Numquam prohibere somniantes
August Landmesser
August Landmesser

August Landmesser

ออกุส แลนด์เมสเซอร์ (August Friedrich Landmesser )
ชายผู้ไม่ทำความเคารพฮิตเลอร์
ออกุส เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1910 ในไฮเดร็ก (Heidrege, Moorrege, Hamburg)  เป็นลูกคนเดียวของออกุส ฟรานซ์ แลนด์เมสเซอร์ (August Franz Landmesser) กับวิลเฮลไมน์ (Wilhelmine Magdalene Schmidtpott) 
1931 ออกุส เข้าเป็นสมาชิกของพรรคนาซี (NSDAP) เพราะหวังว่าจะได้รับงานดีๆ ทำ
1935 หมั่นกับเออร์ม่า (Irma Eckler) โดยตอนที่หมั่นนั้นเขาไม่รู้ว่าเธอมีเชื้อชาวยิว  ทำให้ต่อมาออกุสถูกไล่ออกจากพรรค
1935 ออกุสวางแผนที่จะแต่งงานกับเออร์ม่า ในฮัมบูร์ก แต่ว่าก่อนที่ทั้งคู่จะได้เข้าพิธีแต่งงาน รัฐบาลเยอรมันก็ได้ประกาศใช้กฏหมาย Nuremburg Laws ซึ่งห้ามไม่ให้คนเยอรมันแต่งงานกับคนยิว
29 ตุลาคม, ลูกสาวของออกุสกับเออร์ม่า คลอดออกมา โดยมีชื่อว่าอินกริด (Ingrid) 
1936 13 มิถุนายน, ภาพถ่ายซึ่งถ่ายติดรูปของออกุส ถูกถ่ายเอาไว้ได้ โดยสถานที่เป็นอู่ต่อเรือ Blohm & Voss ในแฮมบูร์ก ซึ่งในภาพแรงงานจำนวนมากได้มารวมตัวกันอยู่บนเรือ Horse Wessel และยกมือขึ้นทำสัญลักษณ์การแสดงความเคารพแบบนาซี ยกเว้นชายคนเดียว (ซึ่งเชื่อกันว่า) คือ ออกุส ซึ่งใช้มือกอดไว้ที่หน้าอก 
ภาพถ่ายนี้มีชื่อเสียง หลักจากถูกตีพิมพ์ครั้งแรก ลงในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ Die Zeit ของเยอรมัน ฉบับ วันที่ 22 มีนาคม 1991
Gustav Wegert
1937 ออกุสพยายามพาเออร์ม่า หนีไปยังเดนมาร์ค ทว่าถูกทางการจับกุมตัวเอาไว้ได้ พวกเขาถูกลงโทษในฐานความผิดที่ไม่เคารบต่อกฏหมายนูเร็มบูร์ก ที่ไม่ให้เกียรติกับเผ่าพันธ์ของตนเอง แต่ว่าออกุสได้ต่อสู้ว่าพวกเขาทั้งคู่ไม่รู้หรอกว่าเออร์ม่ามีเชื้อสายของยิว
1938 27 พฤษภาคม, พวกเขาพ้นจากข้อกล่าวหา โดยเหตุว่าหลักฐานไม่เพียงพอ
15 กรกฏาคม, ออกุสถูกจับตัวอีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้ถูกลงโทษให้ไปอยู่ในค่ายกักกัน Börgermoor concentraion camp เป็นเวลาสองปีครึ่ง ส่วนเออร์ม่า ถูกจับตัวขังไว้ในเรือนจำ Fuhlsbüttel prison  ระหว่างนี้เธอก็ให้กำเนิดลูกคนที่สองของทั้งคู่ ชื่อว่า อีรีน (Irene) ก่อนที่ต่อมาเธอจะถูกส่งตัวไปที่ค่ายกักกันโอราเนียนบรูร์ก (Oranienburg concentration camp) , และลิชเตนบูร์ก (Lichtenburg concentration camp) และสุดท้ายมาอยู่ที่ค่ายกักกัน Ravensbrück  concentration camp ซึ่งเป็นค่ายกักกันเฉพาะาสตรี
1941 19 มกราคม, ออกุสพ้นโทษและได้รับการปล่อยตัว  หลังจากนั้นเขาได้งานเป็นช่างอยู่ที่บริษัท Püst
1942 กุมภาพันธ์, เชื่อกันว่าเออร์ม่า ถูกประหารชีวิตพร้อมๆ กับนักโทษคนอื่นๆ อีก 14,000 คน ในโรงพยาบาลจิตเวช Bernburg Euthanasia Centre  ในเดสซัว (Dessau) โดยหลักฐานจากจดหมายที่เธอเขียนระหว่างอยู่ที่ค่ายกักกัน 
1944 กุมภาพันธ์, ออกุสถูกเรียกเกณฑ์ทหาร โดยได้ประจำในหน่วยกองพันทหารบกที่  999 (999th Fort Infantry Battalion)
17 ตุลาคม, เชื่อกันว่าออกุสเสียชีวิตระหว่างการรบในโครเอเทีย 
1949 สิงหาคม, หลังสงครามโลก ทางาการเยอรมัน ได้ประกาศให้เออร์ม่าเป็นผู้คนซึ่งเสียชีวิตแล้วตามกฏหมาย โดยระบุวันเสียชีวิตของเธอไว้วันที่ 28 เมษายน 1942 , ออกุสเองก็ได้รับการประกาศว่าเสียชีวิตตามกฏหมายในปีนี้เช่นกัน
ลูกของทั้งคู่ อินกริด นั้นถูกส่งกลับไปให้ยายดูแลจนกระทั้งยายเสียชีวิตในปี 1953 อินกริดก็ต้องไปอยูในสถานสงเคราะห์ , ส่วน  อีรีน นั้นถูกส่งไปไว้ที่สถานสงเคราะห์
1951 สภาสูงของเมืองแฮมบูร์ก ได้มีมติรับรองว่าออกุสและเออร์ม่าได้สมรสกันอย่างถูกต้อง  อินกริด และอีรีน จึงสามารถใช้นามสกุลของบิดาได้ แต่อีรีน นั้นเลือกที่จะยังคงใช้นามสกุลมารดาต่อไป
อีรีน ต่อมาเป็นผู้เขียนหนังสือ A family torn apart by “Rassenschande”(Racial defilement): Political persecution in the Third Reich ซึ่งอ้างว่าภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงดังกล่าวเป็นรูปของบิดาเธอ

อย่างไรก็ตาม มีผู้แย้งว่าชายในรูปที่แท้จริงคือ กุสตาฟ เวเกิร์ต (Gustav Wegert)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!