Numquam prohibere somniantes
Simon de La Loubère
Simon de La Loubère

Simon de La Loubère

ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère)

ผู้เขียน  Du Royaume de Siam (The Kingdom of Siam)

ซีมง เกิดวนที่ 21 เมษายน 1642 ในตูลูซ (Toulouse, France) ฝรั่งเศส 

เขาจบด้านกฏหมายจากวิทยาลัยในปารีส หลังจากนั้นได้เดินทางไปทำงานเป็นเลขานุการของสถานทูตฝรั่งเศสประจำสวิสฯ 

1687 หลุยส์ ที่ 14 (Louise 14) ได้ส่งซีมง มาเป็นทูตเยือนสยาม ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนาราย (King Narai, 1629-1688) โดยหวังที่จะเปลี่ยนให้สยามเปลี่ยนมานับถือคริสต์ โดยที่กองเรือที่ฝรั่งเศสส่งมานั้นมีทั้งหมด 5 ลำ 

ตุลาคม, เรือของเขามาถึงยังกรุงเทพฯ และได้รับการตอนรับโดย ออกขุน ชำนาน ใจจง (Ok-Khun Chamnan Chaichong

1688 3 มกราคม, เดอ ลา ลูแบร์ เดินทางกลับฝรั่งเศส โดยเรือ Gaillard  พร้อมกันนี้สมเด็จพระนาราย ได้ส่ง ออกขุน ชำนาน ไปเป็นทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรับ กับฝรั่งเศส และเข้าเฝ้าหลุยส์ ที่ 14 ด้วย ซึ่งในคณะทูตจากสยาม มี กาย ตาชาร์ด (Guy Tachard) บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในสยาม ได้ร่วมคณะไปด้วย

1691 ซึ่งเมื่อไปถึงฝรั่งเศส เดอ ลา ลูแบร์ ได้เขียนหนังสือ Du Royaume de Siam (the Kingdom of Siam) ออกมาตามรับสั่งของหลุยส์ ที่ 14 

1693 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ France Academy , ปีเดียวกันนี้ Du Royaume de Siam ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 เล่ม และพิมพ์ออกมาในชื่อ A New Historical Relation of the Kingdom of Siam

The Kingdom of Siam นอกจากมีนัยยะสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสยามแล้ว ยังมีเทคนิคณิตศาสตร์พิเศษที่ถูกเรียกว่า Siamese Method ซึ่งเป็นวิธีการสร้าง Magic Square   (ตารางสี่เหลี่ยมที่ตัวเลขในแนวนอนและแนวตั้งทุกแถวและคอลัมน์จะบวกได้เท่ากันทุกแถว)

The Durion, in Siamese Tourrion, which is a Fruit very much esteem’d in the Indies, appear’d insupportable to me for its ill smell. This Fruit is of the size of our Melons cover’d with a prickly Coat like our Chestnuts. It has also, like the Jacques, several stones, but as big as Eggs, in which is contained what they eat, in the inside of which there is also another stone. The fewer there is of these stones in a Durion, the more pleasant the Fruit is. There never is less than three.

“ดุเรียน”, สยามเรียก “ทุเรียน”  , เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ราษฏร์ แต่ฉันไม่อาจจะทนกลิ่นรุนแรงของมันได้ ผลไม้ชนิดนี้มีขนาดราวลูกเมล่อน เปลือกปกคลุมด้วยหนามแหลมคล้ายเชสต์นัท หรือไม่ก็ขนุน ด้านในมีหลายเม็ด ที่มีขนาดเท่าไข่ ซึ่งเป็นส่วนที่พวกเขากินกัน, และข้างในนั้นยังมีเม็ดอยู่อีกชั้น  ซึ่งยิ่งเม็ดด้านในลีบเท่าไหร่ ดุเรียน นั้นก็จัดเป็นดุเรียนชั้นดีเท่านั้น ซึ่งมันมักจะมีเม็ดไม่น้อยกว่าสามอัน

The Mango, in Siamese Ma-mouan, participates at first of the taste of the Peach

แมงโก้, สยามเรียก “มะม่วง” รสชาติแรกที่นึกถึงคือลูกพีช

1694 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ Académie des Inscriptions et Belles-Lettres

1729 26 มีนาคม, เสียชีวิตในมองเตสกิว-วิลเวส (Montesquieu-Volvestre)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!