Numquam prohibere somniantes
Eugene Wigner
Eugene Wigner

Eugene Wigner

ยูจีน วิกเนอร์ (Eugene Paul Wigner)

Noble Physics 1963

ยูจีน เกิดวันที่ 17 พฤศจิกายน 1902 ในบูดาเปสต์, ออสเตรีย-ฮังการี (Budapest, Austria-Hungary) ครอบครัวของเขาเป็นยิว พ่อชื่อแอนโธนี (Anthony Wigner) และแม่ชื่ออลิซาเบธ (Elisabeth Einhorn)  ครอบครัวของเขาเป็นชนชั้นกลางที่มีฐานะปานกลาง ทำธุรกิจย้อมสีหนัง ยูจีนมีพี่สาวคนหนึ่งชื่อเบอร์ธ่า (Bertha) และน้องสาวชื่อมาร์จิท (Margit) ซึ่งภายหลังมาร์จิทแต่งงานเป็นภรรยาของพอล ดิเรก (Paul Dirac)

ยูจีนเรียนหนังสืออยู่กับบ้านจนอายุ 9  ขวบ ก่อนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ ตอน ม. 3 

1915 เข้าเรยีนที่โรงเรียนมัธยมฟาโซรี (Fasori Gimnázium) ซึ่งจอห์น นิวแมนน์ (John von Neumann) ก็เรียนที่โรงเรียนแห่งนี้แต่เป็นรุ่นน้องของยูจีนอยู่ปีหนึ่ง

1919 ช่วงที่มีการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในฮังการี โดยเบลา คุน (Bela Kun) ทำให้ยูนีนต้องหนีออกจากประเทศไปอยู่ในออสเตรีย ก่อนที่ไม่นานรัฐบาลของคุนก็ล้มลง ยูจีนถึงได้เดินทางกลับฮังการี แต่ว่าครอบครัวของเขาได้เปลี่ยนศาสนาจากยูดายไปเป็นลูเธอรัน (Lutheranism) หลังจากกลับมาเพราะกระแสการต่อต้านยิวหลังความวุ่นวายทางวการเมืองมีมากขึ้น

1920 เมื่อจบมัธยมปลายเขาก็สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโน-วิทยาศาสตร์บูดาเปสต์ (Budapest University of Technical Sciences) 

1921 ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเบอร์ลิน (Technical University of Berlin) ทางด้านวิศวะฯ เคมี ซึ่งระหว่างที่เรียนหนังสือเขาก็จะเข้าร่วมกลุ่มบ่ายวันพุธกับสมาคมฟิสิกส์ (German Physical Society)  ซึ่งมีสมาชิกอย่างแพลงค์ (Max Planck), ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg), พอลลี (Wolfgang Pauli) ด้วย 

1926 หลังจากเรียนจบได้เข้าทำงานที่สถาบันเคมีฟิสิกส์ไกเซอร์ วิลเฮมล์ (Kaiser Wilhelm Institute for Physical Chemistry and Electrochemistry) ซึ่งที่นี่เขาได้พบกับไมเคิ้ล โพลันยี (Michael Polanyi) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สำคัญของเขาอีกคน

1927 เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยก๊อตตินเก้น (University of Göttingen) ซึ่งระหว่างอยู่ที่นี่เขาได้ Wigner D-matrix 

1930 ได้รับการว่าจ้างให้มาสอนที่มหาวิทยาลัยพริ้นตัน (Princeton University) พร้อมกับนูแมนน์ (von Neumann) จนเมื่อฮิตเลอร์มีอำนาจในเยอรมันช่วง ปี 1933 ทำให้ยูจีนตัดสินใจอยู่ในสหรัฐฯ เป็นการถาวร

1936 ย้ายมาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin) ซึ่งที่นี่เขาได้พบรักกับอเมเรีย (Amelia Frank) ภรรยาของเขา ซึ่งขณะนั้นเธอเป็นนักศึกษาฟิสิกส์

1937 อเมเรีย เสียชีวิต , ในปีเดียวกันนี้ยูจีนก็ได้รับสัญชาติอเมริกัน

1938 กลับมาทำงานที่พริ้นตัน 

1941 แต่งงานครั้งที่สอง กับมารี วีเลอร์ (Mary Annette Wheeler) ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่วิทยาลัยวาสซาร์ (Vassar College) 

1942 ช่วงเริ่มสงครามโลก ครั้งที่ 2 ยูจีนได้พบกับไอสไตน์ (Albert Einstein) และซิลาร์ด (Leo Szilard) ซึ่งทำให้มีการเขียนจดหมายไปถึงประธานาธิบดีรูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) เพื่อให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา  จนนำไปสู่คำสั่งในการเริ่มโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) 

ช่วงนี้เขาทำงานที่ห้องศูนย์วิจัยโลหะ (Metallurgical Laboratory) ร่วมกับเฟอร์มิ (Enrico Fermi) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดปฏิกริยานิวเคลียร์ลูกโซ์ (Fission) ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงทฤษฏี 

1946 ยูจีนรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของฝ่ายวิจัยในศูนย์วิจัยคลินตัน (Clinton Laboratory~ Oak Ridge National Laboratory) เขาบทบาทในการออกแบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์สำหรับผลิตยูเรเนียม ที่จะนำไปเสริมสมรรถนะให้เป็นอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป 

1947 หลังสงครามเขาได้ตำแหน่งในกรรมการในสำนักงานมาตรฐานแห่งชาติ (National Bureau of Standards)

1951 ย้ายมาคณะกรรมการในสภาวิจัยแห่งชาติ (National Research Council) 

1952 เป็นคณะกรรมด้านฟิสิกส์ในมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

1960 เขียน The Unseasonable Effectiveness of Mathematics in the Natural Sciences

1963 ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ร่วมกับมาเรีย โกปเปิร์ต-เมเยอร์ (Maria Goeppert-Mayer) และเจ. เจนเซ่น (J. Han D. Jensen)

1979 พฤศจิกายน, มารีภรรยาของเขาเสียชีวิต

ยูจีนแต่งงานครั้งที่สามกับแพท ฮามิลตัน (Eileen Clare-Patton Hamilton)

1992 เขียนบันทึกความทรงจำชื่อ The Recollections of Eugene P. Wigner

1995 1 มกราคม, เสียชีวิตในพริ้นตัน จากอาการปอดบวม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!