Soviet in Afghan War
1969 กลุ่มมุสลิมหัวรุ่นแรง ประกาศว่าต้องการที่จะสร้างอัฟกานิสถานให้เป็นรัฐอิสลามอย่างแท้จริง ปากีสถานในสมัยของประธานาธิบดีซัลฟิการ์ บุตโต (Zulfikar Ali Bhutto) ก็ได้ให้ความช่วยเหลือในการก่อตั้งกลุ่ม Jamayat-E-Islami โดยมีอาจารย์นักศึกษาของมหาวิทยาลัยคาบูล (Kabul University) อย่าง กุลบุดดิน เฮ็กมัตยาร์ (Gulbuddin Hekmatyar), เบอร์ฮานุดดิน รับบานี (Burhanuddin Rabbani) , อับดุล เซย์ยาฟ ( Abdul Sayyaf) เป็นแกนนำ
1973 17 กรกฏาคม, อดีตนายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด เดาอุ๊ด (Mohammed Daoud) ของอัฟกานิสถาน ก่อการปฏิวัติ โค่นล้มการปกครองของกษัตริย์โมฮัมเหม็ด ซาไฮร์ (King Mohammed Zahir) , อัฟกานิสถานจึงกลายสถานะเป็นสาธารณรัฐ
ประธานาธิบดีเดาอุ๊ด นั้นปกครองบ้านเมืองแบบเผด็จการ เขาพยายามจะทำการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศขนานใหญ่ แต่ว่าจบลงด้วยความล้มเหลว
ขณะเดียวกันพรรคการเมืองนิยมลัทธิมาร์กซ PDPA (People’s Democratic Party of Afghanistan) นำโดยนูร์ มูฮัมหมัด ตารากิ (Nur Muhammad Taraki) และบาบรัค คาร์มาล (Babrak Karmal) ไ้ด้รับความนิยมสูงขึ้นในประเทศ
แต่พรรค PDPA นั้นไม่สนับสนุนเดาอุ๊ด, เดาอุ๊ตสั่งให้มีการปราบปรามสมาชิกของพรรค PDDA และยังพยายามจับตัวสมาชิกของกลุ่ม Jamayat-e Islami ด้วย
1975 กลุ่ม Jammayet-e Islami พยายามจะโค่นล้มรัฐบาล โดยเริ่มก่อจราจลประท้วงในหมู่บ้านปันจ์ชีร์ (Panjshir Valley) ห่างจากรุงคาบูลไปทางเหนือประมาณร้อยกิโลเมตร หลัจากนั้นก็มีการประท้วงในอีกหลายจังหวัดกระจายไปทั่วประเทศ
1978 27 เมษายน, ปฏิวัติเมษายน (Saur Revolution) นำโดยกองทัพของอัฟกานิสถานที่สนับสนุนพรรค PDPA ได้ทำการปฏิวัติโค่นล้มประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด เดาอุ๊ต , คณะปฏิวัติได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน (Democratic Republic of Afghanistan) โดยที่นูร์ โมฮัมหมัด ตารากิ รับตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี และตำแหน่งเลขาธิการของพรรค PDPA
แต่ว่าภายในพรรค PDPA ก็แตกออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่าย Khalq ที่สนับสนุนนูร์ โมฮัมหมัด ตารากิ และฝ่าย Parcham ที่สนับสนุนบาบรัค คาร์มาล ซึ่งความขัดแย้งภายในพรรคทำให้นูร์ โมฮัมหมัด ตารากิ สั่งปราบปรามฝ่ายตรงข้ามภายในพรรรค
5 ธันวาคม, มีการลงนามสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างโซเวียต-อัฟกานิสถาน (Treaty of Friendship) โดยโซเวียตให้ความช่วยเหลืออัฟกานิสถานในการปฏิรูปเศรษฐกิจ และยังให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อัฟกานิสถานด้วย
แต่ว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรค PDPA ไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวอัฟกันเพราะมองว่าขัดกับศาสนาและประเพณีดังเดิม
1979 กุมภาพันธ์, อโดลฟ์ ดับส์ (Adolph Dubs) ทูตสหรัฐฯ ประจำอัฟกานิสถาน ถูกลักพาตัวโดยกลุ่ม Settam-e-Melli กลุ่มคอมมิวนิสต์หัวรุ่นแรง ซึ่งทางการอัฟกานิสถานได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปช่วยโดยเจ้าหน้าที่ของโซเวียตเป็นที่ปรึกษา แต่ว่าทำให้ทูตดัปส์เสียชีวิตระหว่างการจู่โจม เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอัฟกานิสถาน-โซเวียตตึงเครียด
ขณะเดียวกันเกิดการปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution) ทำให้อเมริกาสูญเสียพระเจ้าซาห์แห่งอิหร่านซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญในตะวันออกกลางไป และอิหร่านกลายมาเป็นศัตรูของสหรัฐฯ
มีนาคม, เกิดการกบฏต่อต้านรัฐบาลขึ้นในเมืองเฮรัต (Herat) ประธานาธิบดีนูร์ โมฮัมหมัด ตารากิ เริ่มปรึกษาโซเวียตเกี่ยวกับการส่งทหารเข้ามาประจำการณ์ ซึ่งโซเวียตยังคงปฏิเสธ แต่ว่าได้ส่งเจ้าหน้าที่บางส่วนเข้ามาทำหน้าเป็นการ์ดที่ดูแล ประธานาธิบดีนูร์ โมฮัมหมัด ตารากิ
3 กรกฏาคม, (Operation Cyclone) จากหนังสือ From the Shadows โดยโรเบิร์ต เกต (Robert Gates) ผู้อำนวยการของซีไอเอ, ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) ได้ลงนามในคำสั่งลับ อนุญาตให้มีการสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอัฟกานิสถาน จนเกิดเป็นกลุ่ม Mujahadeen , 6 เดือนก่อนที่โซเวียตจะบุกอัฟกานิสถาน ซึ่งสอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของซบิกเนียฟ เบรซ์ซินสกี (Zbigniew Brzezinski) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของคาร์เตอร์
ปากีสถาน ในสมัยของประธานาธิบดีมูฮัมหมัด เซีย-อัล-อัค (Muhammad Zia-ul-Haq) ได้ยอมให้อเมริกาใช้ประเทศเป็นฐานในการฝึกมูจาฮีดีน โดยมีมูจาฮีดีนเกือบแสนคนที่ถูกฝึกออกมาในช่วงสงครามอัฟกานิสถานนี้
กันยายน, ประธานาธิบดีมูฮัมหมัด ตารากิ เดินทางมามอสโคว์เพื่อขอการสนับสนุนจากโซเวียต แต่ว่าหลังจากกลับมายังกรุงคาบูล เขาถูกรองนายกรัฐมนตรีฮาฟิซุลลาห์ เอมิน (Hafizullah Amin) ทำการรัฐประหาร , ประธานาธิบดีนูร์ โมฮัมหมัด ตารากิ ถูกจับและประหารชีวิต
ทางการโซเวียตไม่พอใจการปฏิวัติของฮาฟิซุลลาห์ เอมิน เพราะเขามีแนวโน้มที่จะหันไปพึงพาสหรัฐฯ รายงานของเคจีบีซึ่งตอนนั้นยูริ แอนโดรปอฟ (Yuri Andropow) เป็นผู้อำนวยการของเคจีบี ได้รายงานต่อรัฐบาลโซเวียต ว่าฮาฟิซุลลาห์ เอมิน มีการติดต่อกับสหรัฐ
โซเวียตในสมัยของเลโอนิค เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) ตัดสินใจส่งกองทัพเข้าไปในอัฟกานิสถาน ซึ่งในที่ประชุมโพลิตบุโรของโซเวียต มีเพียงอเล็กซี โคไซกิ้น (Alexei Kosygin) ที่ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงของโซเวียตในอัฟกานิสถาน
24 ธันวาคม, โซเวียตส่งกองทัพเข้าไปยังกรุงคาบูลทางอากาศ โดยหน่วยทหารอากาศ 350 (350th Guards Airborne Regiment) เป็นชุดแรก นำโดยพลโคจอร์จี้ ชรัค (Co.Gen George Shpak) โดยใช้ท่าอากาศยานกรุงคาบูล และฐานทัพอากาศเบแกรม (Bagram Air Base) ตามด้วย345 (345th parachute-landing regiment) จากนั้นวันต่อมาหน่วยทหารบกที่ 40 (40th army) ได้ข้ามพรหมแดนเข้ามาทางเติร์กเมนิสถาน
27 ธันวาคม, ทหารของโซเวียตบุกทำเนียบประธานาธิบดีเอาไว้ได้ ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงก็ยึดทำเนียบเอาไว้ได้ และประธานาธิบดีฮาฟิซุลลาห์ เอมิน ก็เสียชีวิตระหว่างการบุกจู่โจมนี้
และในช่วงค่ำของวันนั้นโซเวียตก็ได้ออกประกาศทางวิทยุ ตั้งบาบรัค คาร์มาล จากพรรค PDPA ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทน
1981 โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในยุคของเรแกนสหรัฐฯ มีการเพิ่มงบประมาณทางด้านการทหารอย่างมาก มีการริเริ่มแผ่นยุทธศาสตร์ด้านกลาโหม (Startegic Defense Initiative) ซึ่งสื่อเรียกว่าเป็นโครงการ “สตาร์วอร์” ซึ่งกลายเป็นยุคที่มีการแข่งขันการสะสมอาวุธระหว่างสองมหาอำนาจรุนแรง ในปากีสถาน-อัฟกานิสถาน สหรัฐฯ เพิ่มความช่วยเหลือให้กับมูจาฮีดีน
