บรูโน่ ริซซี่ (Bruno Rizzi)
ผู้เขียน La Bureaucratisation du Monde (Bureaucratization of the World)
บรูโน่ เกิดวันที่ 20 มีนาคม 1901 ในป๊อกจิโอ รัสโค (Poggio Rusco) อิตาลี
1918 เข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมอิตาลี (Italian Socialist Party)
1921 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี (Communist Party of Italy)
1930 ลาออกจากพรรคคอมมิวนิสต์
1939 หนีไปยังฝรั่งเศส ในช่วงที่ฟาสซิสต์เรืองอำนาจในประเทศ และได้ใช้ทุนส่วนตัวพิมพ์หนังสือ Bureaucratization of the World ในปารีส ซึ่งหนังสือของเขาโจมตีสหภาพโซเวียตในยุคของสตาลิน (Joseph Stalin) ว่าไม่ใช่ทั้งระบบทุนนิยมหรือว่าสังคมนิยม แต่บรูโน่เรียกระบบของโซเวียตว่าเป็น “bereaucratic collectivism” ซึ่งเขามองว่าสหภาพโซเวียตถูกปกครองโดยชนชั้นใหม่ นั้นคือ กลุ่มที่เป็นสมาชิกของพรรคและกลุ่มนักอุตสาหกรรม ซึ่งคนเหล่านั้นก็ต่างกดขี่แรงงานไม่ต่างกับที่ระบบทุนนิยมทำเลย ทั้งยังคล้ายกับนาซีในเยอรมัน หรือฟาสซิสต์ในอิตาลีและสเปนด้วย
นอกเหนือจากนั้นเขายังมองสหรัฐอเมริกา ในช่วงนโยบาย New Deal ของรูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ว่าก็ไม่แตกต่างกันที่ชนชั้นปกครองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและผู้บริหารบริษัทต่างๆ ก็กำลังทำให้แรงงานกลายเป็นทาสในยุคใหม่ เขาบอกว่ามันเป็นกำเนิดของปีศาจของโลกใหม่ (A monstrous new world)
ทร็อตสกี้ (Leon Trotsky) ได้อ่าน Bureaucratization of the World ของบรูโน่ และได้เขียนติหนิแนวคิดของบรูโน่ ลงใน TheNew International โดยปกป้องว่าสตาลินเป็นแค่ช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ไร้ชนชั้นอย่างแท้จริง
1940 เมื่อฝรั่งเศสยอมแพ้ให้กับเยอรมัน ในช่วงต้นสงครามโลก ครั้งที่ 2 บรูโน่ก็ได้ตีพิมพ์แผ่นพับ Écoute Citoyen! (“Listen, Citizen!”) ซึ่งเขาเน้นย้ำแนวคิดเดิมก่อนหน้านี้
1943 หลังสงคราม เดินทางกลับอิตาลี แต่ว่าเลือกใช้ชีวิตอย่างสงบ โดยทำงานเป็นช่างทำรองเท้า แต่มีการเขียบบทความลงพิมพ์ในนิตยสารบ้างบางคร้ง
1977 13 มกราคม, เสียชีวิตในบุสโซเลนโก้ (Bussolengo)
ผลงานเขียน
- Where is the USSR ?, 1937
- We are in the Twilight of Civilization ?, 1937
- The Bureaucratization of the World, 1937
- Socialism from religion to science, 1947
- The Lesson of Stalinism, 1962
- The Collectivism and Bureaucratic, 1969