เด็กป่าแห่งอเวย์รอน (Wild Boy of Aveyron) ถูกพบภายในป่าในเซนต์-เซอร์นิน-เซอร์-แรนซ์ (Saint-Sernin-Sur-Rance) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสในปี 1800 ขณะนั้นเขามีอายุประมาณ 12 ปี ซึ่งคาดกันว่าเขาน่าจะอาศัยอยู่ในป่ามานานหลายปีแล้ว เพราะมีรายงานผู้พบเห็นเด็กคนนี้ในปี 1794 และในปี 1797 เด็กก็ถูกจับที่เมืองทาร์น (Tarn) และเอามาฝากให้กับหญิงม่ายคนหนึ่งเลี้ยงเอาไว้ แต่ว่าราวหนึ่งสัปดาห์เด็กก็สามารถหลบหนีกลับเข้าไปในป่าอีก
ในปี 1800 เด็กถูกชาวบ้านที่อเวย์รอนจับตัวเอาไว้ได้ ร่างกายของเด็กไม่ได้สวมอะไร เขายังพูดไม่ได้ ไม่กินอะไรนอกจากผัก เดินสี่ขาเหมือนสุนับ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเด็กหูหนวกและเป็นใบ้ด้วย ชาวบ้านจึงปฏิบัติกับเด็กคนนี้เหมือนกับสุนัข ล่ามเขาเอาไว้นอกบ้าน
ต่อมารัฐบาลท้องถิ่นได้ส่งเด็กให้ไปอยู่ในความดูแลของ โรเช่-แอมโบรส ซิเคิร์ด (Roche‐Ambroise Cucurron Sicard) ผู้อำนวยการของสถาบันคนหูหนวก-ตาบอก (Institute for Deaf-Mutes) ในเมืองพริส (Ppris) นอกจากนั้นคณะกรรมการที่นำโดยฟิลิปเป่ ไพน์ (Philippe Pine) นักจิตเวช ยังเข้ามาศึกษาเด็กคนนี้ด้วย พวกเขาพยายามสอนภาษาฝรั่งเศสพื้นฐานให้กับเด็ก ซึ่งเด็กมีสัญญาณที่ก้าวหน้าบ้าง แต่ก็ยังมีพฤติกรรมก้าวร้าว, ไฮเปอร์ และไม่แสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ต่อมาคณะกรรมการได้สรุปว่าเด็กคนนี้โง่มาก และไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้
แต่ว่าหมอหนุ่มวัย 25 ปีชื่อ ฌ็อง มาร์ค อิตาร์ด (Jean-Marc Gaspard Itar) ได้นำเด็กมาดูแล หมออิตาร์ดพยายามท้าทายบทสรุปของคณะกรรมการ
โดยหมอิตาร์ดตั้งชื่อให้กับเด็กคนนี้ว่าวิคเตอร์ (Victor)
หลังจากอยู่กับหมออิตาร์ดได้หกเดือน หมออิตาร์ดเห็นว่าวิคเตอร์มีพัฒนาการที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอีกเล็กน้อย และหมออิตาร์ดก็พยายามหาวิธีที่จะสอนให้วิคเตอร์ได้เรียนภาษาของมนุษย์ โดยหมออิตาร์ดและผู้ช่วยของเขา มาดามเกอริน (Madame Guerin) ได้เริ่มฝึกประสาทสัมผัสของวิคเตอร์ให้รู้จัก พื้นฐานทั่วๆ ไป เช่น ร้อน, หนาว, แห้ง, และชื้น และฝึกให้เขาสัมผัสกับมนุษย์คนอื่น พยายามสอนวิคเตอร์ให้อ่าน โดยเริ่มจากการแยกแยะรูปทรงต่างๆ สี่เหลื่ยม สามเหลี่ยม
1828 วิคเตอร์เสียชีวิตโดยสาเหตุที่ไม่แน่ชัด ซึ่งระหว่างอยู่ในการดูแลของหมออิตาร์ดยี่สิบกว่าปี วิคเตอร์สามารกออกเสียงบางคำได้ อย่าง lait (นม) และ Dieu (พระเจ้า) แต่ก็ไม่สามารถพูดได้ เขายอมรับกติกาบางอย่างของสังคม แต่ว่าก็ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับกฏระเบียบสังคมได้เหมือนคนยทั่วไป
Feral child,Feral man เป็นเทอมศัพท์ที่ใช้เรียกกรณีอย่างวิคเตอร์ ซึ่งหมายถึง เด็กที่เติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากการติดต่อกับสังคมมนุษย์ ไม่เข้าใจในภาษา วัฒนธรรม และธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม
เรื่องราวของวิคเตอร์ วิธีการที่หมออิตาร์ดใช้ในการสอนภาษาให้กับวิคเตอร์ ซึ่งหูหนวกและเป็นใบ้ เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักคิดนักเขียนมากมายในยุค The Enlightenment ของฝรั่งเศส ซึ่งพยายามตั้งคำถาม อย่าง อะไรที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ ? มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ?
และมีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้พิการทางการได้ยินและการพูดในเวลาต่อมา โดยเฉพาะ อีดูอาร์ด เซกิ้น (Edouard Seguin) ซึ่งเดินทางมาสหรัฐฯ ในปี 1848 ได้นำเอาเทคนิคของหมออิตาร์ด มาใช้สร้างโปรแกรมการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการทางการได้ยินและการพูด
รายงานเกี่ยวกับวิคเตอร์ซึ่งหมออิตาร์ดเขียน ยังมีอิทธิพลต่อมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessory) ที่ได้พัฒนาวิธีการฝึกสอนสำหรับเด็กปกติทั่วไปด้วย
1894 รุดยาร์ด คิปลิง (Rudyard Kipling) เขียนหนังสือเรื่องเมาคลี (The Jungle Book) เรื่องราวของเด็กน้อยที่ถูกเลี้ยงดูขี้นโดยหมาป่า โดยแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของวิคเตอร์ และของชีวิตวัยเด็กของเขาเองในอินเดีย
1963 ลูเซียน แมตสัน (Lucien Matson) เขียน “Les Enfants Sauvages” ซึ่งได้เขียนเล่าเกี่ยวกับกรณีของเด็กหลายๆ คนที่คล้ายกับวิคเตอร์ ซึ่งเติบโตขึ้นมาในป่าและห่างไกลจากสังคม
1970 วิคเตอร์ เป็นแรงบันดาลใจของนิยายเรื่อง The Wild Boy ซึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนต์ในฝรั่งเศสในปี 1970 ในชื่อ The Wild Child โดยฟรานเซียส ตรุฟฟอต (Francois Truffaut)
1976 ฮาร์แลน เลน (Harland Lane) ได้เขียนหนังสือ “The Wild Boy of Aveyron” ซึ่งเล่าเรื่องราวของวิคเตอร์ และพยายามวิเคราห์ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่จะทำให้มนุษย์ของเราปรับตัวเข้ากับสังคมและอะไรที่ไม่ , อะไรที่จะทำให้มนุษย์เรียนรู้ในการสื่อสาร และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พัฒนาการในเรียนรู้ของมนุษย์ช้าลง