร์ที่มีชื่อของโกลโมโกรอฟ
- Fisher–Kolmogorov equation
- Johnson–Mehl–Avrami–Kolmogorov equation
- Kolmogorov axioms
- Kolmogorov equations (also known as the Fokker–Planck equations in the context of diffusion and in the forward case)
- Kolmogorov dimension (upper box dimension)
- Kolmogorov–Arnold theorem
- Kolmogorov–Arnold–Moser theorem
- Kolmogorov continuity theorem
- Kolmogorov’s criterion
- Kolmogorov extension theorem
- Kolmogorov’s three-series theorem
- Convergence of Fourier series
- Gnedenko-Kolmogorov central limit theorem
- Quasi-arithmetic mean (it is also called Kolmogorov mean)
- Kolmogorov homology
- Kolmogorov’s inequality
- Landau–Kolmogorov inequality
- Kolmogorov integral
- Brouwer–Heyting–Kolmogorov interpretation
- Kolmogorov microscales
- Kolmogorov’s normability criterion
- Fréchet–Kolmogorov theorem
- Kolmogorov space
- Kolmogorov complexity
- Kolmogorov–Smirnov test
- Wiener filter (also known as Wiener–Kolmogorov filtering theory)
- Wiener–Kolmogorov prediction
- Kolmogorov automorphism
- Kolmogorov’s characterization of reversible diffusions
- Borel–Kolmogorov paradox
- Chapman–Kolmogorov equation
- Hahn–Kolmogorov theorem
- Johnson–Mehl–Avrami–Kolmogorov equation
- Kolmogorov–Sinai entropy
- Astronomical seeing described by Kolmogorov’s turbulence law
- Kolmogorov structure function
- Kolmogorov–Uspenskii machine model
- Kolmogorov’s zero–one law
- Kolmogorov–Zurbenko filter
- Kolmogorov’s two-series theorem
- Rao–Blackwell–Kolmogorov theorem
- Khinchin–Kolmogorov theorem
- Kolmogorov’s Strong Law of Large Numbers