Numquam prohibere somniantes
Friedrich Engels
Friedrich Engels

Friedrich Engels

ฟรีดริช แองเกิ้ลส์ (Friedrich Engels)
ผู้เขียน Communist Manifesto ร่วมกับคาร์ล มาร์กซ์
แองเกิ้ลส์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1820 ในบาร์เมน, ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Barmen, Prussia) ส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเยอรมันขณะนั้น
แองเกิ้ลส์เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย เขาเป็นพี่ชายคนโต และมีพี่น้องอีกแปดคน พ่อของเขาชื่อ แองเกิ้ลส์ (Friedrich Engels, 1797-1860) เป็นเจ้าของโรงงานทอผ้า ส่วนแม่ชื่ออลิซาเบธ (Elisabeth “Elise” Franziska Mauritian von Haar , 1801-1878) ครอบครัวของพวกเขานับถือนิกายโปเตสแตนส์ 
แองเกิ้ลส์เร่ิมเรียนหนังสือที่โรงเรียนในเมืองบาร์เมน
1834 พ่อส่งเขาไปเรียนที่มัธยมในเมืองเอเบอร์เฟล์ด (Elberfeld)
1837 ลาออกจากโรงเรียนกลางคันตามคำขอของพ่อ และถูกส่งตัวไปทำงานในสำนักงานการค้าของครอบครัวที่บาร์เมน
1838 ย้ายไปทำงานเป็นเสมียนอยู่ที่บริษัทการค้าของครอบครัวบรีเมน (Bremen) โดยระหว่างนี้ไม่ได้รับเงินเดือน โดยหวังว่าแองเกิ้ลส์จะเรียนรู้การทำงานเพื่อกลับมาเป็นนักธุรกิจเหมือนตน
กันยายน, แองเกิ้ลส์ ตีพิมพ์ผลงานเขียนบทกวีของตัวเอง ชื่อ “The Bedouin” ลงในวารสาร Bremisches Conversationsblatt No.40
ช่วงเวลานี้เขายังเริ่มเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์โดยโจมตีสภาพสังคม โดยใช้นามปากกาว่า “Friedrich Oswald” 
1841 เข้าเป็นทหารในกองทัพของปรัสเซีย และได้ถูกส่งมาประจำอยู่ในเบอร์ลิน ซึ่งระหว่างอยู่ในเบอร์ลินแองเกิ้ลส์ได้เข้าไปฟังเลคเชอร์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) และได้สมาคมกับผู้ศึกษาแนวคิดของเฮเกล
1842 เมื่อปลดประจำการณ์ เขาได้กลับมายังบาร์เมน และได้มีโอกาสพบกับเมเซส เฮสส์ (Moses Hess) ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขาเปลี่ยนมาเป็นคอมมิวนิสต์ ฟริดริชเริ่มพัฒนาความสามารถทางภาษาของตัวเองจนสามารถใช้ได้สิบกว่าภาษา เพื่อที่จะได้ติดตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมทั่วยุโรป 
ต่อมาพ่อแม่ของแองเกิ้ลส์ส่งเขาไปเมืองแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมของอังกฤษขณะนั้น โดยเขาได้เข้าทำงานที่บริษัท Erman and Engel’s Victoria Mill ของครอบครัวซึ่งผลิตด้ายเย็บผ้า
ที่เมืองนี้แองเกิ้ลส์ยังได้รักพับแมรี่ เบิร์น (Mary Burns) หญิงชาวไอร์แลนด์ซึ่งเป็นแรงงานอยู่ในโรงงานของเขา ทั้งคู่คบกันนานกว่า 20 ปี แต่ว่าไม่ได้แต่งงานกัน เพราะว่าแองเกิ้ลส์ต่อต้านศาสนาและเห็นว่าศาสนาเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อการปกครองกดขี่ของชนชัน
