Great Depression ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ เริ่มต้นเมื่อการตลาดหุ้นนิวยอร์ก ตกลงในวันที่ 24 ตุลาคม 1929 (Black Thursday) ซึ่งหุ้นร่วงไป 11 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 28 ตุลาคม, Black Monday ตลาดหุ้นดาวโจนส์ ร่วงต่ออีก 12.82%
วันที่ 29 ตุลาคม, Black Tuesday ตลาดหุ้นดาวโจนส์ ร่วงอีก 11.73% แม้ว่า วิลเลี่ยม ดูแลนต์ (william C. Durant) มหาเศรษฐีของสหรัฐฯ ได้ร่วมกับสมาชิกของตระกูลร๊อคกี้เฟลเลอร์ (Rockerfeller family) ได้เข้ามาแทรกแซงด้วยการซื้อหุ้นจำนวนมากแล้วก็ตาม (วิลเลี่ม ดูแลนด์ ต้องล้มละลายในปี 1936 จากการเข้าไปซื้อหุ้นครั้งนี้)
1929-1933 เป็นช่วงที่สหรัฐฯ เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เมื่อผลผลิตอุตสาหกรรมลดลง 1 ใน 3 และราคาสินค้าต่างๆ ก็ลดลง 20% และการว่างงานก็เพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ 25% คนงานราว 13 ล้านคนที่ต้องว่างงาน ในขณะที่แรงงานที่ยังมีงานทำอยู่ 1 ใน 3 ถูกจ้างงานในลักษณะของแรงงานพาร์ทไทม์
ในขณะนั้นไม่มีระบบประกันสังคม, ไม่มีสถาบันประกันเงินฝาก เมื่อธนาคารถูกปิด เงินที่ลูกค้าฝากไว้ก็จะเสียไป ในขณะที่แรงงานที่ตกงานก็จะไม่ได้รับเงินชดเชยจากการว่างงาน
ในปี 1932 ผลผลิตทางอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ หายไปประมาณครึ่งหนึ่ง
ด้านการเกษตรของสหรัฐฯ ก็เผชิญกับปัญหาสภาพอากาศครั้งใหญ่ จากพายุฝุ่น (Dust Bowl) ที่บริเวณเกรทเพลน (Great Plains) ซึ่งเป็นพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิซซิปปี้ (Mississippi) ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรสำคัญของสหรัฐฯ ทั้งราคาสิ้นค้าทางการเกษตรก็ตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่สงครามกลางเมือง (Civil war) เป็นต้นมา แรงงานในเขตเกรทเพลน กว่า 800,000 คน ซึ่งถูกเรียกว่า “Okies” ต้องออกจากบริเวณของรัฐมิซซัวรี, โอกลาโฮม่า, เท็กซัส, อาร์คันซัส เพื่อไปหางานอื่นทำในแคลิฟอร์เนีย
New Deal เป็นชุดมาตรการและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวล์ต (Franklin D. Roosevelt) ในระหว่างปี 1933-1939 เพื่อบรรเทา, ฟื้นฟู และปฏิรูป (Relief, Reform, Recovery) หรือ “R’s” เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ (Great Depression)
1932 2 กรกฏาคม, ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในการรับตำแหน่งเป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครต (Democrat party) เพื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี รูสเวล์ต ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมีนโยบายใหม่สำหรับประชาชน
พฤศจิกายน, รูสเวลต์ได้รับชัยชนะในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เหนือประธานาธิบดีวู๊ดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ซึ่งทันที่ที่ชนะ รูสเวลต์ประกาศยึดมั่นสัญญาว่าจำดำเนินนโยบาย New Deal
1933 4 มีนาคม, รูสต์เวลต์เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ “Fear Itself” ซึ่งประโยคแรกได้กล่าวว่า “สิ่งเดียวที่พวกเราต้องกลัว.. คือความกลัวในตัวเอง / the only thing we have to fear is…fear itself “
7 มีนาคม, ประธานาธิบดีรูสต์เวล์ต เรียกประชุมรัฐมนตรี รัฐมนตรีครั้ง วิลเลี่ยม วูดิน (William woodin) ได้รับคำสั่งให้ไปร่างแผนการธนาคารฉุกเฉิน
ช่วงแรกของนโยบาย New Deal (First New Deal, 1933-1934)
มาครการ New Deal ถูกทยอยออกมาในช่วง 100 วันแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของรูสเวลต์ จนถุกเรียกว่าเป็น Hundred Days
กฏหมาย
- Emergency Banking Act
กฏหมายมีผลในวันที่ 9 มีนาคม 1933 , 3 วันหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ประกาศให้ธนาคารทั่วประเทศหยุดทำการเป็นเวลา 8 วัน เพื่อป้องกันธนาคารล้มจากการที่ประชาชนแห่ไปถอนเงินฝากออกมา กฏหมายนี้อนุญาตให้ธนาคารกลาง สามารถพิมพ์เงินไม่จำกัดเพื่อไปอุ้มธนาคารพาณิชย์ และรับประกันเงินฝาก 100%
