แผนกป้องกันโรคระบาดและหน่วยกรองน้ำ (The Epidemic Prevention and Water Purification Department, 関東軍防疫給水部本部) ของกองทัพกวันตง (Kwantung Army, 关东军) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ แมนจูเรีย เลขที่ 731 (Manchurian Unit No.731) หรือเรียกโดยย่อว่า หน่วย 731 (Unit 731)
ยูนิต 731 นี้ตั้งขึ้นในปี 1935 ในหมู่บ้านปิงฝาง (Pingfang) ชานเมืองฮาบิน (Harbin) ในแมนจูเรียกัว (Manchukuo) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้การครอบครองของญีปุ่น
หน้าที่ของ ยูนิต 731 นี้ไม่ใช่การป้องกันโรคระบาดและกรองน้ำอย่างชื่อที่ใช้บังหน้า แต่อันที่จริงเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัยอาวุธชีวภาพให้กับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นภาระกิจที่ได้รับสืบทอดมาจากค่ายจงหม่า (Zhongma Fortress) เดิมซึ่งอยู่ในเมืองฮาบินเช่นกัน ค่ายจงหม่าถูกปิดและทำลายทิ้งไปเพราะว่านักโทษที่ใช้ในการทดลองสามารถปีนหนีออกมาจากที่คุมขังได้ และข้อมูลรั่วไหลสู่สาธารณะ ทำให้ญี่ปุ่นต้องมีการสร้างสถานที่ใหม่ที่มีความมั่นคงกว่าเดิม การทดลองที่ค่ายจงหม่านี้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลชิโระ อิชิอิ (Shiro Ishii, 石井 四郎) ซึ่งเป็นแพทย์ทหารและเป็นนักจุลชีวะ ซึ่งชิโระ อิชิอิ หลังจากทำลายค่ายจงหม่าแล่้ว เขาก็ยังเป็นผู้รับผิดชอบยูนิต 731 อยู่เช่นเดิม
สำดับเหตุกาณ์สำคัญ
1925 ญี่ปุ่นให้การรับรองสนธิสัญญาเจนีกว่า (Geneva Convention) ซึ่งห้ามการใช้อาววุธชีวภาพและอาวุธเคมีในสงคราม
1931 18 กันยายน, (Manchuria Incident) เหตุการณ์การวางระเบิดรางรถไฟในแมนจูเรียระหว่างสถานีเวนกวนตัน (Wen-kuan-tun station) กับสถานีมุกเดน (Mukden station) เป็นเหมือนสัญญาณเริ่มต้นการรุกรานจีนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้สามวัน ญี่ปุ่นก็ได้ยกกองทัพจากเกาหลีเข้ามารุกรานจีน และญี่ปุ่นก็ใช้เวลาประมาณสามเดือนจึงสามารถยึดเอาดินแดนแมนจูเรียมาจากจีนได้
หลังจากยึดแมนจูเรียได้ ญี่ปุ่นก็ได้ประกาศตั้งประเทศใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า แมนจูกั๊วะ (Manchukuo) โดยตั้งฟู ยี (Henry Pu Yi) ซึ่งเป็นอดีตจักรพรรดิของจีน ตั้งแต่ปี 1912 มาเป็นหุ่นเชิดในการบริหารแมนจูกั๊วะ
ในช่วงเวลาเดียวกันกับการตั้งแมนจูกั๊วะขึ้นมา, ที่ญี่ปุ่นนายพลชิโระ อิชิอิ ก็ได้สร้างห้องทดลองชีวภาพขึ้นมาภายในโรงพยาบาลของกองทัพในกรุงโตเกียว
1932 นายพลชิโระ อิชิอิ ได้ขอย้ายจากญี่ปุ่นมาอยู่ในแมนจูกั๊วะ และเขาได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีกลาโหม ซาดาโอะ อะรากิ (Sadao Araki) ให้เป็นผู้รับผิดชอบหน่วยงานวิจัยป้องกันโรคระบาดของกองทัพ (Army Epidemic Prevention Research Laboratory, AERPL) ซึ่งนายพลชิโระ อิชิอิ ก็ได้ตั้งหน่วยที่ทำการวิจัยลับๆ ขึ้นมา ชื่อว่าหน่วยทาโกะ (Tōgō Unit) เพื่อวิจัยอาวุธเคมีและชีวภาพ
