Numquam prohibere somniantes
Jean-Martin Charcot
Jean-Martin Charcot

Jean-Martin Charcot

ฌอห์น-มาร์ติน ชาร์ค๊อต (Jean-Martion Charcot)
The Founder of Modern Neurology
ชาร์ค๊อต เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 1925 ในกรุงปารีส, ​ฝรั่งเศส ตระกูลของเขาไม่มีปูมหลังทางด้านการแพทย์มาก่อน แต่ชาร์ค๊อตมีความสนใจวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ยังเล็ก และเขามีพรสวรรค์ในการวาดเขียน ซึ่งมีส่วนสำคัญสนับสนุนการค้นคว้าด้านระบบประสาทของเขาในอนาคต
1853 เรียนจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยปารีส ( University of Paris, Sorbonne) จากนั้นได้เข้าทำงานกับโรงพยาบาลซาลปีตรีแยร์ (Salpêtrière hospital) ในปารีส ที่ซึ่งงานวิจัยของชาร์ค๊อตเกี่ยวกับการแยกแยะโรคเกาต์ (qout) ออกจากโรคข้อรูมาตอย์ด (chronic rheumatoid arthritis) ทำให้หน้าที่การงานของเขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนได้กลายเป็นหัวหน้าคลีนิคในโรงพยาบาล
1862 เขาแต่งงานกับมาดาม เดอร์วิส  (Madame Durvis, Augustine Victoire Durvis Laurent Charcot) หญิงม่ายที่มีฐานะร่ำรวย พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน คือ ฌอห์นนี (Jeanne) และฌอห์น-แบพติสเต้ (Jean Baptiste)  
ฌอห์น-แบพติสเต้ เมื่อโตขึ้นเขากลายเป็นนักสำรวจมหาสมุทรอาร์คติค และได้ค้นพบเกาะๆ หนึ่ง ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อว่าเกาะชาร์ค๊อต (Charcot Island) เพื่อเป็นเกียรติแก่บิดาของเขา
1868 ชาร์ค๊อต เริ่มต้นการศึกษาเกี่ยวกับอาการของโรคพาร์คินสัน (Parkinson’s disease) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง
1870 เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซีย (Franco-Prussian war) ระหว่างนี้ชาร์ค๊อตทำงานวิจัยหาวิธีการรักษาโรคไทฟอย์ด (typhoid) และฝีดาษ (small pox)
1872 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านพยาธิกายวิภาค (pathological anatomy) ที่ ม.ปารีส เขาทำงานสอนที่ ม.ปารีสกว่า 30 ปี แต่ยังคงตำแหน่งที่โรงพยาบาลซาลปีตรีแยร์ไปด้วย
1882 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์โรคระบบประสาท ที่ ม.ปารีส  และก่อตั้งคลีนิคด้านระบบประสาทขึ้นภายในโรงพยาบาลซาลปีตรีแยร์ ซึ่งถือเป็นคลีนิคแห่งแรกในศาสตร์สาขานี้ ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์ด้านระบบประสาท  คลีนิคแห่งนี้ยังมีส่วนนำร่องในศาสตร์สาขาจิตพยาธิวิทยา (Psychopathology) ลูกศิษย์ของชาร์ลค๊อต ที่มีชื่อเสียง อาทิ ซึกมัน ฟรอยด์  (Sigmund Freud) และอัลเฟรอ ไบเน็ต (Alfred Binet), ปิแอร์ จาเน็ตต์ (Pierre Janet)
1883 ได้เป็นสมาชิกของ Academy of Sciences 
1888 มีผลงานเขียน Lecons du mardi ผลงานซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของเขา
ชาร์ลค๊อตนิยามโรคต่างๆ หลายโรค เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis)  , โรค ALS (AMYOTROPHIC LATERAL SCLEROSIS) โรคทางระบบประสาทที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอ่อนแรง,  ชื่อของเขายังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อโรคต่างๆ หรือส่วนต่างๆ ในร่างกายกว่าสามสิบชื่อ อาทิ Charcot-Marie-Tooth disease, Charcot’s syndrome, Charcot’s Triads, Charcot’s zones, Charcot’s foot, Charcot-Leyden crystals.
ช่วงท้ายของชีวิตเขาศึกษาเกี่ยวกับอาการฮีสทีเรีย (hysteria) ซึ่งเขาได้นำเอาวิธีการสะกดจิต (hypnotism) มาใช้ในการศึกษาด้วย แต่ว่าตอนหลังได้เลิกใช้การสะกดจิตไปเพราะเชื่อว่ามันไม่ได้ผลกับการค้นคว้าวิจัยของเขา
1893 16 สิงหาคม, ชาร์ลค๊อตเสียชีวิต จากอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจ ในมอร์แวน (Morvan, France)

ชาร์ค๊อตได้รับฉายาว่าเป็นนโปเลียนแห่งระบบประสาท (Napolean of the Neuroses)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!