Numquam prohibere somniantes
Maria Montessori
Maria Montessori

Maria Montessori

มาเรีย มอนเตสซอรี (Maria Tesla Artemisia Montessori)
The Montessori method
มาเรีย เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1870 ในเมืองเชียราวาลเล่ย์, อิตาลี (Chiaravalle, Marche, Italy) พ่อของเธอชื่ออเลสซานโดร (Alessandro Montessori) เป็นเจ้าหน้าที่ในกระทรวงการคลัง ซึ่งประจำอยู่ในโรงงานยาสูบของรัฐบาล  และแม่ชื่อเรนิลเด (Renilde Stoppani) เป็นผู้หญิงที่มีการศึกษาสูงและรักการอ่าน
1873 ครอบครัวย้ายมาอยู่ในเมืองฟลอเรนซ์ 
1875 ย้ายบ้านอีกครั้งหนึ่งมาอยู่ในกรุงโรม ซึ่งมาเรียเข้าเรียนระดับประถมที่โรงเรียนของเมืองนี้
1883 มาเรียเข้าเรียนในโรงเรียนเทคนิคเรเกีย (Regina Scuola Tecnica Michelangelo Buonarroti) 
1886 เธอจบจากเรเกีย โดยมีผลการเรียน และเข้าเรียนต่อที่สถาบันเทคนิคเรจิโอ (Regio Istituto Technicolor Leonardo da Vinci)
1890 เมื่อจบจากเรจิโอ มาเรียมีความต้องการที่จะเรียนในโรงเรียนแพทย์เพื่อจะได้จบมาเป็นหมอ  แต่ว่าโรงเรียนแพทย์ในยุคนั้นไม่ได้เปิดกว้างสำหรับสตรีทำให้มาเรียในตอนแรกถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเรียน
มาเรียได้เขียนจดหมายร้องเรียนไปอย่างศาสตราจารย์กุยโด แบคเซลลิ (Guido Baccelli) แห่งมหาวิทยาลัยโรม (University of Rome)  ซึ่งสอนอยู่ในคณะแพทย์ แต่ว่ามาเรียก็ยังถูกปฏิเสธอีก
1890 มาเรียสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโรม แต่ว่าเธอสมัครเข้าเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
1892 มาเรียได้อนุปริญญาบัตรจากทางมหาวิทยาลัย เธอจึงใบรับรองนี้สมัครเข้าเรียนในคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยอีกครั้งจนมหาวิทยาลัยต้องยอมรับเธอเข้าศึกษาในคณะแพทย์ ทำให้เธอเป็นผู้หญิงคนแรกของอิตาลีที่ได้เรียนหมอ
1896 มาเรียจบหลักสูตรแพทย์ศาสตร์และกลายเป็นหมอตามความตั้งใจ  หลังจากนั้นเธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยในคลีนิคสรีระศาสตร์ภายในโรงพยาบาลภายในมหาวิทยาลัย และปีต่อมาได้อาสาสมัครทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาเด็กๆ ระหว่างนี้มาเรียยังได้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีและในเด็กที่มีการบกพร่องทางจิต ระหว่างนี้เธอได้อ่านงานเขียนของณอห์น อิตาร์ด (Jean Marc Gaspard Itard) และเอ๊ดดูอาร์ด เซกุน (Eduard Seguin) แพทย์และนักการศึกษาซึ่งมีอิทธิพลต่อการออกแบบระบบการศึกษาของมาเรียในเวลาต่อมา
1897 มาเรียได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการร่วมของสถาบัน Orthophrenic School ใน ม.โรม
มาเรียได้เข้าร่วมประชุมสภาการแพทย์แห่งชาติที่จัดขึ้นในเมืองตูริน ซึ่งในที่ประชุมมาเรียได้ขึ้นพูดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของสังคมต่อพัฒนาการด้านการศึกษาของเด็ก
1898 31 มีนาคม, มาเรียให้กำเนินบุตรชาย ชื่อ มาริโอ้ (Mario Montessori) ซึ่งพ่อของเด็กคือหมอกุซเซปเป้ มอนเตซาโน่ (Giuseppe Montesano) ทั้งคู่ตั้งใจจะไม่แต่งงานกันและอยากให้ความสัมพันธ์เป็นความลับเพราะว่ามาเรียอาจจะต้องออกจากงานถ้าเธอแต่งงาน 
แต่ว่าภายหลังหมอกุซเซปเป้ไปมีความสัมพันธ์และแต่งงานกับผู้หญิงคนอื่น มาเรียรู้สึกว่าถูกหักหลังเธอจึงได้ลาออกจากโรงเรียน และนำลูกไปฝากไว้ที่สถานดูแลเด็ก
1899 มีการตั้งสภาสันนิตบาติแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองเด็กที่มีพัฒนาการช้า (National League for the Protection of Retarded Children) ขึ้นมา และมาเรียก็ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิกสภา ทำให้เธอได้มีโอกาสไปบรรยายเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการสอนแบบพิเศษให้กับโรงเรียนต่างๆ ในโรม
