Numquam prohibere somniantes
Henry Molaison
Henry Molaison

Henry Molaison

เฮนรี่ โมไลสัน (Henry Gustav Molaison)
เฮนรี่ เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1926 ในเมืองแมนเชตเตอร์, คอนเน็คติคัต (Manchester, Connecticut) ห่างจากฮาร์ทฟอร์ด (Hartford) ราวสิบไมล์ 
พ่อของเขาชื่อกุสตาฟ (Gustave Henry Molaison) เป็นช่างไฟฟ้า ส่วนแม่ชื่ออลิซาเบธ (Elizabeth McEvittt Molaison)  เฮนรี่เป็นลูกเพียงคนเดียวของพวกเขา
1943 เข้าเรียนที่ฮีสฮาร์ทฟอร์ดไฮซ์ (East Hartford High)
1947 จบมัธยมปลาย 
หลังเรียนจบ เฮนรี่เริ่มทำงานในโรงงานมอเตอร์ Willimantic motors และต่มาย้ายมาทำที่โรงงานผลิตเครื่องพิมพ์ดีด Underwood Typewriter Company
1953 เฮนรี่ วัย 27  ปี ถูกส่งตัวมาเป็นคนไข้ของหมอวิลเลี่ยม สโควิลล์ (William Beecher Scovile) ที่โรงพยาบาลฮาร์ทฟอร์ด  แพทย์ศัลยกรรมประสาท ซึ่งหมอวิลเลี่ยมได้วินิจฉัยว่าสมองส่วนขมับ (temporal lobes) ด้านขวาและซ้ายของเขามีปัญหา 
ครอบครัวคาดว่า อุบัติเหตุเมื่อตอนที่เฮนรี่อายุได้ 7 ขวบ เขาตกจากรถจักรยาน น่าจะเป็นสาเหตุให้เขาเกิดอาการชัก (epilepsy) แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด เพราะหลังอุบัติเหตุเฮนรี่ไม่ได้เกิดอาการลมชักโดยทันที เขามีอาการครั้งแรกตอนอายุ 10 ปี , ส่วนในตระกูลของกุสตาฟฝ่ายพ่อก็มีญาติพี่น้องซึ่งเคยป่วยลักษณะนี้สองคน ซึ่งอาจจะเป็นโรคทางพันธุกรรมในตระกูล , ช่วง 10 ขวบ ที่เกิดอาการลมชักครั้งแรก เขาจะมีอาการสั้นๆ จัดเป็น petit mal seirzures ซึ่งมีอาการเพียงไม่กี่วินาที หายใจแรง ตัวเกรง แต่ไม่ถึงกับหมดสติหรือตัวสั้น แต่อาการรุ่นแรงขึ้นเป็น grand mal seizure เมื่อเขาอายุ 13 ปี มีอาการเกร็ง ตัวสั่น น้ำลายฟูมปาก และหมดสติ 
25 สิงหาคม, เฮนรี่ถูกนำตัวเข้ารับการผ่าตัด โดยมีการตัดสมองส่วน temporal lobes, amygdaloid complex, entorhinal cortex  ออก
  ซึ่งเมื่อโมไลสัน ฟื้นขึ้นมา ปรากฏว่าสมองของเขาสูญเสียความสามารถในการจดจำข้อมูลใหม่ (anterograde amnesia) รวมถึงข้อมูลเดิมบางส่วนหายไป เช่น เขาสามารถพูดคุยได้ แต่ว่าไม่กี่นาทีหลังจากนั้นเขาก็จะลืมเรื่องที่คุยกัน 
เฮนนี่กลายเป็นตัวอย่างที่สำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับสมองและกระบวนการสร้างความทรงจำ ชื่อของเขาไม่เคยถูกเปิดเผยจนกระทั้งเขาเสียชีวิ ก่อนหน้านั้นเขาถูกอ้างอิงในรายงานการศึกษามากมายว่า HM 
2008 2 ธันวาคม, เฮนรี่เสียชีวิต ในวัย 82 จากระบบการหายใจล้มเหลว , เมื่อเขาเสียชีวิตลง สมองของเขาถูกนำไปสแกนด้วยเครื่อง MRI ทันทีนานกว่าเก้าชั่วโมง ก่อนที่จะนำมาเก็บรักษาด้วยการแช่แข็ง
2009 สมองของเขาถูกนำมาตัดเป็นแผ่นไสลด์บางๆ 2,401 แผ่น

2014 สมองของเฮนรี่ถูกสร้างเป็น 3D

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!