Numquam prohibere somniantes
Malala of Maiwand
Malala of Maiwand

Malala of Maiwand

 มาลาลา (Malala, Malalai)  เกิดในปี

1861

เป็นคนในหมู่บ้านคิก (Khig) หมู่บ้านเล็กๆในไมวันด์ (Maiwand) เมืองทางตอนใต้ของจังหวัดกันดาฮาร์ (Kandahar) อัฟกานิสถาน  ที่บ้านของเธอมีอาชีพเลี้ยงสัตว์

1880

กรกฏาคม, (Battle of Maiwand) สมรภูมิที่ไมวันด์ เป็นส่วนหนึ่งของสงครามระหว่างอัฟกานิสถานกับอังกฤษ ครั้งที่ 2 (2nd Anglo-Afghan War, 1878-1880) ที่อังกฤษพยายามจะขยายอาณานิคมจากอินเดียเข้ามาครอบครองอัฟกานิสถานด้วย

ในสงครามนี้พ่อและคู่มั่นของมาลาล่าได้เข้าร่วมกับกองทัพของข่านอายัพ (Ayub  Khan) ซึ่งโจมตีค่ายทหารอังกฤษ โดยที่มาลาลาเหมือนกับผู้หญิงอัฟกานิสถานทั่วไปที่จะอยู่ในแนวหลังของทหาร คอยจัดการเรื่องเสบียงและดูแลทหารบาดเจ็บ

แต่แม้ว่าจะมีจำนวนที่มากกว่า แต่กองทัพอัฟกานิสถานเป็นฝ่ายเสียเปรียบกองทัพอังกฤษที่มีอาวุธที่ดีกว่า จนทหารอัฟกานิสถานที่กำลังรบอยู่เสียขวัญ

มาลาลา เห็นอย่างนั้น เธอก็ถอดผ้าคลุมหน้าออก แล้วร้องตะโกนว่า

“… ถ้าท่านไม่ล้มลง ณ.ที่แห่งนี้ ที่ไมวันด์, 

พระเจ้า!, ต่อไปก็จะมีคนนำเอาภาพของท่านไปเป็นสัญลักษณ์ของความอดสู 

Young love! If you do not fall in the battle of Maiwand,

By God, someone is saving you as a symbol of shame! ”

  เสียงของมาลาลา ทำให้ทหารกลับมาฮึดสู้อีกครั้ง และเมื่อมาลาลามองเห็นทหารที่ถือธง ถูกกระสุนของอังกฤษยิง จนกำลังจะล้มลง เธอได้วิ่งเข้าไปคว้าและประคองธงที่กำลังจะลงพื้นเอาไว้ และได้ร้องเพลงว่า

“ด้วยหยดเลือดของผู้เป็นที่รักแห่งข้า

ที่หลั่งเพื่อพิทักษ์แผ่นดินแม่

ข้านำมันมาแต้มที่หน้าผาก

จะเป็นการดูหมิ่นกุหลาบในสวนไหม

With a drop of my sweetheart’s blood,

Shed in defense of the Motherland,

Will I put a beauty spot on my forehead,

Such as would put to shame the rose in the garden!

แต่สักพักมาลาลาเองก็ถูกกระสุนยิงจนเสียชีวิต, ข่านอายุบ  ได้พระราชทานเพลิงศพใหักับมาลาลา และฝังเธอเอาไว้ในหมู่บ้านของเธอเพื่อสดุดีวีรกรรมอันกล้าหาญ

อังกฤษหลังปราบปรามการลุกฮืดของข่านอายุบได้แล้วก็ถอนทหารกลับไปยังที่ตั้งในกันดาฮาร์

เรื่องราวของมาลาลาถูกบรรจุในตำราเรียนของอัฟกานิสถาน และเป้นแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงอัฟกานิสถาน และชื่อของเธอมักถูกนำไปตั้งชื่อให้กับเด็กผู้หญิง อาทิ ชื่มาลาลา ยูซัฟไซ (Malala Yousafzai) เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ 2014 และผู้เขียนหนังสือ I’m Malala (หนังสือเล่มนี้ Christina Lamb นักข่าวอังกฤษเป็นผู้ร่วมเขียน)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!