เซโน่ แห่ง ซิเตียม (Ζήνων ο Κιτιεύς)
ผู้ก่อตั้งปรัชญา Stoicism
เซโน่เกิดราวปี 334 BC. ในเมืองซิเตียม ในไซปรัส (Cyprus) เป็นลูกชายของพ่อค้าที่มีฐานะร่ำรวย ซีโน่ทำงานค้าขายจนกระทั้งเขาก่อตั้งโรงเรียนของตัวเองขึ้นมาตอนอายุ 42 ปี
311 BC หนังสือ Lives and Opinions of Eminent Philosophers ของดิโอจีเนส เลอร์เตียส (Diogenes Laertius) นักประวัติศาสตร์กรีซในศตวรรษที่ 3 บอกว่า เซโน่เดินทางมาเอเธนส์โดยเรือ เมื่อมาถึงเอเธนส์ได้เดินเรื่อยเปื่อยไปทั่วโมง จนมาถึงร้านขายหนังสือแห่งหนึ่ง เขาก็ได้อ่านงานเขียนของโสเครเตส (Socrates) จนเกิดความประทับใจ เขาก็ถามพนักงานว่าจะไปหาผู้ชายคนนี้ได้ที่ไหน พนักงานคนนั้นก็ตอบซีโน่โดยแนะนำให้เขาไปหาเครเตส (Crates of Thebes) นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นที่มีชีวิตอยู่ เซโน่จึงได้ไปเรียนกับเครเตส
มีวันหนึ่งเครเตส ให้เซโน่แบกหม้อดินที่บรรจุซุปไปทั่วตลาด ซึ่งเครเตสสังเกตุได้ว่าเซโน่มีอาการกระดากอาย เมื่อเซโน่เผลอ เครเตสก็ใช้ไม้ตีหม้อดินจนแตก ซุปก็หกรดตัวเซโน่ เซโน่เลยหนีออกจากโรงเรียนของเครเตสมา
ต่อมาซีโน่จึงได้ออกจากโรงเรียนของเครเตส แล้วไปเรียนนักปราชญ์คนอื่นอีกหลายคน อาทิ สติลโป (Stilpo) , โครนัส (Diodorus Cronus)
301 BC เซโน่เริ่มสอนหนังสือให้กับคนอื่น โดยใช้พื้นที่บริเวณสโต พอยกาลี (Stoa Poikile) บริเวณหนึ่งของเอเธนส์ที่ใช้จัดแสดงภาพเขียนและศิลปะ
262 BC เซโน่เสียชีวิต โดยดิโอจีเนส บอกว่าซีโนสะดุดเท้าตัวเองแล้วตกจากบันไดหลังจากโรงเรียนที่เขาสอนเลิกเรียน
Stoicism, Stoa นั้นตั้งชื่อตาม Stoa Poikile อาคารซึ่งใช้แสดงภาพเขียนและงานศิลป์ ซึ่งซีโน่ใช้เป็นสถานที่สอนลูกศิษย์ของเขา
เซโน่ แบ่งแนวปรัชญาของเขาออกเป็นสามส่วน ได้แก่
Logic ว่าด้วยความคิดและการรับรู้
Physics เซโน่เชื่อว่าจักรวาลนี้คือพระเจ้า และไฟเป็นพื้นฐานของกระบวนการต่างๆ ในจักรวาล
Ethics เป้าหมายของ Stoicism คือการแสวงหาความสุข (Apatheia, absence of passion) ที่ปราศจากความหลงไหล เซโน่เห็นว่าความจริงหรือความดีนั้นเป็นจริงในตัวของมันเอง เขาบอกว่า ความสุขคือการดำเนินไปของชีวิตที่ดี (Happiness is a good flow of life) เราจะสามารถไปถึงเป้าหมายนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราใช้เหตุผลที่ถูกต้อง สอดคล้องกับเหตุผลของจักรวาล (Logos, Universal Reason) การใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติก็จะเป็นเครื่องนำทางเราไปยังเป้าหมายนี้ (The chief good is to live according to nature, which is to live accroding to virtue, for nature leads us to this point)