Numquam prohibere somniantes
Adolf Tolkachev
Adolf Tolkachev

Adolf Tolkachev

อดอล์ฟ โตลกาเชฟ (Адольф Георгиевич Толкачёв)
วิศวกรรัสเซียที่ขายข้อมูลลับทางทหารให้กับซีไอเอ
โตลกาเชฟ เกิดวันที่ 6 มกราคม 1927 ในอัคตูบินส์ก, คาซัคสถานโซเวียต (Akyubinsk, Kazakhstan SSR) แต่ว่าพออายุได้สองปีครอบครัวของเขาก็ย้ายมาอยู่ในมอสโคว์
1948 เข้าเรียนที่สถาบันคาร์คอฟโพลีเทคนิค (Kharkov Polytechnic Institute) ทางด้านวิศวกรรมวิทยุ
1954 สำเร็จการศึกษา หลังจากนั้นเขาได้เข้าทำงานกับสถาบันวิจัย NIIR (Scientific Research Institute of Radio Building) ในมอสโคว์ โดยเขาเป็นเจ้าหน้าระดับผู้นำในการอกแบบระบบ ได้รับผลตอบแทนสูง กว่า 350 รูเบิ้ลต่อเดือน ซึ่งขณะนั้นเงินเดือนเฉลี่ยในโซเวียตอยู่ที่ 120 รูเบิ้ล 
1957 แต่งงาน ภรรยาของโตลกาเชฟชื่อ นาตาเลีย (Natalia Ivanova Kuzmina, b.1935) เป็นวิศวกรอิเล็กทรอนิสก์และทำงานที่เดียวกับเขา พวกเขามีลูกด้วยกันคนหนึ่งชื่อโอเล็ก (Oleg, b.1966) 
1976 โตลกาเชฟเริ่มติดต่อกับสถานทูตสหรัฐฯ โดยการทิ้งโน๊ตเอาไว้ที่รถของเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ซึ่งที่ตั้งสถานทูตสหรัฐฯ อยู่ห่างจากอพาร์ตเม้นที่เขาพักเพียงแค่ 400 เมตร ทำให้ไม่มีคนสงสัย
โตลกาเชฟ อ้างว่าเขาทรยศต่อประเทศของเขาเพราะว่าพ่อแม่ของภรรยาของเขาได้รับการลงโทษทารุณกรรมในสมัยของสตาลิน (Joseph Stalin) ก่อนที่จะได้รับอิสรภาพในปี 1955 แต่หลังจากนั้นไม่นานพ่อก็เสียชีวิต และเขายังได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของโซลเซนิตซิน (Aleksandr Solzhenitsyn) และซาคารอฟ (Sakharov) 
ระยะแรกโตลกาเชฟได้รับกล้องขนาดเล็กจาก CIA สำหรับใช้ถ่ายเอกสารลับ แต่ว่ากล้องมีข้อจำกัดในการทำงานในที่มีแสงน้อยและระยะโฟกัส ภายหลังโตลกาเชฟจึงร้องขอกล้อง Pentax 35-mm แบบธรรมดาแทน 
1980 CIA ใช้วิธี Short-Range Agent Communications (SRAC) ในการติดต่อกับโตลกาเชฟ เป็นระบบแบ็คอัพเพื่อว่าโตลกาเชฟต้องการการติดต่อในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในกรณีนี้มีขสนาดเท่ากับกล่องบุหรีและมีคีย์บอร์ดสำหรับพิมพ์ภาษารัสเซียหรืออังกฤษ ซึ่งเมื่อพิมพ์ข้อความเข้าไปแล้วข้อความจะถูกเข้ารหัส และเมื่อสายลับและเจ้าหน้าที่ซีไอเอเดินสวนกันข้อความระหว่างสองเครื่องจะถูกแลกเปลี่ยนกันอย่างรวดเร็ว
1893 การติดต่อระหว่างโตลกาเชฟกับ CIA เริ่มไม่ราบรื่น โตลกาเชฟพลาดที่จะมาตามนัดที่ตกลงกันหลายหน ซึ่งเป็นไปได้ว่าทางโซเวียตเริ่มระแคะระคายเกี่ยวกับการรั่วของข้อมูลลับ
ตลอดระยะเวลากว่า ที่เขาขายความลับของโซเวียตให้ซีไอเอ ทำให้เขาได้รับทรัพย์สินและเงินรวมกันราว 790,000 รูเบิ้ล แต่เขามักจะไม่ได้เรียกร้องเงินรูเบิ้ลเป็นการตอบแทน แต่มักร้องขอเป็นสิ่งของ อย่างงานศิลปะ, ภาพยนต์ พร้อมกับเงินฝากอีก 2 ล้านดอลล่าห์ในบัญชีต่างประเทศเผื่อในกรณีที่เขาหลบหนีออกนอกประเทศ นอกจากนั้นเขายังเรียกร้องขอยาพิษสำหรับฆ่าตัวตายกรณีที่ถูกเคจีบีจับได้ด้วย 
1985 ทางการโซเวียตทราบเกี่ยวกับการทรยศของโตลกาเชฟ ซึ่งเป็นไปได้ว่ามาจากเจ้าหน้าที่ซีไอเอ ชื่อเอ็ดเวิร์ด (Edward Lee Howard) ที่ถูกไล่ออกจาก CIA เพราะว่าลักขโมยและติดยา เอ็ดเวิร์ดจึงได้นำข้อมูลที่รู้มาบอกให้กับทางการโซเวียต
9 มิถุนาย, โตลกาเชฟ ถูกจับกุมตัว
ตุลาคม, หนังสือพิมพ์ Thw Washington Post เริ่มพิมพ์บทความเกี่ยวกับโตลกาเชฟ โดยบรรยายว่าเขาเป็นแห่งทรัพยากรมีค่าที่สุดคนหนึ่งของ CIA ที่อยู่ในโซเวียต เพราะว่าตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่เขาติดต่อกับ CIA เขาได้มอบข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาจรวดมิสไซด์, เครื่องบินรบ , อุปกรณ์การหลบหลีกเรดาห์ของและเทคโนโลยีหลายอย่างของโซเวียตให้กับสหรัฐฯ 

1986 24 กันยายน, ถูกประหารชีวิต โดยการยิงเป้า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!