1900 สภาสันนิตบาติแห่งชาติได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกสอนครูที่ต้องดูแลเด็กพิเศษขึ้นมา โดยที่มาเรียได้รับตำแหน่งผู้อำนยการร่วมของโรงเรียน และมีครู 64 คนเข้าฝึกอบรมในคลาสแรก
1901 มาเรียออกจากโรงเรียนพิเศษที่ตั้งขึ้นมา และมารับงานฝึกสอนพิเศษของตัวเอง
1902 มาเรียเข้าเรียนในคอร์สด้านปรัชญาที่ ม.โรม แต่ว่าเธอไม่ได้เรียนจนจบ
ปีนี้มาเรียยังได้เข้าประชุมสภาการศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 2  ที่จัดขึ้นในเมืองเนเปิ้ล
ช่วงปี 1902-1904 มาเรียใช้เวลาในการทำวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนของเด็กๆ ในโรงเรียนต่างๆ ในอิตาลี และเธอยังแปลงานเขียนของอิตาร์ดและเซกูนมาเป็นภาษาอิตาลีด้วย
1904 มาเรียผ่านการทดสอบเป็นอาจารย์สอนเลคเซอร์ฟรีให้กับนักศึกษามนุษยศาสตร์ใน ม.โรม
1906 เธอถูกเชิญให้ไปดูแลเด็กกลุ่มหนึ่งในเขตซานโลเรนโซ่ (San Lorenzo district) ชุมชนของผู้มีรายได้น้อยในกรุงโรม 
1907 6 มกราคม, มีการก่อตั้งโรงเรียนที่เปิดสอนตามหลักสูตรมอนเตสซอรี่ (Montessori School) ขึ้นแห่งแรก ในชุมชนผู้มีรายได้น้อยของกรุงโรม ชื่อ the Casa die Bambini  (Children’s House) 
1908 ได้รับการแต่งงานเป็นอาจารย์เลคเชอร์ศาสสตร์ที่ ม.โรม 
1909 มาเรียพิมพ์หนังสือ II Metodo Della Pedagogia Scientifica applicator all’educazione infantile belle Case die Bambini (The Method of Scienfific Pedagogy Applied to the Education of Children in the Children’s House) ซึ่งหนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า The Montessori Method
1910 โน๊ตที่มาเรียใช้สอนในการเลคเซอร์ที่มหาวิทยาลัย ถูกเรียบเรียงพิมพ์ ในชื่อ Pedagogical Anthropology 
1911 ในสหรัฐฯ อเมริกาโรงเรียนตามหลักสูตรมอนเตสโซรีแห่งแรถูกเปิดขึ้นในสคาร์โบร๊อก (Scarborough) นิวยอร์ก ซึ่งโรงเรียนตามหลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จอย่างดีในสหรัฐฯ จนถึงปี 1916 มีโรงเรียนตามหลักสูตรมอนเตสโซรี่เปิดขึ้นถึง 100 แห่งใน 22 รัฐ
1919 มาเรียลาออกจากงานในมหาวิทยาลัยโรมเพื่อทุกเทให้กับงานด้านการศึกษาของเธอ
1929 มีการประชุมสภามอนเตสโซรี่ (1st International Montessori Congress) ขึ้นครั้งแรก ในเดนมาร์ก (Elsinore, Denmark) ซึ่งโอกาสนี้มาเรียและมาริโอ้ลูกชายของเธอได้ก่อตั้งองค์การมอนเตสโซรีสากล (International Montessori Organization) ขึ้นในเนเธอแลนด์ องค์กรนี้มีหน้าทีดูแลสอดส่องโรงเรียนตามหลักสูตรมอสเตสโซรี่ทั่วโลก  ซึ่งองค์กรนี้ยังทำงานจนกระทั้งปัจจุบัน
1932 ในการปรุมสภามอนเตสโซรี่สากล ครั้งที่ 2 (2nd International Montessori Congress) มาเรียกล่าวบรรยายในหัวข้อของการศึกษาและสันติภาพ ซึ่งเธอได้รณรงค์เรื่องสันติภาพมาตลอดหลังจากนั้นในชีวิตของเธอ และมีหนังสือ Education and Peace พิมพ์ออกมา มาเรียเองได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสันติภาพกว่า 3 ครั้งแต่ว่าไม่เคยได้รับรางวัล
1939 มาเรียเดินทางไปอินเดียเพราะได้รับเชิญจากสมาคมธีโอโซฟี่ (Theosophical Society) ให้เป็นเปิดหลักสูตรของเธอในอินเดีย 
1944 Education for a New World and To Educate the Human Potential
1946 The Absorbent Mind
1948 The Discovery of the Child
1949 What You Should Know About Your Child
ปีนี้มาเรียเดินทางกลับยุโรปเพื่อเข้าประชุมสภามอสเตสโซรี่ครั้งที่ 8 ในอิตาลี 

1952 6 มีนาคม, เสียชีวิตในเนเธอแลนด์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!