Numquam prohibere somniantes
Ho Chi Minh
Ho Chi Minh

Ho Chi Minh

https://www.youtube.com/watch?v=NZfwTOognFQ

โฮ จิ มินห์ (Ho Chi Minh)

โฮจิมินห์ มีชื่อจริงว่า เหวียน เซน คึง (Nguyễn Sinh Cung ) เขาเกิดวันที่ 19 พฤษภาคม 1890 ในหมู่บ้านคิมเลียน, จังหวัดเง่ห์ อาน (Kim Liên, Nghệ An) พ่อของเขาชื่อ เหวียน ซินห์ ซัค (Nguyễn Sinh Sắc, 1863-1929) และแม่ชื่อควาง ถี่ ล้วน (Hoàng Thị Loan, 1868-1901) 

เหวียนซินห์ซัค นั้นเป็นผู้พิพากษาอยู่ในเขตบินห์ คี (Binh Khe) โดยเขาได้รับการศึกษาแบบขงจื้อ และเข้าทำงานราชการตั้งแต่ 1901 แต่ว่าในปี 1910 เขาถูกไล่ออกจากราชการ ในข้อหาใช้อำนาจมิชอบ จากการตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์จนถึงแก่ความตาย หลังจากออกจากราชการ  เหวียนซินห์ซัคก็ย้ายไปอยู่ในไซ่ง่อน และทำงานสอนหนังสือ

โฮจิมมินห์มีพี่สาวชื่อ เหวียน ที ทานห์ (Nguyễn Thị Thanh, Bạch Liên) เธอทำงานเป็นเสมียรในกองทัพฝรั่งเศส  และพี่ชายชื่อ เหวียน ซิง เคียม (Nguyễn Sinh Khiêm) เป็นหมอดูและหมอยาแพทย์โบราณ

ตอนที่โฮจิมินห์เกิดนั้นเป็นเวลาไม่นาน หลังจากฝรั่งเศสก่อตั้งอินโดไชน่า (French Indochina) ในปี 1887 ซึ่งประกอบไปด้วย เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา และบางส่วนของกวงตง (Guangdong) ของจีน

ในวัยเด็กโฮจิมินห์ เรียนหนังสือโดยมีพ่อของเขาเป็นคนสอน ก่อนที่จะได้เข้าเรียนอย่างเป็นทางการกับครูคนหนึ่ง ชื่อ Vuong Thuc Do ซึ่งสอนให้เขาเรียนวิชาตามหลักขงจื้อ และสอนการเขียนภาษาจีน 

1900 ตอนโฮจิมินห์ อายุ 10 ปี พ่อของเขาก็ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า เหวียน ตั๊ต ถานห์ (Nguyễn Tất Thành, แปลว่Nguyễn the Accomplished”) ตามประเพณีที่ต้องมีการเปลี่ยนชื่อ

1908 โฮจิมินห์เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมก๊วก ฮ๊อก (Quốc Học – Huế High School) แต่ว่าไม่นานก็ถูกไล่ออกเพราะการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปฏิวัติ

หลังจากออกจากโรงเรียน โฮจิมินห์ไปทำงานเป็นผู้ช่วยอยู่ในครัว บนเรือไอน้ำของฝรั่งเศสชื่อ the Amiral de Latouche-Tréville ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสเดินทางไปในหลายประเทศระหว่างปี 1911-1917

1912 เดินทางมาสหรัฐฯ​ โดยโฮจิมินห์อ้างว่าเขาได้เคยได้งานเป็นคนอบขนมปัง ที่โรงแรมปาร์กเกอร์เฮาส์ (The Parker House Hotel) ในบอสตันด้วย  

ระหว่างอยู่ในสหรัฐฯ โฮจิมินห์อ้างว่าได้ติดต่อกับกลุ่มชาตินิยมชาวเกาหลี , ได้เห็นการเหยียดผิวในสหรัฐฯ ทำให้เขาเกิดมุมมองใหม่ๆ ทางด้านการเมือง

1913 เดินทางมาอังกฤษ โดยทำงานรับจ้างในหลายกิจการในลอนดอน อาทิ เคยทำงานเป็นพนักงานล้างจานที่โรงแรมเดรย์ตัน (Drayton Court Hotel) 

ต่อมาได้งานเป็นพ่อครัวบนเรือเฟอร์รี่ ระหว่างเมืองนิวฮาเว่น-เดียฟเป่ (Newhaven-Dieppe)