นอกจากนั้นทั้ง อิหร่าน, จีน, อิสราเอล และอีกหลายประเทศก็ร่วมมือให้การสนับสนุนมูจาฮีดีนด้วย
1983 ฟิกเรียต ตาเบเยฟ (Fikryat Tabeyev) ทูตโซเวียตประจำอัฟกานิสถาน ให้สัมภาษณ์ว่า เขาเชื่อว่าโซเวียตจะถอนทหารในเร็วๆ นะ เพราะว่าแอนโดบอฟ (Yuri Andropov) มารับตำแหน่งผู้นำแทนแล้ว และเขาเข้าใจสถานการณ์ดี
1984 16 มกราคม, กลุ่มมูจาฮีดีน ใช้มิสไซด์ Strela-2M ที่ยึดได้จากทหารโซเวียต ยิงเครืองบิน Su-25 ตก ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่การโจมตีเครื่องบินรบด้วย MANPADS ในอัฟกานิสถานได้ผล
27 ตุลาคม, เครื่องบินลำเลียง Il-76 ถูกยิงตกในกรุงคาบูล
1986 กุมภาพันธ์, ในที่ประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 27 , มิคาอิล กอร์ปาเชฟ (Mikhail Gorbachev) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และผู้นำคนใหม่ ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับแผนขั้นตอนในการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน
Stinger effect, ในปีนี้สภาคองเกรสอนุมัติเงินจำนวนหลายร้อยล้านเหรียญเพื่อสนับสนุนกลุ่มมูจาฮีดีน โดยเงินดังกล่าวถูกนำไปซื้อมิสไซด์สตินเจอร์ MANPADS ของสหรัฐฯ ซึ่งถูกนำไปใช้รบกับเฮลิคอปเตอร์และอากาศยานของโซเวียต ทำให้โซเวียตสูญเสียเฮลิคอปเตอร์หลายร้อยลำ โลกตะวันตกยกย่อง มิสไซด์สตินเจออร์นี้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม
1988 14 เมษายน, ในสวิสเซอร์แลนด์, รัฐมนตรีต่างประเทศของอัฟกานนิสถานและปากีสถานได้ลงนามในข้อตกลงเจนีวา (Geneva Accords) ซึ่งโซเวียตสัญญาว่าจะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานภายในเวลา 9 เดือน และสหรัฐฯ ตกลงจะหยุดให้การสนับสนุนกลุ่มมูจาฮีดีน
15พฤษภาคม, โซเวียตเริ่มถอนทหารชุดแรกออกจากอัฟกานิสถาน
1989 มกราคม, Operation Typhoon ปฏิบัติการณ์ครั้งสุดท้ายของซีไอเอ ในช่วงสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน
15 กุมภาพันธ์, โซเวียตถอนกองทัพที่ 40 เป็นชุดสุดท้ายออกจากอัฟกานิสถาน โดยบอนายพลบอริส โกรมอฟ (B Gromov) ผู้บัญชาการกองทัพที่ 40 เป็นคนสุดท้ายที่ออกจากอัฟกานิสถาน ขณะข้ามแม่น้ำอมู ดาร์ย่า (Amu Darya) โดยเขาพูดประโยคทิ้งท้ายเอาไว้ว่า “The is not a single Soviet soldier behide me / ไม่มีทหารโซเวียตสักคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”
9 ปีของสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตห้าแสนถึงสองล้านคนแล้วแต่การประเมิน เพราะว่าไม่มีผู้รู้จำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่ชัด
ฝ่ายของโซเวียต ข้อมูลทางการบอกว่าสูญเสียทหาร, เคจีบี และหน่วยข่าวกรองทหารไปรวมกัน 13,833 นาย
2001 11 กันยายน, (9/11) เกิดเหตุก่อการร้ายโจมตีสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ อ้างว่า โอซามา บิน ลาเดน (Osama bin Laden) และกลุ่ม al-Qaeda ของเขา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ , บิน ลาเดน นั้นเป็นชาวซาอุฯ และเป็นอดีตมูจาฮีดีน ซึ่งสหรัฐฯ เคยให้การสนับสนุนในช่วงสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน
20 กันยายน, (War on Terror) สหรัฐฯ บุกอัฟกานิสถาน โดยอ้างเหตุผลเรื่องการปราบปราบการก่อการร้าย
14 ปี สหรัฐฯ ยังคงทำสงครามอยู่ในอัฟกานิสถาน โดยสูญเสียทหารไปเกือบเจ็ดหมื่นนาย และชาวอัฟกานิสถานตายไปกว่าสองแสน