Numquam prohibere somniantes
Yemelyan Pugachev
Yemelyan Pugachev

Yemelyan Pugachev

เยเมลยัน ปูกาเชฟ (Емельня Иванович Пугачёв)
ปูกาเชฟ เกิดราวปี 1742 เขาเกิดในหมู่บ้านซิโมเวย์สกาย่า (Zimoveyskaya village) ในดอน (Don) ริมฝั่งแม่น้ำโวลก้า สถานที่ที่เขาเกิดอยู่ในเขตโวลโกกราด (Volgograd Oblast) ปัจจุบัน
ปูกาเชฟเป็นลูกคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องทั้งหมดสี่คน พ่อของเขาชื่ออีวาน (Ivan Mikhailovich Pugachev) เป็นชาวคอสแซ็ค (Cossack) และแม่ชื่อแอนน่า (Anna)
ชาวคอสแซ็คในยุคนั้นได้รับอิสระจากรัฐบาลรัสเซีย  โดยที่พวกเขาแลกกับการเป็นทหารให้พระเจ้าซาร์หากเกิดสงคราม แต่ในยามปกติเขาใช้ชีวิตได้อย่างอิสระในลุ่มแม่น้ำโวลก้า และดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์และหาปลาในแม่น้ำ
1756 เกิดสงคราม 7 ปี (Seven Years War, 1756-1763) ระหว่างรัสเซียกับปรัสเซีย
เมื่ออายุได้ 17 ปี ปูกาเชฟได้แต่งงานกับหญิงชาวคอสแซ็คด้วยกัน ชื่อโซเฟีย (Sofya Nedyuzheva)  และมีลูกด้วยกัน 5 คน  แต่ไม่นานหลังแต่งงานปูกาเชฟก็ต้องเข้าเป็นทหารในกองทัพรัสเซีย และถูกส่งไปร่วมรบในสงคราม 7 ปี
1762 เขากลับจากสงคราม แต่ยังคงเป็นทหารอยู่ในหมู่บ้าน
1768 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและตุรกี (Russo-Turkish war, 1768-1744) ปูกาเชฟได้เข้าร่วมในสงครามนี้ด้วย
1770 กันยายน, ร่วมรบในการบุกเบนเดอร์ (the siege of Bender)
วีรกรรมในสงครามทำให้ปูกาเชฟได้รับยศเป็น โครันซี  (khorunzhy) ซึ่งเป็นบังคับหน่วยทหารของคอสแซ็ค 
แต่ไม่นานเมื่อเข้าฤดูหนาวเขาก็ล้มป่วยอย่างหนักและได้ถูกส่งกลับไปพักฟื้นที่บ้าน แต่เมื่อหายดีแล้วเขาปฏิเสธที่จะกลับเข้ากองทัพ และพยายามหลบหนี  
1771 เขาหนีไปยังคอเคซัสตอนเหนือ เพื่อไปอยู่กับคอสแซ็คในเตเร็ค (Terek)
1772 กุมภาพันธ์, เขาถูกจับระหว่างอยู่ในมอซด๊อก (Mozdok) แต่ไม่นาก็ถูกเจ้าหน้าที่ทางการจับตัวไว้ได้ แต่เขาก็สามารถหลบหนีออกมาจากที่คุมขังได้อีก
ปูกาเชฟได้หลบหนีมาเข้าร่วมกับกลุ่มเยี๊ยกคอสแซ็ค (Yaik Cossacks) ในเขตมาลีกอฟก้า (Malykovka District)  ริมแม่โวลก้า ชาวเยี๊ยกคอสแซ็คนี้กำลังประท้วงอัตราภาษีใหม่ที่ถูกเรียกเก็บจากทางการ จนชาวคอสแซ็คก่อจราจล และได้สังหารนายพลฟอน ทรัวเบนเบิร์ก (General von Traubenberg) ซึ่งพระเจ้าซาร์ส่งมาดูปัญหาของชาวคอสแซ็คถามที่พวกเขาได้ถวายฏีกาไป แต่นายพลฟอน ทรัวเบเบิร์ก เลือกที่จะลงโทษผู้ไม่ยอมปฏิบัติตามนโยบายของรัฐอย่างเด็ดขาดทำให้สถานะการณ์การประท้วงบานปลาย 