1919 มิถุนายน, เดินทางมาฝรั่งเศส ซึ่งที่นี่เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มชาวเวียดนามผู้รักชาติ ที่ใช้ชื่อกลุ่ม Groupe des Patriotes Annamites (The Group of Vietnamese Patriots) ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสระภาพของเวียดนาม ซึ่งในช่วงนี้โฮจิมินห์ได้ใช้ชื่อ เหวียน อาย กั๊วะ ( Nguyễn Ái Quốc, “Nguyễn the Patriot” ) ในการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ของกลุ่ม

ในปีนี้มีการประชุมสันติภาพปารีส (Paris Peace Conference) ของฝ่ายประเทศผู้ชนะสงครามโลก ครั้งที่ 1 ซึ่งประกอบไปด้วย สหรัฐฯ​, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, อิตาลี , ญี่ปุ่น หรือ “Big Five” เป็นแกนนำ และมีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมกว่า 32 ประเทศ ซึ่งประเด็นสำคัญของการประชุมคือการกำหนดบทลงโทษต่อประเทศผู้แพ้สงคราม คือ เยอรมัน, ออสเตรีย-ฮังการี, บัลกาเรีย, และจักรวรรดิอ๊อตโตมัน ผลลัพท์สำคัญที่สุดของการประชุมนี้คือ สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)

1920 25 ธันวาคม, โฮจิมินห์เข้าร่วมการประชุมสภาแห่งตูร์ (Congress of Tours) ซึ่งเป็นการประชุมของพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส (the Socialist Part of France) เพื่อหามติและตัวแทนที่จะไปร่วมประชุมคอมมิวนิสต์สากล (3rd Communist International) แต่ว่าเกิดความแตกแยกภายในพรรค

30 ธันวาคม,​โฮจิมินห์ร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (French Communist Party) โดยตอนนั้น ออสการ์ ฟรอสซาร์ด (Ludovic-Oscar Frossard) เป็นเลขาธิการคนแรกของพรรค

ช่วงเวลาที่อยู่ในปารีสนี้ มีรายงานว่าโฮจิมินห์มีความสัมพันธ์กับ มาเรีย บริแอร์ (Marie Brière) ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อ

1923 เดินทางมามอสโคว์โดยได้รับทุนสนันสนุนจากดมิทรี มานูอิลสกี้ (Dmitry Manuilsky) ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารขององค์การโคมินเทิร์น (Comintern) ซึ่งเขาได้อ่านบทความที่โฮจิมินห์เขียนแล้วเกิดความประทับใจ ซึ่งเมื่อมาถึงมอสโคว์โฮจิมินห์ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์กรรมาชีพภาคตะวันออก (Коммунистический университет трудящихся Востока, KUTV) หรือรู้จักในชื่อ the Far East University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นโดยองค์การโคมินเทิร์น 

ตอนเข้ามาอยู่ในโซเวียตนั้น โฮจิมินห์ใช้พาสปอร์ตในชื่อ เฉิน หวาง (Chen Vang) ซึ่งแสดงตัวว่าเป็นพ่อค้าชาวจีน

1924 มิถุนายน, โฮจิมินห์ได้เข้ร่วมการประชุมองค์การโคมินเทิร์น ครั้งที่ 5 (Fifth Comintern Congress) 

พฤศจิกายน, เดินทางไปยังกวางโจว โดยตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ไหล ท่วย (Ly Thuy)

1925 เขาทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยทหารแวมเปา (whampoa Military Academy) โดยสอนวิชาเกี่ยวกับลัทธิสังคมนิยมให้กับนักศึกษาชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในกวางโจว 

โฮจิมินห์ก่อตั้ง สันนิตบาตยุวชนปฏิวัติเวียดนาม / Vietnamest Revolutionary Youth League (Việt Nam Thanh Niên Cách Mệnh Đồng Chí Hội, 越南青年革命同志会) ขึ้นมา เหรือเรียกสั้นๆ ว่า Thanh Nien โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน และฝ่ายซ้ายในพรรคโก๊ะมินตั๋ง (Kuomintang)

สันนิตบาตยุวชนปฏิวัติเวียดนามนี้เสมือนจุดเริ่มต้นของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และยังเป็นองค์กรแบบมาร์กซิสต์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสันนิตบาตนี้ทำหน้าที่สั่งสอนและฝึกนักปฏิวัติจำนวนมาก