ซึ่งหลังจากญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานประเทศจีนและยึดของแมนจูเรียทางตะวันออกเอาไว้แล้ว หน่วยทาโกะของนายพลชิโระ อิชิอิ ก็ได้เข้ามาตั้งศูนย์วิจัยอย่างลับๆ ที่ค่ายจงหม่า ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านไบ๋ยินเหอ (Beiyinhe) ห่างจากศุนย์กลางของเมืองฮาบินไปทางใต้ราวหนึ่งร้อยกิโลเมตร ซึ่งในเวลานั้นในหมู่บ้านมีประชาชนอาศัยอยู่ราว 300 หลังคาเรือน แต่ว่าบ้านของชาวจีนเหล่านั้นถูกทหารญี่ปุ่นระเบิดและเผาทำล้ายทิ้งจนหมดเพื่อที่จะสร้างศูนย์วิจัยลับนี้ขึ้นมา
ค่ายจงหม่านี้จะล้อมรอบไปด้วยกำแผงที่สูงสามเมตรโดยรอบ และกำแพงด้านตะวันออกจะมีลวดหนามไฟฟ้าและสระน้ำ ภายในจะมีห้องหลายร้อยห้อง มีค่ายทหาร ห้องขังนักโทษ ที่เผาศพ และคลังระเบิด ค่ายแห่งนี้ถูกสร้างโดยนักโทษที่ญี่ปุ่นจับมา ระหว่างการก่อสร้างพวกเขาจะถูกปิดตาเพื่อไม่ให้เห็นว่ากำลังสร้างอะไร และหลังจากการก่อสร้างเสร็จ นักโทษก็ถูกสังหารทิ้งเพื่อปกปิดความลับ
ที่ศูนย์วิจัยในค่ายจงหม่านี้ มีนักโทษหลายพันคนถูกจับมาเป็นเหยื่อในการทดลอง โดยนักโทษส่วนใหญ่เป็นชาวจีนที่ต่อต้านการถูกปกครองโดยญี่ปุ่น ซึ่งนักโทษเหล่านี้จะถูกจับมาโดยตำรวจทหารของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า เคนเปไต (Kenpeitai, 憲兵隊) ซึ่งในตอนแรกพวกนักโทษจะได้รับการดูแลอย่างดีให้มีร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ก่อนที่จะถูกนำไปวิจัยโดยวิธีการต่างๆ อาทิ การฉีดแบคทีเรีย เชื้อโรคต่างๆ เข้าไปในร่างกาย การถูกจับมาผ่าตัด ตัดแขนตัดขาเพื่อศึกษาการทำงานของลำไส้ ระบบการย่อยอาหารและการไหลของเลือด ผู้หญิงบางคนก็จะถูกข่มขืนให้ตั้งครรถ์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดของเชื้อโรคไปยังทารก
การวิจัยของนายพลชิโระ อิชิอิ นี้ส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากพันโทชิกาฮิโกะ โคอิซุมิ (Chikaiko Koizumi) ซึ่งเป็นอดีตนายทหารในสงครามโลก ครั้งที่ 1 ซึ่งเขาประทับใจกับการที่เยอรมันใช้ก๊าซคลอรีน (chlorine gas) ในการรบ ซึ่งสงครามโลก ครั้งที่ 1 เป็นครั้งแรกที่อาวุธเคมีถูกนำมาใช้ในสงคราม
1934 สิงหาคม, ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ นักโทษชื่อลี (Li) ได้ทำร้ายผู้คุมและขโมยกุญแจมา เขาจึงได้ช่วยเหลือเพื่อนนักโทษด้วยกันอีกราวสี่สิบคน ซึ่งนักโทษเหล่านั้นได้ปีนรั้วและทำลายรั้วไฟฟ้าของกำแพงและหลบหนีออกมา นักโทษบางส่วนถูกเคนเปไตยิงเสียชีวิตระหว่างที่หลบหนี ซึ่งคนที่สามารถหนีไปได้สำเร็จมีเพียง 16 คน
หลังเหตุการณ์นี้ทำให้นายพลชิโระ อิชิอิ ได้สั่งให้มีการทำลายค่ายจงหม่าทิ้ง เพื่อปกปิดความลับของงานวิจัยของญี่ปุ่น
ผู้ที่หลบหนึออกมาได้คนหนึ่ง คือ นายซีหยาง หวาง (Ziyang Wang)
