Numquam prohibere somniantes
Alexandre Saint-Yves d’Alveydre
Alexandre Saint-Yves d’Alveydre

Alexandre Saint-Yves d’Alveydre

https://www.youtube.com/watch?v=VBkboRPe_ZE

อเล็กซานเดอร์ เซงดีส ดิเอลเวย์เดอ (Alexandre Saint-Yves d’Alveydre)

Synarchism

เซงดีส เกิดวันที่ 26 มีนาคม 1842 ในปารีส, ฝรั่งเศส พ่อของเขาเป็นจิตแพทย์ชื่อกิโยม (Guillaume-Alexandre Saint-Yves) เซงดีสเป็นลูกคนโตในพี่น้องทั้งหมดสามคน 

1863 ย้ายมาอยู่ในเจอร์ซีย์ และได้รู้จักกับวิคเตอร์ ฮูโก้ (Victor Hugo) 

1870 กลับมายังฝรั่งเศส และได้ร่วมรบในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War, 1870-1871) 

หลังจากสงครามยุติ เซงดีส ก็ได้เข้าทำงานราชการในกระทรวงมหาดไทย

1877 6 กันยายน, แต่งงานกับเคาน์เตสแมรี่ (Countess Marie Victorie de Riznitch-Keller) ซึ่งการแต่งงานนี้ทำให้เซงดีสราวกับหนูตกถังข้าวสาร ทำให้เขาสามารถที่จะทุ่มเทเวลาไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับ เหนือธรรมชาติ ตามความสนใจของเขาได้อย่างเต็มที

ตีพิมพ์ผลงานบทกวี ในชื่อ “Lyrical Testament” 

1879 เขียน “De l’utilité des algues marines” ซึ่งเซงดีสอธิบายการศึกษาและการสร้างโรงงานสำหรับผลิตสาหร่ายทะเลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ แต่ว่าตัวเขาเองขาดเงินทุนที่จะสร้างโรงงานขึ้นมา

1880 ได้รับยศเป็นมาร์กีสแห่งอัลเวย์ดี (Marquis of Alveydre)

1884 ตีพิมพ์ “Mission des Juifs” และไม่นานหลังจากหนังสือพิมพ์ออกมา เซงดีสก็ได้สนใจเรียนภาษาสันสฤต เพื่อที่จะได้อ่านเอกสารโบราณ

พิมพ์ “La France vraie” ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้อธิบายคำศัพท์ “Synarchy/ ไซนาร์คี” ซึ่งเขาอธิบายว่ามันหมายถึงรัฐบาลในอุดมคติ และยังเป็นคำที่ตรงข้ามกับอนาธิปไตย (anarychy) ซึ่งเป็นกระแสที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานรั้น เซงดีสมองว่าความร่วมมือกันระหว่างชนชั้นนั้นสำคัญกว่าความขัดแย้งระหว่างกัน โดยการปกครองแบบไซนาร์คีตามแนวคิดของเซงดีสมีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ส่วน หรือ 3 สภา คือ สภาเศรษฐกิจ, สภานิติบัญญัติ, และวิทยาศาสตร์

เข้าเป็นสมาชิกสมาคมลับโรสิครูเซียน (Rosicrucian) และฟรีเมสัน (Freemason)

1885 เซงดีสได้พบกับอาร์ดจิจ ชาริฟ (Hardjij Charipf)  ซึ่งซารีฟ นั้นเป็นชาวอินเดียว เกิดในปี 1838 แต่ว่าต้องออกจากอินเดียช่วงการประท้วงที่เปปอย (Sepoys Revolt) มาอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสโดยทำอาชีพขายนกและสอนภาษา แต่ภูมิหลังของซารีฟก็คลุมเครือ บางข้อมูลบอกว่าเขาเป็นเจ้าชาย บ้างบอกว่าเป็นชาวอัฟกานิสถาน

ซาริฟ นั้นได้มาทำหน้าที่เป็นครูสอนภาษาสันสฤตให้กับเซงดีส  ซึ่งระหว่างที่เรียนนั้นทำให้เซงดีสได้รับรู้เรื่องราวของดินแดนศักดิ์สิทธิลึกลับที่ชื่อว่าอะการ์ธ่า (Agartha) 

1886 เขีย Mission de I’Inde en Europe ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของอาณาจักรอะการ์ธ่า ดินแดนลึกลับซึ่งเชื่อว่าอยู่ใต้พิภพ  มีอายุอยู่ในช่วง 3,200 ปีก่อนคริสต์กาล เซงดีสยังอ้างด้วยว่าอะการ์ธ่าเป็นต้นแบบการปกครองแบบไซนาร์คี

แต่ว่าเซงดีสไม่นานหลังหนังสือพิมพ์ออกมา เซงดีสได้ทำลาย Mission de l’Inde en Europe ไปด้วยตัวเอง เพราะเขากังวลว่าจะเป็นการเอาความลับของดินแดนลับมาเปิดเผยมากเกินไป จะทำให้อันตรายตกแก่เพื่อนจากดินแดนตะวันออกของเขาด้วย เซงดีสจึงได้เผาหนังสือที่เขาเก็บเอาไว้ลงเสีย แต่ว่าฉบับที่ถูกพิมพ์ออกมานั้นเป็นฉบับที่เจอราร์ด  เอนคอส (Gérard Encausse) เพื่อนของเขาซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิมาร์ตินิสซึ่ม (Martinist Order)เก็บไว้แล้วพิมพ์ออกมาในปี 1910

1909 5 กุมภาพันธ์, เสียชีวิต

ผลงานเขียน

  • Thèse de Médecine , 1838.
  • Le Retour du Christ, 1874.
  • Les Clefs de l’Orient., 1877 
  • Testament lyrique, 1877
  • Le Mystère du Progrès, 1878.
  • De l’utilité des algues marines, 1879.
  • Mission des Souverains, 1882
  • Mission des Ouvriers, 1882
  • Mission des Juifs (Mission of the Jews) , 1884
  • Mission de l’Inde en Europe (Mission of India in Europe), 1886
  • Les Funérailles de Victor Hugo, 1885.
  • La France vraie ou la Mission des Français, 1887.
  • Vœux du syndicat de la Presse économique, 1887.
  • Les États-généraux du suffrage universel, 1888. 
  • Le Centenaire de 1789 – Sa conclusion, 1889.
  • L’Ordre économique dans l’Electorat et dans l’État, 1889.
  • Le Poème de la Reine, 1889.
  • Maternité royale et mariages royaux, 1889.
  • L’Empereur Alexandre III épopée russe, 1889.
  • Jeanne d’Arc victorieuse, 1890.
  • Théogonie des Patriarches., 1909
  • L’Archéomètre, 1910

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!