1926 18 ตุลาคม, โฮจิมินห์ แต่งงานกับหญิงชาวจีน ชื่อ เจิง เฉียหมิง (曾雪明, Zeng Xueming) ซึ่งเธอใช้ชื่อเวียดนามว่า ตาง ติต มินห์ (Tăng Tuyết Minh) ขณะแต่งงานเธอมีอายุ 21 ปี และโฮจิมินห์อายุ 36 ปี 

1927 เมษายน, โฮจิมินห์หนึออกจากเมืองจีน เพราะว่าโก๊ะมินตั๋ง  ทำการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ในกวางโจว ซึ่งการหนีออกจากเมืองจีนครั้งนี้ทำให้โฮจิมินห์ขาดการติดต่อกับเจิง เฉียหมิง ภรรยาของเขาไปจนตลอดชีวิต

โฮจิมินห์กลับมาอยู่ในมอสโคว์ และต้องไปพักรักษาอาการป่วยด้วยวัณโรคอยู่ในไครเมียตลอดช่วงฤดูร้อน

พฤศจิกายน, เขากลับไปปารีส 

1928 โดยสายเรือจากอิตาลีมาถึงกรุงเทพในเดือนกรกฏาคม ก่อนที่จะเดินทางไปอยู่ที่หมู่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม โดยช่วงที่อยู่เมืองไทยนี้โฮจิมินห์ยังคงมีตำแหน้งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโคมินเทิร์น ซึ่งถูกส่งมาเคลื่อนไหวในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

1929 พ่อของโฮจิมินห์เสียชีวิต ในวัย 66 ปี

ช่วงปลายปีโฮจิมินห์ออกจากประเทศไทย และไปยังอินเดียก่อนที่จะไปยังเซี่ยงไฮ้ 

1930 กุมภาพันธ์, ในฮ่องกง โฮจิมินห์ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam) ขึ้นมา

เมษายน, กลับเข้ามากรุงเทพ โดยใช้ชื่อปลอมว่า Sung Man Sho และได้ตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศสยาม (Communist Party of Siam) ขึ้นมา

1931  มิถุนายน​ โฮจิมินห์ถูกจับในฮ่องกง โดยตำรวจฮ่องกงตามการร้องขอของฝรั่งเศส  และกำลังเตรียมตัวจะถูกส่งตัวไปยังฟรานซ์อินโดจีน (French Indochina)  แต่ว่านักธุรกิจอังกฤษชื่อแฟรงค์ ลูสบี้ (Frank Loseby) ได้ให้ความช่วยเหลือโฮจิมินห์ โดยอุทรณ์ไปยังสภาสูงของอังกฤษเพื่อให้ยกเลิกการส่งตัวโฮจิมินห์ไปฟรานซ์อินโดจีน ซึ่งคำร้องเป็นผล และโฮจิมินห์ถูกเนรเทศออกจากฮ่องกงแทน เขาจึงกลับไปยังเซี่ยงไฮ้

ต่อมาโฮจิมินห์เดินทางกลับไปรัสเซีย และได้ไปสอนหนังสืออยู่ที่สถาบันเลนิน (Lenin Institute) ในมอสโคว์

1938 โฮจิมินห์เดินทางกลับมายังจีน ในฐานะผู้แทนจากโคมินเทิร์นซึ่งมาให้คำปรึกษาแนะนำกับกองทัพคอมมิวนิสต์จีน ช่วงที่อยู่ในจีนตอนนี้เขาใช้ชื่อว่า โฮ กวง (Hồ Quang) และได้เดินทางไปในหลายเมืองของจีนทั้ง คุนหมิง, กุ้ยหลินและกุ้ยหยาง

1941 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 โฮจิมินห์กลับมาเวียดนาม และตั้งกองกำลังเวียดมินห์ ( Việt Nam độc lập đồng minh, League for the Independence of Vietnam) ขึ้นมา ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นบุกเวียดนามก่อนจะบุกประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้ 

กองกำลังเวียดมินห์นั้นใช้การรบแบบกองโจร ซึ่งเริ่มแรกมีสมาชิกราวหนึ่งหมื่นคน และถูกเรียกว่า “men in black” เพราะการแต่งกายด้วยชุดสีดำ

