Numquam prohibere somniantes
Stanley Milgram
Stanley Milgram

Stanley Milgram

สแตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram)

นักจิตวิทยา ที่รู้จักมากจากการทดลองเรื่อง  experiment of obedience

มิลแกรม เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1933 ในเมืองนิวยอร์คซิตี้, ยิวยอร์ค สหรัฐ ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิว พ่อของเขาเกิดในฮังการี ชื่อซามูเอล (Samuel Milgram) และแม่มาจากโรมาเนีย ชื่ออเดล (Adele)

1953 พ่อของเขาเสียชีวิต
1954 จบปริญญาตรีทางด้านรัฐศาสตร์การเมืองจากวิทยาลัยควีน (Queen College) หลังจากนั้นได้สมัครเข้าเรียนจิตวิทยาที่ฮาร์วาร์ด (Harvard)
1960 จบปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาสังคมจากฮาร์วาร์ด และได้งานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่เยล (Yale)
1963 เป็นผู้ช่วยศาสตร์จารย์ที่ม. ฮาร์วาร์ด
ช่วงเวลานี้เขาทำการทดลองและได้นำเสนอรายงานในชื่อ Behavioral Study of Obedience / การศึกษาพฤติกรรมการเชื่อฟัง
เป็นการทดลองที่ผู้ออกคำสั่งได้สั่งให้ผู้ถูกทดสอบปฏิบัติตามคำสั่งของเขา แม้ว่าในสิ่งที่อาจจะขัดกับจิตสำนึกของผู้ถูกทดสอบเอง การทดลองของมิลแกรมมีแรงบันดาลใจมาจากการไต่สวนพิจารณาคดีของอดอล์ฟ อิชแมนน์ ( Adolf Eichmann) นายพลของนาซีซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว มิลแกรมสงสัยว่าการกระทำของอิชแมนน์เป็นเพียงการปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้นหรือไม่
การทดลองของมิลแกรม ประกอบไปด้วยคนสามคน คือ อาสาจริง 2 คน ที่คนหนึ่งสวมบทบาทเป็นนักวิจัย อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นคนที่ถามคำถาม และอีกหนึ่งคนเป็นอาสาสมัครปลอมที่เตรียมเอาไว้ มิลแกรมสงสัยว่าคนเราจะยอมปฏิบัติตามคำสั่งได้มากแค่ไหนถ้าคำสั่งนั้นขัดต่อจิตสำนึกของเขา โดยเฉพ่าะเมื่อผู้ออกคำสั่งเหมือนจะเป็นผู้มีอำนาจ อย่างเช่น นักวิจัย ซึ่งบอกให้คนที่ทำหน้าที่ถามคำถาม ถามคำถามต่ออาสาสมัครที่เตรียมไว้ โดยที่ทั้งสองคนอยู่ในห้องที่แยกจากกันและไม่เห็นหน้ากัน ผู้ถามคำถามจะอ่านคำถามให้ผู้ตอบคำถามในอีกห้องหนึ่งฟัง ถ้าผู้ตอบคำถามตอบคำถามผิด ผู้ถามคำถามจะทำหน้าที่กดสวิสต์ปล่อยกระแสไฟฟ้า ที่จะถูกปรับให้สูงขึ้น 15 โวตต์ทุกครั้งที่ผู้ตอบคำถามตอบผิด , เมื่อผู้ถามคำถามกดปุ่มปล่อยกระแสไฟฟ้าแล้ว ก็จะได้ยินแต่เสียงร้องของผู้ตอบคำถามในอีกห้องหนึ่งร้องออกมา โดยที่จริงๆ แล้วไม่มีการปล่อยกระแสไฟฟ้า … การทดลองของมิลแกรมพบว่า เมื่อกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นจนระดับ 135 โวลต์ ผู้ถามคำถามจะรู้สึกกระอักกระอ่วนที่จะทำการทดลองต่อไป และเริ่มตั้งคำถามต่อวัตถุประสงค์ของการทดลองนี้
แต่ผู้ถามคำถามจะถูกกระตุ้นจากผู้สวมบทบาทเป็นนักวิจัย ด้วยประโยคง่ายๆ ได้แก่ 1. โปรดดำเนินการทดลองต่อไป 2. กรุณาทำงานทดลองต่อไป 3. การทดลองนี้มีความสำคัญมาก โปรดดำเนินการต่อไป  4. คุณต้องทำการทดลองต่อไป คุณไม่มีทางเลือก
ผลการทดลองปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ถามคำถามประมาณ 65% จะยังคงดำเนินการทดลองต่อไปจนกระทั้งกระแสไฟฟ้าสูงถึง 450 โวลต์
มิลแกรมสรุปการทดลองของเขาภายหลังว่าเป็น The Perils of Obedience / อันตรายของการรับฟังคำสั่ง
1967 ได้ตำแหน่งศาสตร์จารย์ที่ City University of New York Graduate Center
1974 พิมพ์หนังสือ Obedience to Authority: An Experimental View ซึ่งอธิบายการทดลองที่ผ่านมาของเขาละเอียดมากขึ้น
1984 20 ธันวาคม เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย ในนิวยอร์ค

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!