หยวน ซื่อไค่ (袁世凯)
หยวน ซื่อไค่ เกิดวันที่ 16 กันยายน 1859 ในหมู่บ้านฉางยิง, เฉินโจว, มณฑลเหอนาน (Zhangying village, Xiangcheng Country, Chenzhou, Henan)
วัยเด็ก หยวน ซื่อไค่เรียนหนังสือตามแนวคิดแบบขงจื้อ นอกจากนั้นเขายังชอบการขี่ม้า, และการชกมวย
หยวน ซื่อไค่ ไม่สามารถสอบเข้ารับราชการของจีนได้ถึงสองครั้ง ทำให้เขาเปลี่ยนเป้าหมายมาเข้าเป็นทหารในกองทัพไคว่จิง (Huai Army, 淮軍) ซึ่งเป็นกองทัพที่ราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ปราบปรามกบฏไท่ปิง (Taiping Rebellion)
1876 แต่งงานครั้งแรกกับผู้หญิงจากตระกูลหยู (Yu Family) และมีลูกชายด้วยกันคนหนึ่ชื่อเข่อดิง (Yuan Keding, 袁克定, 1878-1958)
ในเกาหลี เกาหลีถูกกดดันจากญี่ปุ่นให้ลงนามสนธิสัญญากางฮวา (Treaty of Ganghwa) ซึ่งเกาหลีอนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาทำการค้าในอินชอน (Incheon) และวอนซาน (Wonsan) ได้อย่างเสรี ราชวงศ์โจชอน (Joseon Dynasty) ในช่วงเวลานี้กำลังเผชิญปัญหาภัยคุกคามจากจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่น ที่ต้องการเข้ามามีอิทธิพล ในขณะที่ภายในเองพระบิดาของกษัตริย์โกจง (King Gojoin) ต้องการดำเนินนโยบายปิดประเทศ ในขณะที่พระราชินีมิน (Queen Min) มีประสงค์ที่จะเปิดประเทศเพื่อทำการค้า ทำให้มีปัญหาภายในราชสำนัก
ต่อมาเมื่อพระราชินีมินต้องลี้ภัยมาขอความช่วยเหลือจากจีน หลี ฮงฉาง ผู้สำเร็จราชการประจำจีหลี (Li Hongzhang, Viceroy of Zhili) ได้ให้ความช่วยเหลือในการฝึกทหารขึ้นมา 500 นาย ในตอนนี้หยวน ซื่อไค่จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าของกองทหารกลุ่มนี้เพื่อทำภาระกิจในเกาหลี
1878 แต่งงานกับผู้หญิงอีกเก้าคน พวกเขามีลูกด้วยกันอีกหลายสิบคน
1880 เขาได้ยศเล็ก ๆ ในกองทัพจากการซื้อตำแหน่งมา
1885 หยวน ซื่อไค่ได้รับแต่งตั้ง Imperial Resident of Seoul ซึ่งคล้ายเป็นทูตฝึกหัดในกรุงโซล แต่ก็มีสถานะเป็นที่ปรึกษาสูงสุดของจีนให้กับเกาหลี
1894 เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่น (First Sino-Japanese War) ซึ่งหยวน ชื่อไค่ ถูกเรียกตัวกลับจีนก่อนสงครามเกิดขึ้นไม่นาน เพราะเขาไม่สามารถควบคุมสถานะการณ์
1895 ได้รับแต่งตั้งจากหลี ฮงฉางให้เป็นผู้บัญชาการการทหารของกองทัพใหม่ (New Army) ซึ่งเป็นกองทัพที่จีนตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อจัดการอบรมตามหลักสูตรแบบตะวันตก
1898 21 กันยายน, พระนางซูสี (Empress Dowager Cixi) ทำการปฏิวัติทยึดอำนาจจากจักรพรรดิกวงฮู (Guangxu Emperor) โดยที่หยวน ชื่อไค่อยู่ฝ่ายเดียวกับพระนางซูสีไทเฮา
1899 เกิดกบฏนักมวย (Boxer Rebellion, 1899-1901) ในจีบ หยวน ซื่อไค่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าฯ ของชานตง (Shandong) เพื่อปราบปรามกลุ่มกบฏ แต่ว่าภายในราชสำนักหยวน ซื่อไค่เลือกเข้ากับกลุ่มที่สนับสนุนการเปิดประเทศ ขัดกับนโยบายอนุรักษ์นิยมของพระนางซูสีไทเฮา