1943 โฮจิมินห์ถูกโก๊ะมินตั๋งจับขังคุกอยู่ช่วงหนึ่งระหว่างอยู่ในจีน แต่ว่าเขาถูกช่วยเหลือออกมาโดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ และนายพลโฮว จื้อหมิง (侯志明, Hou Zhiming) ซึ่งแม้ว่าท่านจะเป็นสมาชิกของโก๊ะมินตั๋งก็ตาม

ช่วงเวลานี้ โฮจิมินห์ เริ่มใช้ชื่อ โฮจิมินห์ นี้เรียกตัวเอง โดยที่เป็นคำประสม ระหว่างภาษาเวียดนามและจีน โดย โฮ (Hồ, ) แปลว่า เจตจำนงค์ที่แน่วแน่ (Clear will) จิ (志) แปลว่า เจตจำนงค์ (will) และ มินห์ (明) แปลว่า สว่าง, ชัดเจน (clear bright) 

1945 เมษายน, อาร์ชิเมเดส แพตตี้ (Archimedes Patti) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยสายลับ OSS ของสหรัฐฯ ได้ติดต่อกับโฮจิมินห์เพื่อขอข้อล  ระหว่างนี้สหรัฐฯ ก็ให้การรักษาโฮจิมินห์ซึ่งป่วยเป็นมาลาเรีย พร้อมกับสนุนยาและอุปกรณ์สื่อสารให้กับเวียดมินห์ 

19 สิงหาคม, (August Revolution) โฮจิมินห์ประกาศตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล และแถลงประกาศอิสระภาพให้กับประเทศ แต่ว่าไม่มีประเทศไหนในโลกรับรองการประกาศอิสระภาพของเขาอย่างเป็นทางการ

2 กันยายน, ฝ่ายเวียดมินห์ สามารถยึดฮานอย (Hanoi) มาจากฝรั่งเศสและญี่ปุ่นได้สำเร็จ โฮจิมินห์จึงได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Democratic Republic of Vietnam) ขึ้นมา วันเดียวกันนี้จักรพรรดิ เบ๋า ได (Bảo Đại) ก็สละราชสมบัติ และโฮจิมินห์ได้อ่านแถลงการณ์ประกาศเอกราช (Declaration of Independence of Vietnam) 

ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีและควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเวียดนามพร้อมกัน

แต่ว่าสถานการณ์ในเวียดนามยังไม่สงบ ฝรั่งเศสยังคงกำลังทหารอยู่ในเวียดนาม และการปะทะระหว่างเวียดมินห์และฝรั่งเศสก็รุนแรงขึ้น

กันยายน, กองกำลังปฏิวัติแห่งชาติ (National Revolution Army) ของโก๊ะมินตั๋ง นำโดยนายพลหลู่ ฮั่น (Lu Han) ราว 200,000 นาย เดินทางมาถึงฮานอย เพื่อช่วยเวียดนามในกระบวนการวางอาวุธและถอนทหารญี่ปุ่นออกจากเวียดนาม 

ขณะเดียวกนทหารอังกฤษ 20,000 นายจากกองทัพอินเดียที่ 20 (20th Indian Division) นำโดยนายพลดักราส เกรเซย์ (Gen Sir Douglas Gracey) ได้เข้ามาในไซง่อน ใต้เส้นขนานที่ 16 (16th paralel) 

24 กันยายน, ด้วยการร้องของฝรั่งเศส ทำให้นายพลดักราส ประกาศกฏอัยการศึก และเริ่มมอบอาวุธให้กับชาวฝรั่งเศสในไซง่อน เพื่อรบกับคอมมิวนิสต์

1946 6 มีนาคม, ฝรั่งเศสประกาศตั้งสหภาพฝรั่งเศส (France Union) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด เพื่อพยายามจะรักษาอาณานิคมต่างๆ รวมถึงอินโดไชน่าเอาไว้ โดยเวียดนามได้รับสถานะเป็นรัฐปกคลองตัวเองภายใต้สหภาพฝรั่งเศส

23 พฤศจิกายน, (Haiphong inchident) เรือรบซับเฟรน (Suffren) ของฝรั่งเศสระดมยิงปืนใหญ่เข้าถล่มเมืองไฮฟง (Haiphong) ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 คน 

19 ธันวาคม, (Battle of Hanoi) กองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนพลเข้าบุกฮานอย ทำให้โฮจิมินห์ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส และปฏิเสธการเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพฝรั่งเศส  วันนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอินโดจีน ครั้งที่ 1 (1st Indochina war

