Numquam prohibere somniantes
Anthony Crosland
Anthony Crosland

Anthony Crosland

ชาร์ล แอนโทนี่ ครอสแลนด์ (Charles Anthony Raven Crosland)

ผู้เขียน The Future of Socialism

ครอสแลนด์เกิดวันที่ 29 สิงหาคม 1918 ในเซนต์เลโอนาร์ดออนซี (St. Leonards-on-Sea, England)  พ่อของเขาเป็นทหารชื่อโจเซฟ (Joseph Beardsall Crosland) ขณะนั้นเป็นผู้ช่วยรองรัฐมนตรีกลางโหมของอังกฤษ และแม่ชื่อเจซซี่ ราเวน (Jessie Raven) เป็นครูอยู่ที่วิทยาลัยเวสต์ฟิลด์ (westfield college)  ทั้งสองคนเป็นเป็นสมาชิกของกลุ่มเพลเมธ บราโยน (Plymouth Brethren) ซึ่งเป็นกลุ่มภราดรที่ถือว่าคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลักสูงสุดของศาสนาคริสต์โดยที่เป็นอิสระไม่ต้องขึ้นกับศริสต์จักรใด

ครอสแลนด์เรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนมัธยมไฮเกต (Highgate school) ในลอนดอน ก่อนที่จะมาต่อที่ไตรนิตี้คอลเลจ (Trinity College, Oxforx) 

1941 เมื่อเกิดสงครามโลก ครอสแลนด์ได้เป็นทหารในหน่วยทหารพลร่ม และได้ออกรบในสมรภูมิที่แอฟริกาตอนเหนือ, อิตาลี และออสเตรีย

1943 กันยายน​, (Operation Slapstick) ในร่วมในปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในการยกพลขึ้นปกในเมืองตารันโต้ (Taranto) อิตาลี

1944 มกราคม-พฤษภาคม, ร่วมรบในสมรภูมิมอนติคาสซิโน่ (Battle of Monte Cassino) ซึ่งเป็นความพยายามในการบุกยึดกรุงโรมจากนาซีเยอรมัน

สิงหาคม, ได้ร่วมในปฏิบัติการรักบี้ (Operation Rugby) ซึ่งเป็นการบุกทางใต้ของฝรั่งเศส

1945 หลังสงครามโลก ครอสแลนด์กลับเข้าเรียนต่อที่อ๊อกฟอร์ด ซึ่งระหว่างเรียนเขาได้เป็นประธานของสหภาพอ๊อกฟอร์ด (Oxford Union)  of the Democratic Socialist Club)

ครอสแลนด์เรียนจบภายในระยะเวลา 12 เดือน ด้วยเกียตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาปรัชญา, รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์

หลังจากเรียนจบครอสแลนด์ได้ทำงานเป็นอาจารย์เลคเชอร์อยู่ที่อ๊อกฟอร์ดในวิชาเศรษฐศาสตร์ 

1949 ธันวาคมลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์ ในนามของพรรคแรงงาน (Labour party) โดยได้รับเลือกเป็น ส.ส. จากเขตเซาท์ กลูเซสเตอร์ไชร์ (South Gloucestershire) ในวัย 32 ปี

1952 พฤศจิกายน, แต่งานกับฮิลารี่ (Hilary Sarson)  แต่ก็หย่ากันในอีกห้าปีต่อมา

1955 พรรคแรงงานพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ครอสแลนด์เองก็พลาดไม่ได้รับเลือก เขาจึงใช้เวลาจึงใช้เวลาที่ว่างจากการไม่ต้องเป็น ส.ส. ไปเขียนหนังสือ

1956 The Future of Socialism พิมพ์ออกมาซึ่งครอสแลนด์แสดงความเห็นถึงความจำเป็นของการปรับแนวสังคมนิยมซึ่งเป็นแนวคิดหลักของพรรคแรงงานว่าจำเป็นต้องมีการ “ปรับวิสัยทัศน์ (revisionism)” ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่ง The Future of Socialism นั้นมีการปฏิเสธแนวคิดพื้นฐานของสังคมนิยมหลายประการ อาทิ เขาบอกว่าการต่อสู้ระหว่างชนชน ระหว่างคนรวยคนจน นั้นไม่ควรจะเป็นนโยบายของพรรค แต่ว่าสามารถสร้างความเสมอภาคด้วยวิธีการอื่น เช่น การใช้อัตราภาษีแบบก้าวหน้า  การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา นอกจากนั้นเขายังสนับสนุนระบบตลาดมากกว่าระบบรวมศูนย์ที่สั่งการโดยรัฐบาล หนังสือเล่มนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากภายในพรรคแรงงาน แต่ว่าในที่สุดมันกลายเป็นแนวทางหลักของพรรคแรงงานและสังคมนิยมสมัยใหม่

1959 ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็น ส.ส. อีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ลงสมัครในเขตกริมสบี้ (Grimsby) แต่ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้  พรรคแรงงานของเขา พ่ายแพ้พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative) โดยได้ที่นั่งมา 258 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมได้มา 365 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการพ่ายแพ้ที่เหนือความคาดหมาย 

ซึ่งสาเหตุหลักของความพ่ายแพ้ถูกวิเคราะห์ว่ามาจากนโยบายเศรษฐกิจของพรรคแรงงานเอง ทำให้ภายในพรรคแรงงานได้มีการก่อตั้ง กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย (The Campaign for Democratic Socialism, CDS) ขึ้นมาภายในพรรค ซึ่งมีเป้าหมายในการออกแบบแนวคิดทางเศรษฐกิจใหม่ให้กับพรรค ซึ่ง ครอสแลนด์ก็ได้เป็นสมาชิกของ CDS ด้วย 

1964 7 กุมภาพันธ์, แต่งงานกับซูซาน (Susan Catling) ชาวอเมริกัน เธอเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ พวกเขาไม่มีลูกด้วยกัน แต่ว่าซูซานมีลูกติดจากการแต่งงานครั้งก่อนสองคน  

1965 มกราคม, ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ ในรัฐบาลของวิ ลสัน (Harold Wilson) 

1967 ได้รับตำแหน่งประธานบอร์ดการค้า (Board of Trade) 

1974 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม 

1976 เสนอตัวเองเป็นหัวหน้าพรรคแรงงาน แต่ว่าได้รับเสียงสนับสนุนไม่เพียงพอ

เมษายน, ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 

1977 13 กุมภาพันธ์, เกิดอาการเลือดออกในสมอง 

19 กุมภาพันธ์, เสียชีวิตภายในโรงพบาบาล ในวัย 58 ปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!