Numquam prohibere somniantes
Henry Puyi
Henry Puyi

Henry Puyi

1861 22 สิงหาคม, จักรพรรดิเซียนเฟง (Xianfen Emperor) สวรรคต ในช่วงระหว่างเหตุการณ์สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 พระองค์ไม่มีโอรสกับพระมเหสีซีอาน (Empress Dowager Ci’an)  แต่มีพระโอรส คือ เจ้าชายเซียชุน ( Zaichun) ที่ประสูติจากพระสนมเอก (Empress Dowager Cixi,พระนางซูสีไทเฮา) มียังมีพระชนษ์เพียง 5 ชันษา 
ก่อนสวรรคตจักรพรรดิเซียนเฟง ได้มอบตราตั้งให้กับทั้งพระมเหสีซีอาน และพระนางซูสี โดยทรงต้องการให้ทั้งคู่เป็นที่ปรึกษาให้กับ เจ้าชายเซียชุน  ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิตงซี (Tongzhi Emperor) 
พฤศจิกายน, (Xinyou Coup)ไม่นานหลังพระราชพิธีปลงพระศพจักรพรรดิเซียนเฟง พระนางซูสี ก็ได้ทำการรัฐประหารซินยู่ จับผู้สำเร็จราชการ 8 คนเอาไว้ ทำให้อำนาจในราชสำนักอยู่ภายใต้การบริหารของพระนางซูสีเพียงผู้เดียว
1875 13 มกราคม, จักรพรรดิตงซี สวรรคต คาดว่ามาจากการป่วยด้วยโรคฝีดาษ โดยที่พระองค์ไม่มีรัชทายาท
พระนางซูสีจึงได้เลือก เซียะเทียน (Zaitian) โอรสองค์โตของเจ้าชายชุน (Prince Chun) พระโอรสองค์ที่ 7 ของจักรพรรดิเต๋ากวง (Daoguang Emperor) กับหว่านเชน (Yehenara Wanzhen) น้องสาวของพระนางซูสี ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่  พระนามว่า จักรพรรดิกวงซู (Guangxu Emperor)
………………………………..
ปูยี (溥儀, PuYi) ประสูตรเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1906 ในกรุงปักกิ่ง ทรงเป็นสมาชิกของราชสกุล อายซินเจี๋ยหรอ (爱新觉罗,Aisin Gioro) ในราชวงศ์ชิง (Qing dynasty) 
พระบิดาของปูยีคือเจ้าชายเซียเฟง (载沣,Zaifeng) โอรส องค์ที่ 4 ของเจ้าชายชุน 
  ส่วนพระมารดาของพระองค์พระนามยู่หลาน (幼兰,Youlan, 1884-1921) ทรงเป็นธิดาของแม่ทัพรงหลู่ (Ronglu)
1908 14 พฤศจิกายน, จักรพรรดิกวงซู เสด็จสวรรคต
ปูยี ในวัย 2 ขวบ 10 เดือน ได้รับเลือกจากพระนางซูสี ให้รับการราชาภิเษกขึ้นเป็นพระจักรพรรดิ องค์ที่ 12 ของราชวงศ์ชิง โดยได้รับการขานพระนามว่าจักรพรรดิซวนตง (宣统皇帝, Xuantong Emperor)
การที่ปูยีถูกพรากจากครอบครัวตั้งแต่เล็กเพื่อขึ้นเป็นจักรพรรดิทำให้พระองค์ไม่มีโอกาสได้พบกับพระมารดาแท้ๆ กว่าเจ็ดปี ปูยีให้เครดิตแม่นมหวาง เหวนเฉา (Wang Wen-Chao) ว่าเป็นคนๆ เดียวที่สามารถทำให้พระองค์เชื่อฟังได้ แต่ว่าแม่นมหวางถูกพระนางซูสีสั่งให้ออกจากพระราชวังต้องห้ามไปเมื่อปูยีอายุได้ 8 ปี 
วัยเด็กของปูยีมีนิสัยก้าวร้าว และชอบลงโทษบรรดาขันทีอย่างรุนแรง
1911 เกิดการปฏิวัติซินไห่ (Xinhai Revolution) นำโดยพรรคโกะมินตั๋ง (Kuomintang) ของ ดร.ซุน ยัด เซน (Sun Yat-sen) ที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ
1912 12 กุมภาพันธ์, (Imperial Edict of the Abdication of the Qing Emperor) หลังการปฏิวัติซินไห่ นายกรัฐมนตรีหยวน ซื่อไค่ (Yuan Shikai ) ได้เป็นคนกลางเจรจาระหว่างราชสำนักกับฝ่ายสาธารณรัฐจีน จนกระทั้งพระนางซูสียอมประกาศพระราชกฤษฏีกายกเลิกระบบกษัตริย์และราชวงศ์ชิง ประเทศจีนจึงกลายมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ
