Numquam prohibere somniantes
Guglielmo Marconi
Guglielmo Marconi

Guglielmo Marconi

กูกลิเอลโม่ มาร์โคนี (Guglielmo Giovanni Maria Marconi, Marquis of Marconi) 
1909 Physics Noble
มาร์โคนี เกิดวันที่ 25 เมษายน 1874 ในพาลาซซ่า มาเรสคัลชี,​โบร๊อกน่า, อิตาลี (Palazzo Mareschalchi, Bologna, Italy) พ่อของเขาชื่อกุเซปเป้ (Giuseppe Marconi) เศรษฐีเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่และแม่ชื่อแอนนี่ (Annie Jameson) เธอมีเชื้อสายสก๊อต-ไอริส เป็นทายาทของแอนดริว เจมสัน (Andrew Jameson) ผู้ก่อตั้งบริษัทวิสกี้ Jameson & Sons 
มาร์โคนีเป็นลูกคนที่สองของครอบครัว 
เมื่อเขาอายุได้ 2 ขวบ แม่ได้พาเขาและพี่ชายชืออัลฟอนโซ่ (Alfonso) ไปอยู่ในเบดฟอร์ด (Bedford) อังกฤษ บ้านเกิดของแม่
เมื่ออายุ 8 ขวบได้กลับมาอยู่อิตาลี
ตอนอายุ 18 ได้เพื่อนบ้านใหม่เป็น ออกัสโต้ ริจฮิ (Augusto Righi) นักพิสิกของมหาวิทยาลัยโบร๊อกน่า (University of Bologna) ซึ่งริจฮิ ได้อนุญาตให้มาร์โคนีเข้าฟังเขาเลคเชอร์ที่มหาวิทยาลัยได้ 
เข้าเรียนที่สถาบันคาวัลเลโร่ (Istituto Cavallero) ในฟอร์เรนซ์ และต่อมาได้เข้าเรียนที่สถาบันเทคนิคเลกฮอร์น ( Technical Institute of Leghorn) 
1888 เฮนริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Hertz) แสดงการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ช่วงหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นเลยถูกเรียกกันว่าเป็นเฮิร์ตเซียน (Hertzian) ภายหลังจึงเรียนกว่าเป็นคลื่นวิทยุ (radio wave)
ช่วงปี 90s มาร์โคนีเริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless telegraphy) ซึ่งเวลานั้นก็มีนักประดิษฐ์หลายคนที่พยายามจะพัฒนาอุปกรณ์ลักษณะเดียวกันนี้ 
1894 เฮิร์ตซ์เสียชีวิต
1895 มาร์โคนีประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญาณแบบไร้สายได้ในระยะราว 2 กิโลเมตร
1896 กุมภาพันธ์, ย้ายมาอยู่ในอังกฤษ และเขาก็ได้เอาอุปกรณ์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นไปสาธิตให้เซอร์วิลเลียม ปรีซ (Sir William Preece) หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมของการไปรษณีย์อังกฤษชม 
เซอร์ปรีซ จึงได้จัดให้มีการสาธิตการส่งสัญญาณแบบไร้สายให้ประชาชนทั่วไปได้ชม และเพื่อการโฆษณาด้วย   มาร์โคนีจึงสาธิตการส่งสัญญาณระหว่างอาคารสองแห่งในลอนดอน โดยเซอร์ปรีชทำหน้าที่ถือเครื่องรับสัญญาณอยู่ในอีกอาคารหนึ่ง
1897 สาธิตการสื่อสายไร้สายข้ามคลองบิสตอล (Bristol Channel) และปีนี้เขาก็ได้รับการรับรองสิทธิบัตรอุปกรณ์ในการส่งข้อมูลแบบไร้สายเป็นคนแรกของโลก
20 กรกฏาคม, ก่อตั้งบริษัท The Wireless Telegraph and Signal Company Limited (1990 บรษัทเปลี่ยนชื่อมาเป็น Marconi’s Wireless Telegraph Company Limited)
1898 ตั้งโรงงานเพื่อผลิตอุปกรณ์สื่อสารด้วยคลื่นวิทยุแห่งแรกขึ้นมาในเชล์มสฟอร์ด (Chelmsford)
1899 มาร์โคนีประสบความำสำเร็จในการเพิ่มระยะการส่งสัญญาณเป็น 21 ไมล์และ บริษัทของเขาทำการติดตั้งการสื่อสารข้ามช่องแคบอังกฤษ ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส 
1900 บริษัท Kaiser Wilhelm der Grosse ในเยอรมันได้ติดตั้งอุปกรณ์ของมาร์โคนีเพื่อใช้ทางธุรกิจเป็นครั้งแรก
เมษายน, มาร์โคนี ได้รับสิทธิบัตร No.777 (tuned or systolic telegraphy)  อุปกรณ์ในการปรับแต่งสัญญาณเทเรกราฟ
1901 12 ธันวาคม,​การสื่อสารไร้สายครั้งแรกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จากพอล์ดฮู (Poldhu, Cornwall, England) มายังนิวฟันด์แลนด์ (Signal Hill, St.John’s, Newfoundland) ซึ่งเป็นระยะทาง 2,100 ไมล์
1905 แต่งงานกับเบียทริซ (Beatrice O’Brien, 1882-1976) ลูกสาวของบารอนแห่งอินชิคิน (14th Baron Inchiquin) พวกเขามีลูกด้วยกันสี่คน ลูเซีย (Lucia), เดกน่า (Degna) วิตตอริโอ (Vittorio Giovanni Giulio) และจิโออา (Gioia Lolanda) 
1909 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิก ร่วมกับคาร์ล เบราน์ (Karl Ferdinand Braun)
1914 ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 เขาได้ยศร้อยโทในกองทัพอิตาลี ก่อนที่ต่อมาจะได้รับการเลื่อนเป็นยศกัปตัน และในปี 1916 ถูกย้ายมาอยู่ในกองทัพเรือและมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชากร
1919 เป็นหนึ่งในตัวแทนของรัฐบาลอิตาลีในการร่วมประชุมสันติภาพที่ปารีส (Paris Peace Conference) และสงครามยุติเขาได้เหรียญ Military Medal เพื่อเป็นเกียรติในการรับใช้กองทัพ
1927 หย่ากับเบียทริช และแต่งงานใหม่กับมาเรีย (Maria Christina)  มีลูกด้วยกันหนึ่งคนชื่อมาเรีย (Maria Elettra Elena Anna)
1922 เขาไปเลคเชอร์ให้กับสถาบันวิศวกรรมวิทยุอเมริกัน (American Institute of Radio Engineers) ในนิวยอร์ค ซึ่งมีการพูดถึงความเป็นไปได้ในการสร้างเรดาห์ (radar) 
1929 มุสโสลินี (Benito Mussolini) มอบตำแหน่งมาร์กีส (marchese) เพื่อเป็นเกียรติให้กับมาร์โคนี ในฐานะที่เขาเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลฟาส์ซิสของมุสโสลินี
1932 เปิดการสื่อสารโทรศัพท์แบบคลื่นไมโคเวฟ (microwave radiotelephone) ครั้งแรก โดยเชื่อต่อระหว่างวาติกันกับบ้านพักของพระสันตะปาปาที่ปราสาทแกนโดลโฟ (Castel Gandolfo)

1937 20 กรกฏาคม, เสียชีวิตในกรุงโรม โดยที่รัฐบาลของมุสโสลินีได้จัดพิธีศพของมาร์โคนีแบบรัฐพิธี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!