Numquam prohibere somniantes
Francesco Guicciardini
Francesco Guicciardini

Francesco Guicciardini

ฟรานเซสโก้ กุชชาร์ดินี (Francesco Guicciardini) 
ผู้เขียน history of Italy
ฟรานเซสโก้ เกิดวันที่ 6 มีนาคม 1483 ในฟลอเรนซ์ (Florence, Republic of Florence) สาธารณฟลอเรนซ์ พ่อของเขาชื่อเปียโร่ (Piero di lacopo Guicciardini) และแม่ชื่อซีโมน่า (Simona di Bongianni Gianfigliazzi)  ฟรานเซสโก้เป็นลูกคนที่สามในบรรดาพี่น้องสิบเอ็ดคน ครอบครัวของเขามีฐานะร่ำรวย และเป็นผู้สนับสนุนคนหนึ่งของตระกูลเมดิคี (Medici)
ตอนเด็ก ฟรานเซสโก้ เรียนหนังสือกับนักปรัชญาซึ่งเป็นพ่ออุปถัมภ์ของเขาชื่อมาร์ซิลิโอ ฟิคิโน่ (Marsilio Ficino) ทำให้เขาได้รู้ภาษาลาตินและกรีกเล็กน้อย
1500 ฟรานเซสโก้ได้เข้าเรียนกฏหมายที่มหาวิทยาลัยเฟอร์ราร่า (University of Ferrara)
1502 ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยปาดัว (University of Padua) 
1505 กลับมายังฟลอเรนซ์
1506 ได้รับแต่งตั้งจากผู้ว่าของฟลอเรนซ์ให้เป็นอาจารย์สอนกฏหมายในฟลอเรนไตน์สตูดิโอ (Florentine Studio) 
1508 แต่งงานกับมาเรีย (Maria Salviati) ลูกสาวของอลาแมนโน่ ซัลเวียติ (Alamanno Salviati) ผู้ทรงอิทธิพลอีกตระกูลหนึ่งในฟลอเรนซ์
เขียนหนังสือ Memorie di famiglia (Memory of the Family) และ the Storie Fiorentine (The History of Florence) 
Ricordanze 
1512 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตที่อาราก้อน (Aragon) ทางตอนเหนือของสเปน
1513 จิโอวานนี ดิ เมดิคี (Giovanni de Medici) ได้รับตำแหน่งพระสันตะปาปา พระนามว่าพระสันตะปาปา ลีโอ ที่ 10 (Pope Leo X) พระองค์ทำให้ฟลอเรนซ์กลายเป็นรัฐที่อยู่ใต้อำนาจของวาติกัน 
1514 เดินทางกลับมายังฟลอเรนซ์ 
1515 ได้เข้าทำงานกับรัฐบาลของฟลอเรนซ์ (Signoria of Florence) 
1516 ได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปา ให้เป็นผู้ว่าฯ ของเมืองเรจจิโอ (Reggio)
1517 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าฯ ของโมเดน่า (Modena)
1521 พระสันตะปาปา ลีโอ ที่ 10 สวรรคต และพระสันตะปาปาคนใหม่คือพระสั้นตะปาปาคลีเมนต์ ที่ 7 (Pope Clement VII) 
1523 ได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาให้เป็นรองผู้สำเร็จราชการ (viceregent) ประจำโรแม็กน่า (Romagna)