แต่ว่าปูยียังได้รับอนุญาตให้ใช้บรรดาศักดิ์เดิม และได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ภายในพระราชวังต้องห้ามต่อไป 
1913 พระนางซูสีสวรรคต
1915 หยวน ซื่อไค่ ประกาศแต่งตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิ แต่ว่าต้องล้มเลิกไปเองเพราะถูกต่อต้านจากประชาชนจำนวนมาก
1917 1-12 กรกฏาคม, แม่ทัพซาง ซุน (Zhang Xun) ได้ยกกองทัพเข้ามาในปักกิ่ง และได้ประกาศให้ปูยี เป็นจักรพรรดิจีนอีกครั้ง  แต่ว่าเพียงเวลาสิบกว่าวันคำประกาศของนายพลจาง ชุนก็ไม่มีความหมายเพราะประชาชนทั่วไปไม่สนับสนุน
1919 ปูยี ได้พบกับเซอร์จอห์นตั้น (Sir Reginald Johnston) เป็นชาวสก๊อตแลนด์ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ปูยีเคยเห็น เขาถูกส่งเข้ามาในพระราชวังต้องห้ามโดยรัฐบาล เพื่อให้เป็นพระอาจารย์สอนภาษาอังกฤษให้ปูยี ด้วยอิทธิพลจากเซอร์จอห์นตั้น ปูยี จึงเรียกตัวเองว่า “เฮนรี่” และเรียนภรรยา Wanrong ว่า อลิซาเบธ
นอกจากนี้ปูยียังมีความปรารถนาที่จะไปเรียนที่อ๊อกฟอร์ด เหมือนกับจอห์นตั้นอีกด้วย 
1922 21 ตุลาคม, ปูยีกับเจ้าหญิงหว่านรง (Princess Wanrong) และสนมเว่นซู (Wenxiu) ในคืนเดียวกัน
1924 23 ตุลาคม, แม่ทัพเฟง ยู่เซียง (Feng Yuxiang) บุกยึดกรุงปักกิ่งเอาไว้ได้  
5 พฤศจิกายน, แม่ทัพยู่เซียงได้ประกาศปลดปูยีออกจากบรรดาศักดิ์ให้เหลือฐานะเพียงแค่พลเมืองคนหนึ่ง และยังขับไล่ปูยีออกจากพระราชวังด้วย 
1925 ปูยีเดินทางมาอาศัยอยู่ในเมืองเทียนจิน (Tianjin) โดยมีที่ปรึกษาอย่า เชน เบ๋าเชน (Chen Baochen), เซง เซียะซู (Zheng Xiaoxu) , ลัวะ เชนหยู๋ (Luo Zhenyu) คอยช่วยวางแผนที่จะกอบกู้ราชวงศ์ชิงขึ้นมาอีกครั้ง
1928 สนมเว่นซู หย่ากับปูยี ภายหลังนางไปทำงานเป็นครูและเสียชีวิตในปี 1950 โดยที่ไม่ได้แต่งงานใหม่ , หลังสนมเว่นซูจากไป ญี่ปุ่นได้ส่งโยชิโกะ คาวาชิมทา (Yoshoko Kasashima, Eastern Jewel) ซึ่งเป็นเจ้าหญิงของจีน และเป็นพระญาติกับปูยี แต่ว่าถูกเลี้ยงขึ้นมาในญี่ปุ่นและเธอทำงานเป็นสายลับให้ญี่ปุ่น ได้เข้ามาตีสนิทกับปูยี
1931 ปูยีเขียนจดหมายไปขอยังจิโร่ มินามิ (Jairo Minami) รัฐมนตีสงครามของญี่ปุ่น เพื่อขอความช่วยเหลือในการกอบกู้ราชวงศ์ชิง ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้เสนอว่าจะให้ปูยีเป็นผู้บริหารของแมนจูเรีย
1932 1 มีนาคม, ญี่ปุ่นตั้งปูยี่ขึ้นเป็นผู้นำของรัฐแมนจูกั๋ว  (Manchukuo) รัฐบาลหุ่นของญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณจีนตอนเหนือและเขตมองโกเลียใน
1934 1 มีนาคม, ญี่ปุ่นสนับสนุนปูยีขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกั๋ว แต่ระหว่างนี้ปูยีก็เหมือนกับถูกกักบริเวณอยู่แต่ภายในพระราชวังซอล์ตแท็กซ์ (Salt Tax Palace) โดยญี่ปุ่น เขาไม่สามารถไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ ระหว่างที่เป็นจักรพรรดิของแมนจูกั๋ว ปูยีหันมาสนใจพระพุทธศาสนาและขงจื้อ ทว่าเขายังมีอารมณ์ที่รุนแรง แปรปรวณ และมักลงโทษข้ารับใช้ด้วยการเคี่ยนตี