พฤศจิกายน, ในแมนเชสเตอร์ แองเกิ้ลส์ได้มีโอกาสพบกับคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ครั้งแรก หลังจากแองเกิ้ลส์เขียนบทความลงในแม็กกาซีน Rheinische Zeitung ได้ระยะหนึ่ง ซึ่งแม็กกาซีนนี้มาร์กซ์เป็นบรรณาธิการ
1843 มีผลงานเขียน Outline of a Critique of Political Economy ซึ่งเป็นงานเขียนในมุมมองทางเศรษฐกิจชิ้นแรกของเขา
1844 เขาเดินทางกลับเยอรมัน ระหว่างการเดินทางได้พบกับมาร์กซ์ในปารีส ซึ่งแองเกิ้ลส์ได้ส่งบทความ Outline of a Critique of Political Economy  ให้มาร์กซ์ พิมพ์ลงในวารสาร Deutsch-Franzosische Johrbucher ซึ่งวารสารฉบับนี้มาร์กซ์ทำขึ้นมาใหม่หลังจาก Rheinische Zeitung ถูกทางการปรัสเซียสั่งให้ปิดไป
ระหว่างที่อยู่ในปารีสแองเกิ้ลส์และมาร์กซ์กลายเป็นเพื่อนสนิทกัน แองเกิ้ลส์เข้าเป็นสมาชิกของ League of the Just กลุ่มสมาคมลับซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ 1837 เพื่อปฏิวัติสังคม และยังช่วยมาร์กซ์ในการเขียนหนังสือและทำวารสาร
1845 พิมพ์ The Condition of the Working Class in England เป็นงานเขียนที่รวมบทความของเขาเกี่ยวกับปัญหาการใช้แรงงานจากการที่เขาได้ไปสำรวจสภาพการทำงานในแมนเชสเตอร์และซาลฟอร์ด (Sanford) ซึ่งแองเกิ้ลส์ พบปัญญาการใช้แรงงานเด็ก, สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในกาาทำงาน, การทำงานหนักเกินเวลาและความยากจนของแรงงาน
กันยายน, แองเกิ้ลส์กลับมาอยู่ในบาร์เมน, เยอรมัน ส่วนมาร์กซ์ไปอาศัยอยู่ที่เบลเยี่ยม เพราะตำรวจปารีสทำการกวาดล้างพวกหัวรุนแรง แองเกิ้ลส์เริ่มให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับมาร์ก
ช่วงปลายปีแองเกิ้ลส์เดินทางไปยังกรุงปรัสเซลเพื่อพบกับมาร์กซ์อีกครั้งหนึ่ง และได้ช่วยในการเขียน German Ideology 
ช่วงที่อยู่ในบรัสเซล แองเกิ้ลส์และมาร์กซ์ยังติดต่อและให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของแรงงานอในเยอรมัน พวกเขามีการติดต่อกับลีกคอมมิวนิสต์เยอรมัน (German Communist League) ซึ่งตั้งขึ้นมาแทน League of the Just ที่ยุบตัวลงไป ซึ่งคอมมิวนิสต์ลีกได้จ้างให้แองเกิ้ลส์และมาร์กซ์เขียนแผ่นพับสรุปแนวคิดและหลักการของคอมมิวนิสต์ ซึ่งแผ่นพับนี้เมื่อเสร็จถูกรู้จักกันในชื่อ Communist Manifesto 
1848 21 กุมภาพันธ์, The Communist Manifesto พิมพ์ออกมาครั้งแรก 
22 กุมภาพันธ์, (1848 Revolution in France, 22 ก.พ.-2 ธ.ค.) เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึ่งทำให้กษัตริย์หลุยส์-ฟิลิปเป้ (King Louis Philippe) ถูกโค่นลงจากราชบังลังค์ และมีการเปลี่ยนฝรั่งเศสไปสู่ระบบสาธารณรัฐเป็นครั้งที่ 2 (French Second Republic)
และการปฏิวัตฝรั่งเศสในปีนี้ทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงกระจายไปทั่วยุโรป 