1526 สงครามระหว่างกษัตริย์ฟรานซิส ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (King Francis I of France) กับจักรพรรดิชาร์ล ที่ 4 แห่งโฮลี่โรมัน (Emperor Charles V, Holy Roman) ทำให้อิตาลีวุ่นวายไปด้วย  ขณะนั้นพระสันตะปาปายังงไม่ตัดสินพระทัยว่าเลือกเข้าข้างฝ่ายไหน แต่พระองค์ทรงได้รับคำแนะนำจากฟรานเซสโก้ให้อยู่ข้างฝรั่งเศส ต่อมาจีงได้มีการตั้งสันนิตบาติคอนยัค (League of Cognac) ขึ้นมา โดยสาธารณรัฐฟรอเรนซ์, สาธารณรัฐเวนิช (Republic of Venice), ดัชชี่มิลาน (Duchy of Milan), อังกฤษและฝรั่งเศส จับมือกัน เพื่อสู้รบกับโฮลี่โรมัน ซึ่งในช่วงแรกฟรานเซสโก้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพลโทคอยบังคับบัญชากองทัพของวาติกัน แต่ว่าเขาแสดงให้เห็นว่าไม่มีความสามารถในการบังคับบัญชาทหาร ต่อมาถึงถูกย้ายออกจากตำแหน่ง 
1527 6 พฤษภาคม (Sack of Rome) กองทัพของโฮลี่โรมัน บุกวาติกัน และพระสันตะปาปาคลีเมนต์ ที่ 7 ถูกจับตัวไว้ได้ พระองค์ถูกนำไปขังเอาไว้ในปราสาทซานต์แองเจโล่ (Castel Sant’Angelo)
หลังจากเหตุการณ์บุกกรุงโรมไม่นาน ฟรานเซสโก้ก็เดินทางกลับมายังฟลอเรนซ์  ช่วงเวลานี้ตระกูลเมดิคี ได้ถูกโค่นอำนาจและขับไล่ออกไป ฟรานเซสโก้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนเมดิคีก็ถูกประกาศว่าเป็นกบฏและทรัพย์สินของเขาก็ถูกยึด
1529 (Siege of Florence, Oct 1529- Aug. 1530) กองทัพสเปนซึ่งเป็นพันธมิตรกับโฮลี่โรมัน ได้บุกสาธารณะรัฐฟลอเรนซ์
1530 หลังจากฟลอเรนซ์ยอมแพ้แก่โฮลี่โรมัน พระสันตะปาปาคลีเมนต์ ที่ 7 ได้รับการปล่อยตัว ฟรานซิสโก้ก็นำกำลังทหารมาปราบปรามฝ่ายต่อต้านเมดิคี ซึ่งกล่าวกันว่าการล้างแค้นของเขาเป็นไปอย่างอำมหิต
1531 ฟรานซิสโก้ได้ตำแหน่งผู้ว่าฯ ของโบร็อกน่า (Bologna) 
1534 พระสันตะปาปาคลีเมนต์ ที่ 7 สวรรคต , ฟรานซิสโก้ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ โบร็อกน่า และกลับไปอยู่ฟลอเรนซ์ และทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กั้บอเลสซานโดร เดอ เมดิคี (Alessandro de Medici) 
1536 อเลสซานโดร เดอ เมดิคี แต่งงานกับเจ้าหญิงมากาเร็ต (Margaret of Parma) พระธิดาของจักรพรรดิชาร์ล ที่ 5 แห่งโฮลี่โรมัน 
1537 อเลสซานโดร เดอ เมดิคีเสียชีวิตจากการถูกลอบสังหาร ฟรานซิสโก้จึงได้หันสนับสนุนโคซิโม่ เดอ เมดิคี (Cosimo de Medici) ซึ่งขณะนั้่นยังเป็นหนุ่มวัยเพียง 17 ปี ซึ่งฟรานซิสโก้ได้ช่วยให้โคซิโม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นดุ๊ก (Duke) แห่งฟลอเรนซ์ แต่ว่าไม่นานโคซิโม่ก็ถูกปลด  ฟรานซิสโก้จึงได้ถือโอกาสเกษียณจากงานการเมือง
เขาใช้เวลาช่วงที่เหลือในการเขียน Storia d’Italia (History of Italy)

1540 22 พฤษภาคม​, เสียชีวิตในอาร์คีตริ (Arcetri) เนินเขาเล็กๆ ใจกลางฟลอเรนซ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!