Numquam prohibere somniantes
Pierre de Fermat
Pierre de Fermat

Pierre de Fermat

ปิแอร์ เดอ เฟร์มัต (Pierre de Fermat)
เฟอร์มัต เกิดราวปี 1607-1608 ในเมืองบัวม็อง (Beaumont de Lomagne) ทางตอนใต้ของฝั่งเศส
พ่อของเขาชื่อโดมินิก (Dominique Fermat)  เป็นพ่อค้าสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ที่มีฐานะร่ำรวย และแม่ชื่อว่าแคร์ (Claire de Long)  มาจากครอบครัวชนชั้นสูงที่มีฐานะ เธอเสียชีวิตตอนที่เฟอร์มัตอายุได้เจ็ดขวบ
ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการศึกษาของเฟร์มัต แต่คาดว่าเขาได้เข้าเรียนที่นาแวร์คอลเลจ (College de Navarre) โดยเฟร์มัตมีความสามารถในการพูดได้ถึงหกภาษา ได้แก่ฝรั่งเศส, ลาติ, อ๊อคคิตัน (Occitan), กรีก, อิตาลีและสเปน
1623 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออร์ลีน (University of Orleans) ทางด้านกฏหมาย
1626 จบปริญญาตรีตอนอายุเพียง 18 ปี  หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองบอร์ด๊อกซ์ (Bordeaux)  และได้เริ่มทำงานในศาล  ช่วงเวลานี้เขาได้รู้จักกับอีเตียน (Etienne d’Espagnet) ซึ่งเป็นคนที่เก็บหนังสือมีค่าเอาไว้จำนวนมากในห้องสมุดของตัวเอง และเฟร์มัตได้อ่านผลงานของเวียต้า (Francisco’s Vièta) นักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส เกี่ยวกับพีชคณิต
1628 พ่อของเขาเสียชีวิต
1629 มีผลงานสำคัญชิ้นแรกในด้านคณิตศาสตร์คือการหาค่า maxima, minima, และ tangents
เขายังช่วยฟื้นฟูผลงานเขียน De Locis Planil ของอพอลโล่เนียส (Apollonius) 
1630 ได้ตำแหน่งในศาลสูงของตูลูซ (Parlement de Toulouse)   เฟร์มัตเขาอยู่ในตำแหน่งจนกระทั้งเสียชีวิต ซึ่งหลังจากได้ตำแหน่งเขาเปลี่ยนนามสกุลมาใช้ de Fermat แทนที่ Fermat
1631 31 มิถุนายน, แต่งงานกับหลุยส์ (Louise de Long) ญาติของเขาเอง ขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 15 ปี ซึ่งพวกเขาต่อมามีลูกด้วยกันถึง 8 คน
1636 ได้รู้จักกับมาริน เมอร์เซนน์ (Marin Mersenne) นักคณิตศาสตร์ชาวปารีส ซึ่งเป็นผู้ที่คอยสนับสนุนให้นักคณิตศาสตร์เผยแพร่ผลงานของพวกเขา เมอร์เซนน์เป็นคนที่ติดต่อขอให้เฟร์มัตอธิบายคณิตศาสตร์ที่เขาค้นพบให้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งเฟร์มัตได้ส่งต้นฉบับของ Introduction to Plane and Soli Loci และ Methodus ad disquirendam maximam et minimam et de tangentibus linearum curvarum  ให้กับเมอร์เซนน์ในการเผยแพร่ ซึ่งเป็นการบุกเบิกวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ (analytic geometry) หนังสือของเฟร์มัตยังมีอิทธิพลต่อเลียบนิซ (Gottfried von Leibniz) และนิวตัน (Isaac Newton) ในการพัฒนาแคลคูลัสในเวลาต่อมา
1654 ปาสคาล (Blaise Pascal) ได้เขียนจดหมายติดต่อกับเฟร์มัตในการขอให้เขาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับเกมทอดลูกเต๋า ซึ่งเฟร์มัตได้ใช้คณิตศาสตร์อธิบายความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นในเกมนี้ ทำให้เฟร์มัตและปาสคาล ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฏีความน่าจะเป็น (probability theory)

1665 12 มกราคม, เสียชีวิตในคาสเตรส (Castres) ในวัย 57 ปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!