Numquam prohibere somniantes
Arthur C. Clarke
Arthur C. Clarke

Arthur C. Clarke

อาร์เธอร์ ซี. คล๊าก (Sir Arthur C. Clarke) 

คล๊าก เกิดวันที่ 16 ธันวาคม 1917 ในไมน์เฮด, โซเมอร์เซ็ต (Mindhead, Somerset) เมืองริมฝั่งทะเลทางตอนใต้ของอังกฤษ  พ่อของเชาชื่อว่าชาร์ล (Charles Wright) และแม่ชื่อโนร่า (Nora Willis Clarke) พวกเขาเป็นเกษตรกร 

คล๊ากเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนประถมฮูอิช (Huish’s Grammar School) 

ตอนอายุ 12 ปี คล๊ากค้นพบว่าตัวเองชอบอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ หลังจากได้อ่านนิยายจากแม็กกาซีน Amazing Stories

ตอนอายุ 13 ปี พ่อของเขาเสียชีวิตในสงคราม

1936 คล๊ากต้องออกจากโรงเรียนกลางคันเพราะฐานะทางบ้านไม่ดี  ซึ่งหลังออกจากโรงเรียนเขาย้ายมาอยู่ในลอนดอน และได้ทำงานเป็นพนักงานบัญชีในกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างนี้คล๊ากก็ไม่ได้ละทิ้งความสนใจเกี่ยวกับวิทยาาศาสตร์ เขาเข้าเป็นสมาชิกสมาคม British Interplanetary Society (BIS) ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่สนับสนุนการพัฒนาจรวดและการสำรวจอวกาศ นอกจากนั้นคล๊ากยังได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคม Association of Sci-fi hobbyyists

1941 เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 1 เริ่มต้นขึ้น เขาถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพอากาศ โดยไปอยู๋ในแผนกที่ควบคุมระบบเรดาห์ ซึ่งคอยให้แนะนำกับนักบินในสภาพอากาศต่างๆ 

1945 ในบทความของคล๊ากชื่อ “Extra-Terrestrial Relays” ซึ่งพิมพ์ในแม็กกาซีน Wireless World คล๊ากได้เสนอแนวคิดการสร้างดาวเทียม สำหรับส่งสัญญาณวิทยุและสัญญาณโทรทัศน์ไปทั่วโลก  ซึ่งใช้เวลาอีกกว่า 2 ทศวรรษกว่าที่แนวคิดของคล๊ากจะเป็นจริง

1946 หลังสงครามเขาได้รับทุนให้เข้าเรียนที่คิงคอลเลจ (King’s College) และได้รับตำแหน่งประธานของ British Interplanetry Society

1948 จบปริญญาตรีทางด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์  หลังจากนั้นก็ได้งานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการของหนนังสือแม็กกาซีน Science Abstracts 

1950 เขียน Interplanetary Flight เป็นผลงานเขียนแนวสารคดีชิ้นแรก

1951 เขียนนิยายเรื่องแรก Prelude to Space เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปดวงจันทร์

1953 ผลงานวนิยายเรื่อง Childhood’s End เป็นผลงานนิยายวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของคล๊าก ซึ่งเกี่ยวกับการที่มนุษย์ได้พบกับมนุษย์ต่างดาว

แต่งงานกับมาริลิน เมย์ฟิล์ด (Marilyn Mayfield) หญิงสาววัย 22 ปี ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้ว แต่ว่าการชีวิตคู่ของคล๊ากกับภรรยามีเพียงแค่หกเดือน ทั้งคู่ก็แยกทางกัน ก่อนจะหย่ากันอย่างเป็นทางการในปี 1964

1956 ย้ายมาอยู่ที่ศรีลังกา เพราะว่าหลงไหลในการการดำน้ำและโลกใต้ทะเล ซึ่งระหว่างการออกไปดำน้ำของคล๊าก และไมค์ วิลสัน (Mike Wilson) เพื่อนของเขาที่เป็นช่างภาพ ค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญ โดยได้ค้นพบซากอาคารและศิลปะวัตถุของวิหารโกเนสวาราม (Koneswaram Temple) 

ได้รับรางวัล Hugo Award จากผลงานเรื่องสั้น The Star

1961 ได้รับรางวัล Kalinga Prize จากยูเนสโก้ (UNESCO) 

1962 ตรวจพบว่าติดเชื้อโปลิโอ

1968 ร่วมกับสแตนลีย์ คูบริคก์ (Stanley Kubrick) เขียนบทภาพยนต์ 2001: A Space Odyssey ซึ่งทำให้ทั้งคล๊ากและสแตนลีย์ได้รับรางวัลออสการ์ (Academy Award) ร่วมกัน

1973 มีผลงานเขียนนิยาย Rendezvous With Rama ซึ่งได้รับรางวัล Hugo Award และ Nebula 

1983 ก่อตั้ง Arthur C. Clarke Foundation มูลนิธิของเขาเองเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและใช้เทคโนโลยี

1984 เขียนอัตชีวประวัติ Ascent to Orbit

1988 เกิดอาการป่วยโดยกลุ่มอาการหลังการติดเชื้อโปลิโอ (post polio syndrome) ทำให้คล๊ากเดินไม่สะดวกและต้องใช้รถเข็น 

1989 เขียนอัตชีวประวัติ Astounding Days

ได้รับพระราชทานเหรียญ Commander Order of the British Empire (CBE) จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ

1998 ได้รับยศอัศวิน

2005 ได้รับรางวัล Sri Lankabhimanya ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดที่ศรีลังกามอบให้กับพลเรือน

2008 19 มีนาคม, เสียชีวิตจากอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

อัษฐิของคล๊ากถูกนำไปฝังร่วมกับเลสลีย์ อีคาเนเยก (Leslie Ekanayake) หญิงชาวศรีลังกา ซึ่งคล๊ากยกย่องว่าป็นเพื่อนที่ดีที่สุดในชีวิต ทั้งคู่ไม่ได้แต่งงานกันอย่างเป็นทางการ และเลสลีย์เสียชีวิตไปก่อนคล๊ากกว่า 30 ปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!