Numquam prohibere somniantes
Walter E. Dandy
Walter E. Dandy

Walter E. Dandy

วอลเตอร์ แดนดี้ (Walter E. Dandy)

เป็นหนึ่งในบิดาแห่งศัลยกรรมทางสมอง (founding fathers of nuerosurgery) ผู้ทำการผ่าตัด Hemispherectomy คนแรก เป็นผู้คิดค้นเทคนิค aneurysm clippingม discectomy, modern hydrocephalus therapy

วอลเตอร์ เกิดวันที่ 6 เมษายน 1886 ในเซดาเลีย, มิสซัวรี่ (Sedalia, Missouri)  เขาเป็นลูกคนเดียวของจอห์น แดนดี้ (John Dandy) ซึ่งเป็นผู้อพยพมาจากอังกฤษ และทำงานเป็นวิศวกรรถไฟ  และแม่ชื่อราเชล (Rachel Dandy) 

1903 วอลเตอร์จบจากโรงเรียนมัธยมซัมมิท (Summit High School) โดยที่เขาเป็นตัวแทนรุ่นในการกล่าวคำอำลา หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อแพทย์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมิสซัวรี่ (University of Missouri) 

ระหว่างเรียนเขาได้เป็นผู้ช่วยของ ดร.แจ็คสัน (Jackson) ในห้องปฏิบัติการณ์กายวิภาค และยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของกลุ่ม Phi Beta Kappa และกลุ่ม Sigma Xi

1907 จบจาก ม.มิสซัวรี่ และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนแพทย์ จอห์น ฮอฟกิ้นส์ (Johns Hopkins School of Medicine) ซึ่งเขาได้เข้าเรียนในฐานะนักศึกษาปี 2 เลย เพราะผลงานระหว่างอยู่ที่ ม.มิสซัวรี่ได้รับการยอมรับ

ระหว่างที่เรียนเขาได้ทำงานที่ห้องวิจัยของ ศาสตราจารย์ แฟลงคลินส์ มอลล์ (Franklin P. Mall) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเอ็มบริโอ้ (embryology) ซึ่งความสามารถในการผ่าวิเคราะห์ตัวอ่อนและการวาดภาพประกอบของวอลเตอร์ทำให้เขากลายเป็นที่รู้จักในฉายา “Dandy Embryo” 

1910 จบจากจอห์น ฮอฟกิ้นส์ และได้เข้าทำงานที่ห้องทดลองฮันเตอร์เรียน (Hunterian Laboratory of Experimetal Medicine) ของจอห์น ฮ๊อปกิ้น โดยเป็นผุ้ช่วยของฮาร์เวย์ คัสชิ้ง (Harvey W. Cushing) 

1911 มีบทความวิจัยร่วมกับ ดร.อีมิล (Dr.Emil Goetsch) เรื่อง “Blood Supply of the Pituitary Body” ซึ่งวอลเตอร์เป็นคนวาดภาพประกอบเองด้วย 

ได้รับปริญญาโททางศิลปะศาสตร์ จากผลงานที่เขาทำระหว่างอยู่ที่ห้องทดลองฮันเตอร์เรียน

หลังจากเรียนจบ เขาได้เข้าทำงานที่โรงพยาบาลจอห์น ฮ๊อปกิ้น  โดยยังคงเป็นผู้ช่วยของหมอคัสชิ้ง 

ช่วงปี 1911-1913 เขามีผลงานการวิจัยเกี่ยวกับระบบเลือดและระบบประสาทของต่อมพิทูอิตารี (pituitary gland) 

1912 3 มีนาคม, วอลเตอร์ ทำการผ่าตัดสมองเป็นครั้งแรก ให้คนไข้ซึ่งเป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษที่ป่วยเป็นโรคลมบ้าหมูแบบรุนแรง (severe epileptic)  ซึ่งกรณีนี้แม้แต่หมอคัสซิ้ง ก็บอกว่าไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่ว่าเขาอนุญาตให้วอลเตอร์ได้ลองผ่าตัดดู ซึ่งวอลเตอร์ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ในการเลาะเอาพังฝืดที่ติดอยู่กับสมองออก ซึ่งหลังการผ่าตัดและพักรักษาตัว คนไข้ก็ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