1949 1 ตุลาคม, เหมา เจ๋อตุง (Mao Zhedong) ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน 

1950 กุมภาพันธ์, โฮจิมินห์ เดินทางไปพบกับสตาลิน (Joseph Stalin) และเหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong) ในมอสโคว์ ซึ่งพวกเขาตกลงกันว่าจะให้จีนสนับสนุนเวียดนาม

กันยายน, หลัว กุยกัว (罗贵波, Luo Guibo) ถูกส่งมาเป็นเอกราชทูตคนแรกของจีนประจำเวียดนาม ซึ่งตามมาด้วยความช่วยเหลือจำนวนมหาศาลที่จีนให้กับเวียดนาม โดยมีการตั้ง the Chines Military Advisory Group (CMAG) และ the Chinese Political Advisory Group (CPAG) ขึ้นมา โดยมีผุ้เชียวชาญจากจีนจำนวนหลายร้อยคนมาเป็นที่ปรึกษาทางทหารและทางการเมืองให้กับเวียดนาม และจีนก็ส่งอาวุธและเงินจำนวนมากมาสนับสนุน 

1955 พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ว่ายังคงอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั้งเสียชีวิต

1953 มีนาคม-พฤษภาคม, การรบที่สมรภูมิเดียนเบียนฟู (Battle of Dien Bien Phu) สงครามอินโดจีน ครั้งแรก สิ้นสุดลงเมื่อทหารฝรั่งเศสกว่า 10,000 นายยอมแพ้ให้กับเวียดมินห์

1954 เมษา, (Geneva Accord) ในการประชุมที่กรุงเจนีวา มีการทำข้อตกลงในการแบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วนชั่วคราว โดยใช้เส้นขนาดที่ 17 โดยที่สหรัฐฯ ได้ทำแคมเปญรณรงค์ให้ชาวเวียดนามที่นับถือแคโธริกซ์ย้ายลงมาอยู่ในเวียดนามใต้ ซึ่งทำให้มีประชาชนราวหนึ่งล้านคนที่ย้ายลงมาอยู่ทางใต้

ขณะที่โฮจิมินห์ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Democratic Republic of Vietnam)  ขณะที่โง ดินห์ เซียม (Ngô Đình Diệm) รับตำแหน่งประธานาธิบของเวียดนามใต้ (Republic of Vietnam)

ซึ่งเมื่อโฮจิมินห์ขึ้นเป็นผู้นำเวียดนามเหนือ เขามีนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญคือการปฏิรูปที่ดิน (land reform) ซึ่งแบบเป็น 2 ช่วง คือ  Land Rend Reduction Campaign (1953-1954) และ Land Reform Campaign Proper (1954-1956) ซึ่งนโยบายปฏิรูปที่ดินของโฮจิมินห์นี้ ทำโดยการยึดที่ดินจากคนที่ถูกจัดเป็นนายทุน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งตัวเลขจริงไม่แน่ชัดตั้งแต่หลักหมื่นถึง 200,000 คน โดยพื้นที่หลักที่มีเจ้าของที่ดินถูกสังหารคือบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง (Red River Delta) ซึ่งเป็นเขตที่ที่ดินมีความอุดมสมบูร์ณจึงมีคนอาศัยจำนวนมาก และมีผู้ที่ถูกสังหารกว่า 50,000 คน  โดย หวิน ถิ นาม(Nguyễn Thị Năm) เป็นผู้หญิงคนแรกที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนายทุนและถูกสังหาร ทั่งที่ก่อนหน้านั้นเธอเป็นคนที่ให้เงินทุนสนับสนุนเวียดมินห์ที่ต่อสู้กับฝรั่งเศสมาก่อน

1955 ฟรานซ์อินโดไชน่าถูกยุบเลิกไป

1959 กรกฏาคม, โฮจิมินห์ตัดสินใจที่จะล้มรัฐบาลเวียดนามใต้เพื่อผนวกดินแดนเข้าด้วยกันอีกครั้ง เวียดนามเหนือจึงส่งทหารบุกประเทศลาว โดยที่รับรับความร่วมมือจากชาวลาวที่เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งเรียกว่าปะเทดลาว (Pathet Lao)  มีเป้าหมายเพื่อสร้างเส้นทางในการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ไปสนับสนุนชาวเวียดนามในเวียดนามใต้ที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์ที่เรียกว่า เวียดกง (Viet Cong) เส้นทางที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนี้ถูกเรียกว่า ทางสายโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh trail)