ปูกาเชฟได้กลายเป็นแกนนำของผู้ประท้วง  โดยในตอนแรกเขาแสดงตัวว่าเป็นพ่อค้าที่มั่งคั่ง และสัญญาว่าจะให้อิสระภาพและเงินทองแก่ชาวคอสแซ็ค และชาวบ้านทั่วไปที่ยอมติดตามเขา โดยเขาจะนำคนทั้งหมดย้ายหนีไปยังตุรกี 
1773 4 มกราคม, ปูกาเชฟถูกจับได้ และถูกส่งตัวไปยังคาซาน (Kazan)  เพื่อดำเนินคดีในข้อหากบฏ
1 มิถุนายน, คำสั่งจากซาร์ดินาแคทเธอรีน ลงโทษให้เขาต้องทำงานหนักตลอดชีวิต  แต่ว่าสามวันหลังจากมีคำสั่งลงโทษ ปูกาเชฟหนีออกจากเรือนจำไปได้
ปูกาเชฟกลับมาอยู่กับคอสแซ็คในเยี๊ยก  แต่ครั้งนี้ปูกาเชฟคิดการใหญ่ขึ้น เขาสมอ้างตัวเองว่าเป็นซาร์ ปีเตอร์ ที่ 3 (Tsar Peter III) พระสวามีของจักรพรรดินีแคทเธอรีน (Catherine the Great) ซึ่งถูกปลงพระชนษ์ไปตั้งแต่ ปี 1762  ตอนที่จักรพรรดินีแคทเธอรีนทำการปฏิวัติ แต่ว่ายังคงมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าพระองค์ยังคงมีพระชนษ์ชีพอยู่
การสมอ้างเป็นซาร์ปีเตอร์ ที่ 3 ทำให้ไม่เพียงชาวคอสแซ็คเท่านั้นที่อยู่ฝ่ายเขา แต่ยังมีชาวบ้านเกษตรกร และทาสที่เดือนร้อนเช่นกันร่วมสนับสนุนปูกาเชฟด้วย เขาสัญญาที่จะให้ที่ดินฟรี เกลือฟรี และยังจะยกฐานะของชาวคอสแซ็คให้กลายเป็นชนชั้นสูงในสังคมรัสเซีย ทำให้ผู้สนับสนุนเขาเพิ่มขึ้นเป็นกว่าหมื่นคน
17 กันยายน, การก่อกบฏเริ่มต้นขึ้น
ตุลาคม, ​กองกำลังของปูกาเชฟสามารถยึดเมืองโอเร็นเบิร์ก (Orenburg) ศูนย์กลางราชการในเขตแม่น้ำยูราล (Ural River) เอาไว้ได้ พวกเขายึดเมืองเอาไว้ได้นานกว่าหกเดือน 
1774 ซาร์ดินาแคทเธอรีน ได้สั่งให้นายพลปีเตอร์ (Petr Ivanovich Panin) ยกกองทัพขนาดใหญ่มาปราบปรามกลุ่มกบฏ ซึ่งกองทัพรัฐบาลสามารถยึดเมืองโอเร็นเบิร์กกลับคืนมาได้ แต่ว่าปูกาเชฟสามารถหลบหนีไป
กรกฏาคม, ปูกาเชฟนำกำลังที่เหลือยึดเมืองคาซาน ซึ่งการกบฏของปูกาเชฟ กลายเป็นตัวอย่างให้ทาสกลุ่มอื่นๆ เลียนแบบและขยายวงไปหลายเมืองทั่วรัสเซีย เมืองที่ใกล้มอสโคว์ที่สุดคือ นิซนี นอฟโกรอด  (Nizhny Novgorod) 
แคทเธอรีนส่งนายพลอีวาน มิเคลสัน (Ivan Ivanovich Michelson) ทหารมาปราบปรามปูกาเชฟที่คาซาน ซึ่งแม้จะสามารถทำลายกองทัพกบฏปูกาเชฟได้แต่ตัวเขาเองก็หนีไปได้อีกครั้ง
ปูกาเฟชหนีกลับไปที่เยี๊ยกคอสแซ็ค หวังว่าจะได้รวบรวมกองกำลังขึ้นมาใหม่ แต่เขากลับถูกหักหลังและจับตัวเอาไว้ และนำตัวส่งทางการ ปูกาเชฟถูกส่งตัวมามอสโคว์เพื่อดำเนินคดี

1775 10 มกราคม, ปูกาเชฟถูกประหารชีวิต โดยมีการตัดศรีษะของเขาต่อหน้าสาธารณชนที่บริเวณจตุรัสโบล๊อตนาย่า (Bolotnaya square) ในมอสโคว์ และร่างถูกนำไปแยกเป็นสี่ส่วน ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นถูกนำไปแสดงในจุดต่างๆ ทั่วเมืองในวันนั้น ก่อนที่จะถูกฝังในวันต่อมา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!