1902 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการประจำจีหลี และรัฐมนตรีประจำไบหยาง (Ministry of Beiyang) ช่วงเวลานี้เขาจึงได้สร้างกองทัพไบหยาง (Beiyang Army) ขึ้นมาตามแนวทางตะวันตกจนกลายเป็นกองทัพที่เข้มแข็งที่สุดของจีน
1908 พระนางซูสีสวรรคต โดยที่เจ้าชายชุน (Prince Chun) รับหน้าที่ผู้สำเร็จราชการ
1911 ตุลาคม, เกิดกรณีกบฏวู่ชาง (Wuchang Uprising) และมณฑลทางใต้ของจีนพากันประกาศตัวเป็นเอกราชจากราชวงศ์ชิง เวลานี้หยวน ซื่อไค่ สงวนท่าทีไม่ประกาศตัวชัดเจนว่าจะแยกหรือสนับสนุนราชวงศ์ชิงต่อไปหรือไป แต่ราชสำนักได้เสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กับเขา เพื่อให้เขานำกองทัพไบหยางมาปราบปรามการกบฏ
พฤศจิกายน, หยวน ซื่อไค่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
1912 ดร.ซุน ยัด เซน (Sun Yat-Set) ประกาศก่อตั้งสาธารณะรัฐจีน (Republic of China) , ดร. ซุก ยัด เซน ทำความตกลงกับหยวน ซื่อไค่ว่าจะให้เขาเป็นประธานาธิบดี
12 กุมภาพันธ์, จักรพรรดิปู ยี (Pu YI) สละราชบัลลังค์
14 กุมภาพันธ์, หยวน ซื่อไค่ ได้รับเลือกจากสภาให้เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลของสาธารณะรัฐจีน
1913 กุมภาพันธ์, การเลือกตั้งรัฐสภาของจีน ปรากฏว่าพรรคโก๊ะมินตั๋ง (Kuomingtang) ได้รับเลือกมามากที่สุด
การแย่งชิงอำนาจทำให้หยวน ซื่อไค่ เริ่มทำการปราบปรามฝ่ายโก๊ะมินตั๋ง
พฤศจิกายน, ดร.ซุน ยัด เซน หนีไปยังญี่ปุ่น และเรียกร้องให้มีการปฏิวัติอีกครั้งเพื่อโค่นล้มหวยวน ซื่อไค่
หยวน ซื่อไค่ เองได้ประกาศตัวเองเป็นประธานาธิบดีมีวาระ 5 ปี รัฐสภาและรัฐธรรมนูญเดิมถูกยุบไปและเขาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ (constitutional compact)
1914 ญีปุ่นสามารถยึดเมืองฉิงเต่า (Qingdao) ที่ถูกเยอรมันครอบครองมาไว้ได้ หลังจากนั้นได้ยืนข้อเสนอ 21 ข้อ (The Twenty-one Demands) ไปยังรัฐบาลจีน ข้อเรียกร้องเหล่านี้เช่นการยกฉิงเต่าให้เป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น การยอมให้ญี่ปุ่นยึดกิจการที่ติดหนี้สินกับญี่ปุ่น การขยายเวลาเช่าเส้นทางรถไฟสายแมนจูใต้เป็น 99 ปี ข้อเรียกร้องนี้เมื่อประชาชนรับรู้ทำให้เกิดกระแสต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นมาในจีนอีกครั้ง แต่ว่าหยวน ซื่อไค่มีท่าทีที่จะรับข้อเสนอ ทำให้ความนิยมของเขาตกลงในหมู่คนจีน
1915 20 พฤศจิกายน, รัฐสภาเสนอชื่อหยวน ซื่อไค่ขึ้นจักรพรรดิ
12 ธันวาคม, หยวน ซื่อไค่ สถาปณาเป็นจักรพรรดิ พระนามว่าจักรพรรดิฮงเซียน (Hongxian, 洪宪) แต่ว่าเขากลับไม่ได้รับความสนับสนนุจากประชาชน และเมืองหลายเมืองอย่างยูนาน (Yunnan), กุยโจว (Guizhou), กวางสี (Guangxi) พากันประกาศแยกตัวออกจากรัฐบาลปักกิ่ง
1916 22 มีนาคม, หยวน ซื่อไค่ สละตำแหน่งจักรพรรดิ หลังครองราชย์เพียง 83 วัน
6 มีนาคม, หยวน ซื่อไค่ เสียชีวิตในปักกิ่งจากอาการยูเรเมีย (Uremia , มียูเรีย (Uria) ในกระแสเลือดมากเกินไป) ในวัย 56 ปี ร่างของเขาถูกนำกลับไปฝังในสุสานขนาดใหญ่ที่บ้านเกิด แต่ว่าสุสานถูกรื้อทำลายในปี 1928