นอร์เบิร์ด ไวเนอร์ (Norbert Wiener)
นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิก Cybernetics
ไวเนอร์ เกิดวันที่ 26 พฤศจิกายน 1894 พ่อของเขาชื่อลีโอ (Leo wiener) และแม่ชื่อเบอร์ธ่า (Bertha Kahn) ทั้งคู่เป็นยิว ที่อพยพมาจากโปแลนด์และเยอรมันตามลำดับ
ลีโอนั้นเป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาสลาฟและวรรณกรรมอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ลีโอนั้นเป็นคนที่สอนหนังสือให้กับไวเนอร์มาตั้งแต่เล็กโดยเขาเชื่อมันในวิธีการสอนที่เขาพัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งไม่ว่าจะเพราะเทคนิคการสอนหรือว่าการเอาใจใส่เป็นพิเศษจากบิดา แต่นั่นก็ทำให้ไวเนอร์นั้นกลายเป็นเด็กอัจฉริยะตั้งแต่อายุน้อย
1906 ไวเนอร์จบมัธยมปลายตอนอายุ 11 ปี จากโรงเรียนมัธยมเอเยอร์ (Ayer High School) จากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่ตูฟต์คอลเลจ (Tufts college, ปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย) ในแมสซาซูเซ็ตต์
1909 จบปริญญาตรีจากตูฟต์คอลเลจ ในสาขาคณิตศาสตร์ด้วยวัยเพียง 14 ปี หลังจากนั้นเขาได้เข้าเรียนต่อสาขาสัตวศาสตร์ ที่ฮาร์วาร์ด (Harvard)
1910 ย้ายมาเรียนที่คอร์เนลล์ (Cornell) ทางด้านปรัชญา
1911 สำเร็จการศึกษา
1913 จบปริญญาเอกจากฮาร์วาร์ด ในวัย 19 ปี โดยทำวิทยานิพนธ์ด้านตรรกะศาสตร์เรื่อง “a comparison of the work of Ernst Schröder with that of Alfred North Whitehead and Bertrand Russell” โดยมีคาร์ล สมิทต์ (Karl Schmidt) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
1914 เขาออกเดินทางมายังยุโรป และได้มีโอกาสได้เรียนกับเบิร์ตรันด์ รัสเซล (Bertrand Russell) และจี. ฮาร์ดี (G. H. Hardy) ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cambridge University) และได้ฟังบรรยายของเดวิด ฮิลเบิร์ด (David Hilbert) และเอ็ดมันด์ แลนเดา (Edmund Landau) ที่มหาวิทยาลัยก๊อตตินเจ้น (University of Gottingen)
1915 เป็นอาจารย์สอนวิชาปรัชญาที่ฮาร์วาร์ด และทำงานเป็นวิศวะกรให้กับบริษัทจีอี (General Electric) ระหว่างนี้เขายังช่วยเขียนสารานุกรม Encyclopedia Americana ไปด้วย
1916 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 ไวเนอร์ได้อาสาเข้าฝึกเพื่อเตรียมตัวเป็นทหาร แต่ว่าเข้าไม่ได้ถูกเลือกให้เข้าประจำการณ์กับกองทัพ เนื่องจากสายตาที่ไม่ผ่านเกณฑ์
1918 ไวเนอร์ถูกชวนเข้าร่วมทำงานในโครงการค้นคว้าพัฒนาขีปนาวุธ ในฐานทัพอะเบอร์ดีน (Aberdeen Proving Ground) ในรัฐแมรี่แลนด์ ซึ่งไวเนอร์เข้าทำงานได้ไม่นาน เขาก็เลือกที่จะสมัครเป็นทหารเพื่อออกรบอีกครั้ง เพราะไม่ชอบที่จะอยู่แต่ในแนวหลัง ซึ่งความพยายามครั้งนี้ของเขาทำให้เขาได้รับการบรรจุเป็นทหาร
1919 กุมภาพันธ์, ไวเนอร์ถูกปลดประจำการณ์ออกจากกองทัพ เพราะว่าสงครามโลกสิ้นสุดลง
ไวเนอร์เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่ MIT
ช่วงปี 1920s เป็นช่วงที่ไวเนอร์สร้างผลงานสำคัญต่อวงการคณิตศาสตร์ออกมามากที่สุด อาทิ Wiener process ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ stochastic process, ทฤษฏีเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบบราวเนี่ยน (Brownian motion) , Paley-Wiener theorem (Harmonic analysis)
1926 แต่งงานกับ มาร์กาเร็ต (Margaret Engeman) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน เธอเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภาษาที่จูเนียต้าคอลเลจ.(Juniata college) พวกเขามีลูกสาวด้วยกันสองคน
1933 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences) แต่ว่าไม่นานาเขาก็ลาออก
1939 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไวเนอร์ทำงานค้นคว้าเกี่ยวกับการพัฒนาอาวุธที่ต้องเล็งเป้าหมายที่มีการเคลื่อนที่ ซึ่งแนวคิดของเขาต่อมาถูกพัฒนาเป็น Extrapolation, Interpolation และ Smoothing of Stationary Time Series ซึ่งภายหลังไวเนอร์ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ค้นพบทฤษฏีร่วมกับนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย แอนเดรย์ โกลโมโกรอฟ (Andrey Kolmogorov)
ได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมช่วยเหลือชาวจีน (China Aid Society)
นอกจากนั้นเขายังศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (information theory) ซึ่งทำให้ไวเนอร์คิด ตัวกรองไวเนอร์ (Wiener Filter) ขึ้นมา
1948 เขียนหนังสือ Cybernetics : Control and Communication in the Animal and the Machine
1963 ได้รับรางวัล National Medal of Science
1964 มีนาคม, ไวเนอร์เสียชีวิตในสต๊อกโฮล์ม (Stockholm) จากอาการหัวใจวาย
I Am a Mathematician หนังสืออัตชีวประวัติของเขาพิมพ์ออกมา
ผลงานเขียน
- Cybernetics
- The Fourier Integral and Certain of it’s Application
- Extrapolation, Interpolation and Smoothing of Stationary Time Series
- Nonlinear Problems in Random Theory
- Invention The Care and Feeding of Ideas
- I Am a Methematician
- The Human Use of Human Beings