หลังจากเคสแรกผ่านไปแล้ว วอลเตอร์ได้ผ่าตัดสมองอีก 11 ครั้ง รวมถึงการผ่าตัดบริเวณต่อมพิทูอิตารี (pituitary gland) เป็นครั้งแรก ในวันที่ 13 กรกฏาคม 

ช่วงกลางปีหมอคัสชิ้งย้ายไปอยู่ที่ฮาร์วาร์ด ทำให้วอลเตอร์ ทำงานวิจัยร่วมกับเคนเนท แบล็คแฟน (Kenneth Blackfan) ซึ่งทั้งคู่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับ hydrocephalus (ของเหลวซึ่งคลั่งในสมอง ซึ่งมักเกิดขึ้นในเด็ก ทำให้กระโหลดผิดรูป) ซึ่งต่อมาทั้งคู่ได้พิมพ์รายงานการศึกษาออกมาสองเล่ม “An Experimental and Clinical Study of Internal Hydrocephalus.” และ Internal hydrocephalus: second paper.” ซึ่งระบุสาเหตุของโรค hydrocephalus ไว้ 26 สาเหตุ

1916 ได้รับแต่งตั้งจากวิลเลี่ยม ฮาลสเต็ด (William Stewart Halsted) ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกศัลยกรรมของจอห์น ฮ๊อฟกิ้น ให้เป็นหัวหน้าแพทย์เรซิเด้น และทำงานเป็นผู้ช่วยของเขา ซึ่งฮาลสเต็ด และวอลเตอร์ได้ช่วยกันพัฒนาเทคนิค Ventriculogpahy ขึ้นมา ซึ่งเป็นการใส่ก๊าซเข้าไปในร่างกายเพื่อช่วยให้ภาพถ่าย X-Ray มีความชัดเจนขึ้น

1919 คิดค้นเทคนิค Ventriculography อย่าง Pneumoencephalography ซึ่งเป็นการใส่ก๊าชเข้าไปในโพรงกระโหลก เพื่อช่วยให้ภาพถ่ายเอ็กซเรย์  เพื่อใช้ในการศึกษาโครงสร้างสมอง

1921 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรม  ช่วงปี 1920s วอลเตอร์ก็เริ่มศึกษาเกี่ยวกับโรคลมชัก (epilepsy)

1924 1 ตุลาคม, แต่งงานกับซาเดีย (Sadie Estelle Martin) ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันสี่คน ได้แก่ เอ็ดเวิร์ด (Edward Jr. , b.1925) แมรี่ (Mary Ellen, b.1927) แคทลีน (Kathleen Louise, b.1928) มาร์กาเร็ต (Margaret Martin, b.1935)

หลังการแต่งงานวอลเตอร์ เริ่มศึกษาเกี่ยวกับการวางยาสลบ (anesthesia) หลายหลายวิธี ซึ่งผลงานอย่างหนึ่ง คือยา Avertin (A German drug) ซึ่งเขาเริ่มใช้ในปี 1929    

1928 เขาทำการผ่าตัด Hemispherectomy เป็นคนแรกของสหรัฐฯ โดยมีการผ่าตัดให้กับคนไข้ห้าคน โดยเอาสมองสวนหน้าด้านขวาออก (right cerebral hemispheres) เพราะเกิดเนื้องอกในสมองชนิดหนึ่ง (cerebral gliomas)

1931 ได้รับตำแหน่งสาสตราจารย์ 

1937 ใช้เทคนิค surgical clipping (ligation) ในการรักษาเส้นเลือดสมองโป่งพอง (intracranial aneurysm) เป็นครั้งแรก

1946 19 เมษายน, เสียชีวิต จากอาการหัวใจวาย

2002 แมรี่ ลูกสาวของวอลเตอร์เขียน Walter Dandy : The Personal Side of a Premier Neurosurgeon 

ผลงานเขียน

  1. Benign Tumors in the Third Ventricle of the Brain – Diagnosis and Treatment (1933)
  2. Benign Encapsulated Tumors in the Lateral Ventricles of the Brain – Diagnosis and Treatment 1934)
  3. Orbital Tumors: Results Following the Transcranial Operative Attack (1944)
  4. Intracranial Arterial Aneurysms (1944)
  5. Surgery of the Brain (1945)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!