1935 ปูยีเดินทางไปญี่ปุ่นและได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิญี่ปุ่น
1937 ตาน หยูลิ่ง (Tan Yuling) เด็กสาวาชาวแมนจูจากชนชั้นสูง ถูกส่งเข้ามาในพระราชวังซอล์ตแท็กซ์ เพื่อที่จะให้เป็นนางสนมของปูยี แต่ว่าไม่ปรากฏแน่ชัดว่าทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ทั้งยังมีข่าวลือหนาหูว่าปูยีเองมีรสนิยมชอบเด็กชายด้วย
1940 ญี่ปุ่นเร่ิมบังคับใช้ชาวแมนจูนับถือชินโต มีการสร้างรูปปั่นเทพอมาเตราสุ (Amaterasu) ขึ้นภายในพระราชวัง
1942 ตาน หยูลิ่ง ล้มป่วยและเสียชีวิต
1943 ลี ยูคิน (Li Yuqin) หญิงชาวจีน วัย 16 ปี ถูกส่งมาเป็นสนมคนใหม่ของปูยี 
1945 9 สิงหาคม, (Operation August Storm) สหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และได้ส่งทหารกว่าล้านหกแสนคนบุกแมนจูกั๋ว 
15 สิงหาคม, ปูยีถูกทหารโซเวียตจับตัวเอาไว้ได้ และถูกส่งไปยังไซบีเรีย ไปยังเมืองชิตา (Chita) และต่อมาถูกส่งไปยังคาบารอฟส์ก (Khabarovsk)
1946 ปูยีถูกนำตัวขึ้นสอบปากคำในศาลอาชญากรรมทหารระหว่างประเทศกรณีตะวันออกไกล (International Military Tribunal for the Far East) ในกรุงโตเกียว ซึ่งเมื่อถูกไต่สวนแล้ว ปูยีก็ถูกนำตัวกลับมาขังที่สหภาพโซเวียตเหมือนเดิม  โดยที่เขาได้รับอนุญาตให้มีข้ารับใช้คอยช่วยเหลือ
1949 เมื่อจีนอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong)  โซเวียตก็ได้ยอมส่งตัวปูยีคืนให้กับทางการจีน โดยเขาถูกนำไปคุมขังที่เรือนจำฟุชุน (Fushun War Criminals Management Centre) ในมณฑลเลียวหนิง (Liaoning) ทางการจีนมีความต้องการที่จะเปลี่ยนให้ปูยีกลายเป็นคอมมิวนิสต์เพื่อแสดงความเหนือกว่าสหภาพโซเวียต ที่ไม่สามารถเปลี่ยนพระเจ้าซาร์ให้มาเลื่อมใสระบบคอมมิวนิสต์ได้ 
ชีวิตภายในเรือนจำปูยีมังถูกนักโทษด้วยกันทำร้ายเขา มีเพียงจิน หยวน (Jin Yuan) ที่คอยให้การช่วยเหลือ
1950 เข้าร่วมกับกลุ่มลัทธิเหมา
1959 ได้รับการอภัยโทษจากประธานเหมา และได้กลับมายังกรุงปักกิ่ง ปูยีอยู่ในฐานะประชาชนทั่วไปและได้งานทำเป็นคนสวนในสวนพฤษศาสตร์ปักกิ่ง 
1962 30 เมษายน, ปูยีแต่งงานกับ ลี ชุเซียน (Li Shuxian)  และกลายเป็นสมาชิกสภาประชาชน ในฐานะผู้แทนของเขตแมนจูเรีย
ปูยีเขียนชีวประวัติของตัวเขาเอง From Emperor to Citizen ออกมาด้วยการสนับสนุนจากประธานเหมา
1966 ช่วงการปฏิวัติวัฒธรรม (Cultural Revolution) ปูยี เกือบจะถูกพวกเรดการ์ด (Red Guards) หรือกลุ่มเยาวชนกึ่งติดอาวุธที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์ทำร้าย เพราะเห็นว่าหนังสือชีวประวัติของเขาทำลายชื่อเสียงของจีน 

1967 17 ตุลาคม, เสียชีวิตอาจเพราะโรคมะเร็งตับหรือว่าโรคหัวใจ ขณะมีอายุ 61 ปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!