1936 ยูนิต 731 ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ที่หมู่บ้านปิงฝาง เพื่อสานต่อภาระกิจวิจัยอาวุธชีวภาพและเคมีต่อเนื่องจากที่ค่ายจงหม่า โดยพระราชกฤษฏีกาของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Emperor Hirohito) ให้ขยายหน่วยงานให้ใหญ่ขึ้น และยูนิต 731 ได้ถูกรวบเข้าเป็นหน่วยงานหนึ่งของกองทัพกวันตง
นอกจากยูนิต 731 แล้ว ยังมีอีกสองหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นมา ได้แก่
1. ยูนิต 100 (Unit 100, Kwantung Army Military Horse Epidemic Prevention Workshop) ที่รับผิดชอบการวิจัยอาวุธชีวภาพโดยเฉาพะ
2. ยูนิต 516 (Unit 516, Kwantung Army Technical Testing Department) ที่รับผิดชอบการวิจัยอาวุธเคมี
ยูนิต 731 นี้ มีนักวิจัยทั้งแพทย์และนักวิทยาศาสตร์อยู่ราว 300 คน และเจ้าหน้าที่อื่นๆ อีกเกือบสี่พันคน พวกเขาเรียกชื่อหน่วยงานของตัวเอง เฮาคลาตซ์ (Holzklotz) ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า “ท่อนไม้” เพราะนักวิจัยจะเรียกนักโทษที่ถูกนำมาทดลองว่า ท่อนไม้ (log) หรือไม่ก็จะว่าเป็นลิงแมนจู, หรือลิงหางยาว
ยูนิต 731 เป็นแหล่งทดลองและผลิตอาวุธชีวภาพ อย่างระเบิดเชื้อกาฬโรค (bubonic plage), ไทฟอยด์ (thphold), พาราไซฟอยด์ (paratyphoid), อหิวาห์ (cholera), ฝีดาษ (smallpox), โบทูลิซึม (butolism), แอนแทร็กซ์ (anthrax), ซิฟิลิส(Syphilis) ซึ่งเชื้อเหล่านี้เมื่อเพาะขึ้นมา ก็จะนำไปใส่ใสพาหะอย่างเห็บ หรือหมัด แล้วนำไปโปรยใส่ชุมชนของศัตรูโดยใช้เครื่องบินที่บินด้วยความสูงต่ำ ซึ่งคือชาวจีนและรัสเซีย หรืออาจจะนำเชื้อโรคบรรจุเข้าไปในลูกระเบิด ที่ทำจากเซรามิค แล้วทิ้งลงไปในชุมชน
1937 กรกฏาคม, ญี่ปุ่นรุกรานประเทศจีนอีกเป็นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War) ซึ่งสงครามดำเนินไปจนกระทั้งญี่ปุ่นแพ้ในสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ในปี 1945 ซึ่งในช่วงสงครามโลกนี้ญี่ปุ่นก็ได้สร้างศูนย์วิจับอาวุธชีวภาพและเคมีขึ้นมาอีกหลายแห่ง อาทิ Unit 1855 ในปักปิ่ง, Unit Ei 1644 ในนานกิง ตั้งในปี 1939, Unit 8604 ในกวางโจว, Unit 9420 ในสิงคโปว์
ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมีการใช้อาวุธชีวภาพหลายคร้ง ในหลายเมืองของจีน อย่างกุโจว (Quzhou) นิงโบ (Ningbo) และชางเต๋อ (Changde)
1945 ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2 ศูนย์วิจัยอาวุธชีวภาพทั้งหมดจึงถูกปิดไป ยูนิต 731 หนึ่งนั้นนายพลชิโระ อิชิอิ ได้สั่งให้มีการทำลายเอกสารต่างๆ ทิ้งทั้งหมดก่อนที่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตจะบุกมาถึงในเดือนสิงหาคา