มีนาคม, เกิดการปฏิวัติเยอรมัน (March Revolution, 1848-1849)
แองเกิ้ลส์และมาร์กซ์ได้ออกจากบรัสเซลและมาอยู่ที่โคโลญน์ ที่นี้พวกเขาเริ่มทำหนังสือพิมพ์รายวัน Neue Rheinische Zeitung ขึ้นมา 
1849 มกราคม, ฟริดริชเริ่มเขียนคอลัมน์ที่ใช้ชื่อว่า “From the Theater of War” ลงใน Neue Rheinische Zeitung ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่เขาเขียนเกี่ยวกับสถานะการณ์การต่อสู้และสงครามในฮังการีซึ่งเพิ่งประกาศตัวเองเป็นสาธารณรัฐ 
มิถุนายน, เกิดการปฏิวัติในปรัสเซีย ทำให้หนังสือพิมพ์ Neue Rheinische Zeitung ถูกสั่งปิด และมาร์กซ์ถูกเนรเทศออกจากปรัสเซีย แต่ว่าแองเกิ้ลส์ยังคงอยู่ในปรัสเซียและเขาได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับกองทหารของออกัส วิลลิช (August Willich) ซึ่งควบคุม Free Corps หน่วยอาสาสมัครฝ่ายซ้ายซึ่งจับอาวุธขึ้นสู้กับกองทัพปรัสเซีย 
แต่ว่าสุดท้ายแล้ว Free Corps ถูกปราบปราม และออกัส วิลลิช หนีไปยังสหรัฐฯ​ในขณะที่ฟริดริช หนีเข้าสวิสเซอร์แลนด์ก่อนที่จะไปถึงอังกฤษอย่างปลอดภัยในช่วงเดือนตุลาคม
1851 ในอังกฤษ ฟริดริชมาทำงานในโรงงานของพ่อของเขาในแมนเชสเตอร์ ส่วนหนึ่งเพื่อหาเงินในการสนับสนุนมาร์กซ์ซึ่งใช้ชีวิตอย่างยากจน
ธันวาคม, หลุยส์ โบนาปาร์ต (Louis Bonaparte) ทำรัฐประหารในฝรั่งเศส และตั้งตัวเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีตลอดชีพ ซึ่งมาร์กซ์และแองเกิ้ลส์ผิดหวังกับการรัฐประหารครั้งนี้
1861 เกิดสงครามกลางเมืองในสหรัฐฯ (American Civil War, 1861-1865) ช่วงเวลานี้แองเกิ้ลส์และมาร์กซ์ได้เขียน The Civil War in the United States ไปตีพิมพ์ลงใน New York Tribune และ Die Presse ในเวียนนา
1863 แมรี่ เบิรน , คนรักของแองเกิ้ลส์เสียชีวิตจากโรคหัวใจ หลังจากนั้นแองเกิ้ลส์ได้ไปคบหากับลิเดีย (Lydia “Lizzie” Burns) น้องสาวของแมรี่ เบิร์น อย่างเปิดเผย
1867 มาร์กซ์ พิมพ์ The Capital 
1870 แองเกิ้ลส์เกษียณตัวเองจากธุรกิจ และย้ายมาอยู่ในลอนดอน ใกล้กับที่พักของมาร์กซ์ 
1878 เขียน Anti-Duhring เพื่อตอบโต้กับยูเจน ดูห์ริง (Eugen Duhring) นักสังคมนิยมเยอรมันที่พยายามเสนอทฤษฏีสังคมนิยมของตัวเองมาแทนแนวคิดแบบมาร์กซิสต์
11 กันยายน, แองเกิ้ลส์แต่งงานกับ ลิเดีย ก่อนหน้าที่ลิเดียจะเสียชีวิตในอีกไม่กี่ชั่วโมง
1883 มาร์กซ์ เสียชีวิต
หลังจากมาร์กซ์เสียชีวิต ฟริดริชได้อุทิศเวลาเพื่อศึกษางานเขียนที่มาร์กซ์ทิ้งเอาไว้และนำมาเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือ The Poverty of Philosophy และแปล The Capital เป็นภาษาอังกฤษ และเรียบเรียง The Capital   เล่ม 2,3

1895 5 สิงหาคม, เสียชีวิตในลอนดอนจากมะเร็งที่ลำคอ ขณะมีอายุ 74 ปี 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!