Numquam prohibere somniantes
The Availability Heuristic
The Availability Heuristic

The Availability Heuristic

We aren’t good at estimating frequency, so we base it how available things are to our mind

พวกเราไม่ได้มีความสามารถดีขนาดนั้นประมาณความถี่, พวกเราแค่อาศัยสิ่งที่โผล่ขึ้นมาในหัวขณะนั้นในการตัดสิน

The Availability Heuristic (การหยิบความคิดที่โผล่ขึ้นมาในแว๊บแรกในการตัดสินใจ) เทอมศัพท์ถูกนิยามขึ้นในปี 1973 โดยนักจิตวิทยารางวัลโนเบล 2 ท่าน คือ เดเนียล คาห์เนมัน (Daniel Kahneman) และเอมอส ทเวอร์สกี้ (Amos Tversky)  ซึ่งได้เขียนไว้ในรายงานวิจัยเรื่อง “heuristic and biases (การดึงความทรงจำและทัศนะคติที่เอนเอียง)” 

พวกเขาบอกว่า Availability Heuristic เป็นเส้นทางลัด (short cut) ของความนึกคิด เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกโดยที่พวกคุณไม่รู้ตัว อาศัยหลักการที่ว่า 

“ คุณนึกถึงสิ่งใดตอนนั้น, สิ่งนั้นก็มีความสำคัญ / if you can think of it, it must be important ”

มันเหมือนกับว่า คุณนึกอะไรขึ้นมาได้ในหัวตอนนั้น คุณก็ใช้ความรู้นั้นในการประเมินสิ่งต่างๆ ,ตัดสิน,  ตอบคำถามต่างๆ 

ความคิดที่ปรากฏขึ้นมาในจิตใจของคุณอย่างง่ายดาย มันก็จะเป็นความเชื่อ มุมมองพื้นฐานที่คุณมีต่อโลกรอบตัวของคุณ

 Availability Heuristic บ่อยครั้งจึงทำให้มนุษย์เราตัดสินใจ หรือมีความคิดที่ผิดผลาด เพราะว่าพวกเราเร่งรีบที่จะตอบโต้อย่างรวดเร็วมากเกินไป โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดอย่างถี่ถ้วนและอาศัยข้อมูลอื่นนอกเหนือจากความเข้าใจเดิมที่เราจำได้

มนุษย์เราจึงมีแน้วโน้มที่ว่าจะตัดสินใจสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความถึ่ (frequency) ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ความคุ้นเคย ความเคยชินในการตัดสินใจ รวมถึงความสดใหม่ของข้อมูลที่เพิ่งผ่านเข้ามา ก็จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เพราะว่ามันชัดเจนกว่าความทรงจำเดิม

มนุษย์ที่อาศัย Availability Heuristic จึงมีแนวโน้มสูงที่จะผิดผลาดทางความคิด

Availability Heuristic มักทำให้เราเกิดการตัดสินใจที่ผิดผลาด (bad decisions) ตัวอย่างเช่น 

  1. เมื่อเราถูกบอกให้นึกถึงคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย R, แล้วเทียบกับคำศัพท์ที่ตัว R เป็นอักษรลำดับที่ 3 เรามักจะนึกคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย R เช่น  Rat, Red, Reason ได้มากกว่าคำศัพท์ที่ R อยู่ในลำดับที่ 3 เช่น Car, War, Survive  แล้วเราก็จะสรุปว่าคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย R นั้นมีจำนวนมากกว่าคำศัพท์ที่ R อยู่ในลำดับที่ 3 ซึ่งอันที่จริงแล้วศัพท์ในภาษาอังกฤษ ตัว R ในลำดับที่  3 มีจำนวนมากกว่า
  2. เมื่อคุณกำลังดูข่าวเกี่ยวกับการประท้วง ซึ่งหลายสื่อรายงานซ้ำๆ กัน และมีความถึ่สูง หรือเกิด แฮสแท็ก (#) ติดเทรนด์บนทวิตเตอร์ คุณจะมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าสถานการณ์นั้นวิกฤต  เพราะมนุษย์เรามีความเชื่อผิดๆ พวกเขาสามารถวิเคราะห์ โดยอาศัย สถิติ, ความถี่, และระยะเวลาของข้อมูลที่คุณเห็น คุณจะเชื่อว่าตัวคุณเองสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอันที่จริง คุณมีแนวโน้มจะเชื่อสิ่งที่คุณพบเห็นมาไม่นาน สิ่งที่คุณเคยเราให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นมากกว่าเหตุการณ์ในอดีต 
  3. เรามีแนวโน้มที่จะปฏิเสธข้อมูลที่เราไม่รู้มาก่อน เช่น คุณอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการเห็นพระอาทิตย์สอง หรือสามดวงพร้อมกัน แต่ว่าคุณจะปฏิเสธทันทีว่ามันเป็นข่าวปลอม เพราะคุณไม่เห็นพบเห็นเหตุการณ์นี้มาก่อน ซึ่งอันที่จริงแล้ว มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างหนึ่ง เรียกว่า Sun Dog

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!