- Civilian Conservation Corps (CCC)
ตั้งขึ้น 21 มีนาคม ทำหน้าบรรเทาภาวะการว้างงาน โดย CCC จะว่าจ้างาคนหนุ่มสาว อายุ 18-25 ปี มาทำงานในโครงการต่าง ๆ ซึ่งปีหนึ่งๆ CCC จ้างงานราว 3 แสนคน โดบได้เงินเดือน 30 เหรียญ โดยแรงงานหนุ่มสาวถูกส่งไปทำงานในแคมป์ที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
- 1933 Banking Act
- สถาบันประกันเงินฝาก (Federal Deposit Insusrance Corporation) ถูกตั้งขึ้นมาในวันที่ 16 มิถุนายน ตามกฏหมายนี้ เพื่อรับประกันเงินฝากในสถาบันการเงินที่ไม่เกิน 5,000 เหรียญ
- Securities Act of 1933
- คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange commision) ก่อตั้งในเดือนมิถุนายน 1934 ตามกฏหมายนี้ เพื่อกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ให้มีความโปร่งใส และประชาชนต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเพียงพอก่อนที่จะลงทุน
- Federal Emergency Relief Administration (FERA)
FERA ตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1933 เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บรรเทาปัญหาการว่างงานในช่วงแรกของ New Deal ซึ่ง FERA ก่อนที่จะถูกยุบไปในปี 1934 ได้มีการจ้างแรงงานกว่า 20 ล้านคน ทั่วประเทศ
- Civil Works Administration (CWA)
CWA เป็นการจ้างแรงงานในระยะสั้น (Make-work job) ภายใต้การควบคุมของ FERA ซึ่ง CWA มีการจ้างงานแรงงานราว 4.3 ล้านคน
- National Industrial Recovery Act (NIRIA)
กฏหมายมีผลเมื่อ 16 มิถุนายน 1933 , กฏหมายนี้ให้อำนาจประธานาธิบดีในการเข้าไปตรวจสอบสภาวะการจ้างงานาในอุตสาหกรรมต่างๆ ว่ามีการจ้างงานที่เหมาะสม เช่น ค่าแรง, ระยะเวลาทำงานเป็นธรรมหรือไม่
- National Recovery Administration (NRA) ถูกตั้งขึ้นมาตามกฏหมายนี้
แต่ว่าในเดือนมิถุนายน 1935 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่ากฏหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้กฏหมายและ NRA ถูกยกเลิกไป
- Agricultural Adjustment Act (AAA)
กฏหมายการปรับเปลี่ยนทางเกษตรกรรม หรือ AAA นี้เป็นการอุดหนุนราคาสินค้าทางการเกษตรโดยการให้เงินชดเชย ในการจูงใจให้เกษตรกรลดการผลิตลง หรือเก็บผลผลิตเอาไว้ในโกดัง เพื่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้าในตลาด และดันให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น โครงการตาม AAA นี้ถูกยกเลิกไปในปี 1936
ช่วงที่สอง ของนโยบาบ New Deal (Second New Deal ,1935-1936)
กฏหมาย
- Works Progress Administration (WPA)
ก่อตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม 1935 , WPA เป็นองค์กรหลังในการบรรเทาสภาวะการว่างงาน ที่มีบทบาทสำคัญในช่วงที่ 2 ของ New Deal ซึ่งมุ่งเน้นการจ้างงานมากกว่าการให้เงิน โดย WPA ดำเนินโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่ทั้่วประเทศ อย่างการสร้างถนน 1 ล้านกิโลเมตร สะพาน 10,000 แห่ง สนามบิน และอาคารสาธารณะ ซึ่งตลอดอายุของ WPA มีการจ้างแรงงานกว่า 8.5 ล้านคน นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมย่อยของ WPA ที่เรียกว่า Federal Project Number One ที่มีการว่างจ้างแรงงาานในกลุ่มนักเขียน (the Federal Writers Project และTheHistorical Records Survey) , นักดนตรี (The Fedreal Music Project), นักศิลปะ (the Federal Art Project), ผู้คนในอุตสาหกรรมภาพยนต์ (Federal Theatre Project), WPA ถูกยกเลิกไปในปี 1943
- National Labor Relations Act
กฏหมายมีผลในวันที่ 6 กรกฏาคม 1935 ซึ่งเป็นกฏหมายที่ประกันสิทธิของแรงงานสหรัฐฯ สิทธิในการตั้งสหภาพ การนัดหยุดงาน และการต่อรองค่าจ้างแรงงาน
- Social Security Act
ประกาศเป็นกฏหมายเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1935 ซึ่งเป็นกฏหมายที่สร้างระบบประกันสังคมขึ้นมา ซึ่งมีมีการจ่ายเงินบำนาญหลังเกษียณอายุ 65 ปีให้กับประชาชน มีประกันสังคมสำหรับคนพิการและผู้ถูกยกเลิกจ้าง