หลังสงครามสงบอเมริกาซึ่งเข้าปกครองญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลก กลับละเลยที่จะสอบสวยคดีอาชญากรสงครามและการใช้อาวุธชีวภาพของญี่ปุ่น เป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ มีโครงการลับคล้ายกับปฏิบัติการณ์เปเปอร์คลิ๊ป (Operation Pepeaclip) ที่ทำกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซีเยอรมัน โดยการนำเอาคนเหล่านั้นไปทำงานให้กับสหรัฐฯ แทน
ในตอนนั้นสหรัฐได้ส่งพันโทเมอร์เรย์ แซนเดอร์ (Lt.Col Murray Sanders) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธชีวภาพของกองทัพสหรัฐฯ เข้ามาสอบสวนการวิจัยอาวุธชีวภาพของญี่ปุ่น และเขาก็ได้ส่งรายงานให้กับนายพลดักกราส แม็กกาเธอร์ (Gen. Douglas MacArthur) ซึ่งแม็กอาเธอร์ก็เหมือนจะตั้งใจปล่อยให้ผู้เกี่ยวข้องกับอาชญกรรมเหล่านี้หลุดพ้นความผิดไปโดยไม่สอบสวนอย่างจริงจัง
1949 การพิพากษาคดีสงครามคาบารอฟส์ก (Khabarovsk War Crime Trials) สหภาพโซเวียตทำการพิพากษาอาชญากรสงคราม จากสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่เป็นสมาชิกของกองทัพกวานตง ซึ่งมีส่วนในการผลิตอาวุธเคมีและชีวภาพ ซึ่งในการพิพากษานี้ มีเจ้าหน้า 12 คนจาก 40 คนที่ถูกดำเนินคดีของกองทัพกวานตงถูกตัดสินว่ามีความผิด ซึ่งพวกเขาเป็นสมาชิก ยูนิต 731 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทิ้งระเบิดชีวภาพซึ่งบรรจุตัวหมัดลงในเมืองชางเต๋อ(Changde)
ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิด
- พลเอกโอโตโซ ยามาดะ (Gen. Otozo Yamada) ผู้บัญชาการกองทัพกวานตง, จำคุก 25 ปี
- พลโทคาจิตสุกะ เรียวจิ (Lt.Gen. Kajitsuka Ryuji) หัวหน้าหน่วยแพทย์ , จำคุก 25 ปี
- พลโท ตากาฮาชิ ตากาอัตสุ (Lt.Gen TAkahashi Takaatsy) จำคุก 25 ปี
- พลเอกคาวาชิมะ กิโยชิ (Maj.Gen Kawashima Kiyoshi) หัวหน้ายูนิต 731
- พลเอกซาโต ชุนจิ (Maj.Gen Sato Shunji) หัวหน้าหน่วยแพทย์ กองทัพที่ 5, จำคุก 20 ปี
- พันโทนิชิ โตชิฮิเดะ (Lt.Col Nishi Toshihide) เจ้าหน้าที่ในยูนิต 731, จำคุก 20 ปี
- ร้อยเอกคาราซาวะ โตมิโอะ (Maj.Karasawa Tomio) เจ้าหน้าในยูนิต 731, จำคุก 18 ปี
- สิบเอกมิโตโมะ คาซาโะ (Sr.Sgt. Mitomo Kazuo) เจ้าหน้าที่ในยูนิต 100, จำคุก 15 ปี
- ร้อยเอกโอนุเอะ มาซาโอะ (Maj.Onoue Masao) เจ้าหน้าที่ในยูนิต 731,จำคุก 12ปี
- ร้อยโทฮิราซษกุระ เซนซากุ (Lt.Hirazakura Zensaku) เจ้าหน้าที่ในยูนิต 100, จำคุก 10 ปี
- คารุชิมะ ยูจิ (Kurashima Yuji) เจ้าหน้าที่ในยูนิต 731, จำคุก 3 ปี
- สิบโทคิกุชิ โนริมิตสุ (Cpl.Kikuchi Norimitsu) เจ้าหน้าที่ในยูนิต 731, จำคุก 2 ปี
1950 สหภาพโซเวียต ตีพิมพ์คดีคาบารอฟส์ก ออกเป็นภาษาอังกฤษ ในชื่อ Trial of Former Servicemen of the Japanese Army Charged with Manufacturing and Employing Bacteriological Weapons
2001 สารคดี Japanses Devils (日本鬼子) โดยมิโนรุ มัตสุอิ (Minoru Matsui) ได้สัมภาษณ์สมาชิก 14 คนของยูนิต 731
2018 หอจดหมายเหตุแห่งชาติของญี่ปุ่น เปิดเผยรายชื่อสมาชิก 3,607 คนของยูนิต 731