Numquam prohibere somniantes
Clever Hans
Clever Hans

Clever Hans

คลีเวอร์ฮานส์ (Kluge Hans, Clever Hans)  เป็นม้าสายพันธ์ผสมออร์ลอฟ (Orlov Trotter) มีชีวิตอยู่ในเยอรมัน  ช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 1 เจ้าของคลีเวอร์ฮานส์ เป็นนักคณิตศาสตชื่อ วิลเลี่ยม ฟอน ออสเนน (William von Osten) เขาเปิดโรงเรียนสอนเลขคณิต ก็เลยทดลองฝึกคลีเวอร์ฮานส์ให้แก้โจทย์คณิตศาตร์ด้วย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Origin of  Species ของชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) 
ปรากฏว่าหลังจากฝึกไปสักระยะหนึ่ง คลีเวอร์ฮานส์ สามารถตอบโจทย์คณิตศาสตร์ บวก, ลบ, คูณ, หาร ง่ายๆ ได้ โดยในการตั้งคำถามให้กับคลีเวอร์ฮานส์ นั้น สามารถจะใช้ คำถามที่เป็นคำพูด หรือว่าเขียนเป็นตัวหนังสือก็ได้ ซึ่งสร้างความประหลาดใจมาก เพราะม้าไม่เพียงแต่แก้โจทย์เลขคณิตได้ แต่ยัง “อ่าน” ได้ด้วย  แม้ว่าคลีเวอร์ฮานส์จะไม่ได้แก้โจทย์เลขได้ถูกทุกทั้งหมด แต่ออสเนนก็โน๊ตเอาไว้ว่าคลีเวอร์ฮานส์ตอบได้ถูกต้องในเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก 
ไม่นานออสเนน ก็ได้นำคลีเวอร์ฮานส์ออกแสดงให้สาธารณะชนได้เห็นความสามารถของม้าพิเศษตัวนี้  และไม่นานชื่อเสียงของคลีเวอร์ฮานส์ก็กระจายไปทั่วโลก โดยหนังสือพิมพ์ New York Time  นำเรื่องของม้าอัจฉริยะที่แก้โจทย์เลขได้ไปลง
เมื่อคลีเวอร์ฮานส์โด่งดังและมีสื่ออเมริกันเอาไปลง ก็สร้างความสงสัยให้กระทรวงศึกษาธิการของจักรวรรดิเยอรมัน จนกระทั้งมีการตั้งคณะกรรมาธิการชุดพิเศษ “Hans Commission” ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความฉลาดของม้า ว่าเป็นเรื่องจริงหรือกล
คณะกรรมาธิการพิเศษที่มาตรวจสอบคลีเวอร์ฮานส์ประกอบไปด้วย ศาสตราจารย์คาร์ล (Carl Stumpf ) ศาสตราจารย์ด้านปรัชญา ซึ่งเป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซีย (Prussian Academy of Sciences) และยังมีผู้เชี่ยวชาญอีกหลายสามารถ ทั้งผู้เชี่ยวชาญเรื่องม้า, คณิตศาสตร์, จิตวิทยา, เจ้าของละครสัตว์ 
1904 หลังจากใช้เวลาตรวจสอบคลีเวอร์ฮานส์อยู่นาน คณะกรรมาธิการชุดพิเศษนี้ก็สรุปยืนยันว่าความฉลาดของคลีเวอร์ฮันส์ เป็นเรื่องจริง 
แต่ว่าไม่นานหลังจากมีผลสรุปออกมา นักจิตวิทยาชื่อ ออสการ์ ฟุงส์ก (Oskar Pfungst) ยังคงสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงได้ออกแบบการทดสอบของเขาขึ้นมาโดยจำกัดสถานะการณ์และสภาพแวดล้อมให้เข้มงวด ดังนี้
1. ในการตั้งคำถามมีการแยกม้า (คลีเวอร์ฮันส์) ออกจากคนอื่นๆ ทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการส่งสัญญาณ
2. การทดสอบบางครั้งใช้ผู้ถามที่ไม่ใช่เจ้าของม้า
3. การทดสอบบางครั้งจะมีการปิดตาม้าเอาไว้
4. การทดสอบบางครั้งถูกตั้งคำถามม้าจะไม่รู้คำตอบล่วงหน้า
หลังจากการทดสอบ ฟุงส์ก พบว่าบางครั้งม้าสามารถตอบคำถามได้ก่อนที่จะถูกถาม, และม้าสามารถตอบคำถามได้ถูกเฉพาะเวลาที่มองเห็นผู้ถาม และผู้ถามรู้คำตอบล่วงหน้า
ฟุงส์ก ได้ข้อสรุปว่า ม้า ตอบคำถามได้เพราะความสสามารถในการอ่านพฤติกรรม, สีหน้าท่าทาง ของเจ้าของหรือคนที่ตั้งคำถามได้ โดยที่เจ้าของม้าไม่รู้ตัว
 
1909 ออสเนนเสียชีวิต และคลีเวอร์ฮานส์ตกไปเป็นของคาร์ล ครัลล์ (Karl Krall) พ่อค้าอัญมณี คาร์ลได้สร้างห้องทดลองด้านจิตวิทยาขึ้นมาในเมืองเอลเบอร์เฟล์ด (Elberfeld) เพื่อใช้ฝึกม้าอีก 11 ตัว, ลา, และช้าง ให้มีความสามารถใจการอ่านใจ ได้เหมือนกับคลีเวอร์ฮานส์ 
1912 คาร์ล เขียนหนังสือ  Denkende Tiere (Thinking Animal)
1913 นิวยอร์ค ไทม์ ฉบับ 13 สิงหาคม 1913 ลงบทความเกี่ยวกับคลีเวอร์ฮานส์ อีกครั้งชื่อเรื่อง Can Horses Think? Learned Comission Says “Perhaps”
1916 คาร์ลล้มเลิกโครงการฝึกสัตว์ของเขา หลังจากทำวารสารเกี่ยวกับการศึกษาความฉลาดของสัตว์แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
คลีเวอร์ฮานส์และม้าตัวอื่น ถูกนำไปใช้ในช่วงสงครามโลก โดยที่ชะตากรรมของพวกมันไม่มีใครทราบว่าเป็นอยางไร
:: นักจิตวิทยาเรียก ปรากฏการณ์ซึ่งมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลายสามารถแสดงพฤติกรรมที่คล้ายเป็นการส่งสัญญาณบางอย่างออกมาโดยไม่รู้ตัว หรือโดยจิตใต้สำนึกว่า “Clever Hans effect” หรือ “Ideomoter cueing” เช่น การหยักหน้า, การยิ้ม ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบให้การทดสอบผิดผลาด
ซึ่งเพื่อป้องกันการเกิด Clever Hans effect ในการทดลอง ภายหลังจึงมีการใช้วิธีที่เรียกว่า “blind method” ซึ่งแยกผู้ตั้งคำถามกับผู้ถูกทดสอบออกจากกัน 

:: Elberfeld horses เป็นคำที่ถูกเรียกม้าที่แสดงความฉลาดคล้ายมนุษย์ ตามชื่อของเมืองเอลเบอร์เฟล์ด ที่คาร์ลใช้ฝึกม้าให้ฉลาดแบบคลีเวอร์ฮานส์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!