1960 กันยายน, โฮจิมินห์ ออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม  และให้ เล ซ่วน (Lê Duẩn) มาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งการเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำประเทศนี้ คาดว่าอาจจะเพราะโฮจิมินห์เริ่มมีปัญหาสุขภาพ

1961 ระหว่างปี 1961-1963 ประมาณว่าเวียดนามเหนือส่งทหารลักลอบเข้าไปเวียดนามใต้ราว 40,000 นาย

1963 Maneli affai

1 พฤศจิกายน, ในเวียดนามใต้เกิดการปฏิวัติล้มรัฐบาลของโงดินห์เซียม ซึ่งประธานาธิบดีโงดินห์เซียมถูกสังหารในวันถัดมา

ซึ่งหลังจากประธานาธิบดีโงดินห์เซียมเสียชีวิต การเมืองในเวียดนามใต้ก็ไร้เสถียรภาพ และโฮจิมินห์ก็เห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะบุกเวียดนามใต้ 

1964 Seaborn Mission, ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน (Lyndon Johnson) ของสหรัฐฯ​ ต้องการให้เวียดนามเหนือล้มเลิกความคิดที่จะบุกเวียดนามใต้ จึงได้ส่ง เจ. ซีบอร์น (J. Blair Seaborn) เป็นทูตมาเจรจากับเวียดนามเหนือ โดยสหรัฐฯ​ เสนอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับเวียดนามเหนือแลกกับการยกเลิกความตั้งใจที่จะบุกเวียดนามใต้ แต่ว่าภาระกิจของซีบอร์นล้มเหลวเมื่อเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พบโฮจิมินห์ 

ช่วงปลายปี, เวียดนามส่งทหาร (People’s Army of Vietnam, PAVN) จำนวนมากเข้ามายังลาวและกัมพูชา

1965 มีนาคม, ทหารสหรัฐฯ เร่ิมเข้ามาอยู่ในดานัง (Da Nang) และชู ไล (Chu Lai) ในเวียดนามใต้ โดยวัตถุประสงค์แรกคือป้องกันฐานทัพสหรัฐฯ​ ที่นั่น 

เมษายน, (Operation Rolling Thunder, 1965-1968) สหรัฐฯ เริ่มปฏิบัติการทิ้งระเบิดโจมตีเวียดนามเหนือ

8-9 เมษายน, โฮจิมินห์เดินทางไปปักกิ่งอย่างลับๆ เพื่อพบกับเหมา เจ๋อตุง

1966 ธันวาคม,​Operation Marigold, เป็นปฏิบัติการทางการทูตลับๆ ของสหรัฐฯ​ ที่พยายามจะเจรจากับเวียดนามเหนือเพื่อยุติสงคราม การพบปะของสองฝ่ายจัดขึ้นในกรุงวอร์ซอร์ แต่ว่าการเจรจาล้มเหลว

1968 30 มกราคม, (Tet Offensive) เวียดนามเหนือเริ่มปฏิบัติการส่งทหารบุกเวียดนามใต้ครั้งใหญ่

1969 ช่วงต้นปีโฮจิมินห์เริ่มมีอาการของโรคหัวใจ

3 กันยายน, โฮจิมินห์เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย ในกรุงฮานอย ในวัย 79 ปี

โดยที่ต่อมาร่างของโฮจิมินห์ถูกทำเป็นขี้ผึ้งและตั้งแสดงเอาไว้ที่สุสานที่จตุรัสบาดิน (Ba Đình Square) ในกรุงฮานอย

1975 เมษายน,  (Fall of Saigon) เวียดนามเหนือบุกยึดไซง่อน (Saigon) ได้สำเร็จ เป็นจุดสิ้นสุดสงครามเวียดนาม  และไซง่อนได้เปลี่ยนชื่อเป็นโฮจิมินห์ซิตี้ 

1991 14 พฤศจิกายน, เจิง เฉียหมิง ภรรยาชาวจีนของโฮจิมินห์เสียชีวิต ในวัย 86 ปี

ผลงานเขียน 

  • The Bamboo Dragon
  • He Prison Diary
  • Down With Colonialism
  • On Revolution : Selected Writing, 1920-1966
  • The Selected Work Of Ho Chi Minh
  • The Case Against French Colonization

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!