Numquam prohibere somniantes
Paul I of Russia
Paul I of Russia

Paul I of Russia

พาเวล เปโตรวิช (Павел Петрович)
จักรพรรดิของรัสเซีย ระหว่าง  1796-1801

พอล มีประราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน 1754 ในพระราชวังฤดูร้อน, นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นโอรสของจักรพรรดินีแคทเธอรีน มหาราช (Catherine II The Great) ซึ่งขณะนั้นแคทเธอรีน ยังดำรงพระยศเป็นเพียงแกรนด์ดัชเชส (Grand Duchess)  ส่วนพระบิดาของพระองค์คือซาร์ปีเตอร์ ที่ 3 (Emperor Peter III) ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นแกรนด์ดุ๊ก (Grand Duch)
มีข่าวลือกันว่าความเป็นจริงแล้วพอล ไม่ใช่โอรสของซาร์ปีเตอร์ที่ 3 แต่เป็นลูกของพันเอกเซอร์เกย์ ซัลตุกอฟ (Colonel Sergei Saltykov) คนรักคนแรกของแคทเธอรีน
ขณะที่ทรงอยู่ในวัยทารก ทรงถูกส่งตัวไปฝากไว้ในการอุปภัมภ์ของสมเด็จย่าของพระองค์ คือจักรพรรดินีอลิซาเบธ (Empress Elizabeth Petrovna) ซึ่งมีพระประสงค์ที่จะให้พอลสืบราชบัลลังค์ของพระองค์มากกว่าซาร์ปีเตอร์ ที่ 3 พระโอรส

1760 ได้เริ่มทรงพระอักษรจากนิกิต้า ปานิน (Nikita Ivanovich Panin)
1762 มกราคม, สมเด็จย่าของพระองค์สิ้นพระชนษ์  … ปีเตอร์ ที่ 3 จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นซาร์พระองค์ใหม่
8 กรกฏาคม, พระนางแคทเธอรีน ก็ทำการปฏิวัติและขึ้นปกครองประเทศเอง
1771 ทรงประชวรด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ (typhus)
1773 29 กันยายน, ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงออกันเต้ (Auguste Wilhelmins Luise of Hessen-Darmstadt) ตามพระประสงค์ของพระนางแคทเธอรีน , หลังจากอภิเษกแล้วออกัสเต้ ได้เปลี่ยนมานับถือคริสต์ออโธดีอกซ์ และได้เปลี่ยนพระนามเป็นนาตาเลีย อเล็กซีฟน่า (Natalia Alekseevna)
1774 เกิดกรณีกบฏปูกาเชฟ (Pugachev’s Rebellion) นำโดยเยเมลยาน ปูกาเชฟ (Yemelyan Pugachev) ซึ่งนำชาวนาที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเยียกคอสแซ็ค (Yaik Cossacks) เรียกร้องให้มีการเลิกทาส และต่อต้านการปฏิรูปการบริหารราชการของจักรพรรดินีแคทเธอรีน ซึ่งในช่วงเวลานี้มีข่าวลือว่าปูกาเชฟเองประกาศว่าตัวเองเป็นปีเตอร์ ที่ 3 ที่ยังไม่สวรรคต
1776 เมษายน, นาตาเลียสวรรคตระหว่างกำลังจะคลอด
กันยายน, พอลอภิเษกอีกครั้งกับเจ้าหญิงเยอรมัน ชื่อโซเฟีย (Sophie Dorothea Auguste Luise of Wurttemberg) ซึ่งหลังแต่งงานได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นมาเรีย  ฟีโอโดรอฟน่า(Maria Feodorovna) ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดารวมสิบคน
1777 เมื่อโอรสพระองค์แรกของพอลประสูติขึ้นมา จักรพรรดินีแคทเธอรีนได้มอบที่ดินผืนหนึ่งในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กให้เป็นของขวัญ ซึ่งพอลได้สร้างวังปาฟลอฟส์ก (Pavlovsk Palace) ขึ้นบนที่ดินนี้ โอรสของพระองค์ต่อมาภายหลังก็คือซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 (Alexander I of Russia)
1781 พอลพร้อมด้วยมาเรีย ฟีโอโดรอฟน่าเสด็จเยือนประเทศในยุโรปตะวันตก ระหว่าง 1781-1782
1783 ได้รับพระราชทานที่ดินในแกตไชน่า (Gatchina) จากจักรพรรดินีแคทเธอรีนอีกพืนหนึ่ง ซึ่งพอลได้นำมาสร้างเป็นสถานที่สำหรับฝึกทหาร และจำลองการรบ โดยใช้รูปแบบกองทัพของปรัสเซีย ซึ่งพอลมีไอดอลคือกษัตริย์เฟรดริช แห่งปรัสเซีย (Friedrich the Great of Prussia)

พอลเกิดความสงสัยว่าแคทเธอรีนพระมารดา, และมาเรีย ฟีโอดรอฟน่า จะทำร้ายพระองค์ เพราะแคทเธอรีนต้องการให้อเล็กซีน ขึ้นครองราชย์มากกว่า
ช่วงเวลานี้พอลจึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของบริวารอย่างสาวใช้ชื่อ แคทเธอรีน เนลิโดว่า (Catherine Nelidova), แอนนา โลปุคิน่า (Anna Lopukhina) และช่างตัดผมที่เป็นทาสเชื้อสายตุรกีชื่อ โครอยส์ซอฟ (Koroissov)
1797 17 พฤศจิกายน, จักรพรรดินีสวรรคต พอลขณะพระชมน์มายุ 42 พรรษา ได้ครองราชย์สืบต่อมา
5 เมษายน, มีพระราชพิธีราชาภิเษกในมอสโคว์

เมื่อทรงครองราชย์งานแรกๆ ที่ทรงทำ คือการปล่อยตัวนักโทษสำคัญหลายคน อย่าง ทาดุสซ์ คอสเซียสโก้ (Tadeusz Kosciuszko) ผุ้นำชาวโปแลนด์ที่ก่อจราจลต่อต้านรัสเซีย เขาถูกขังในเรือนจำหลังจากแพ้ในการรบเมื่อปี 1794 และยังปล่อยตัวอเล็กซานเดอร์ ราดิชเชฟ (Alexander Radishchev) นักเขียนซึ่งถูกจับหลังจากวิจารณ์แคทเธอรีนอย่างหนักหลายหน
พอลรับสั่งให้มีการถอนทหารที่แคทเธอรีนส่งไปพิชิตอิหร่านกลับประเทศ และเรียกทหารกว่าหกหมื่นนายที่ช่วยอังกฤษในการรบกับฝรั่งเศสกลับด้วย  โดยพอลมีนโยบายที่ต่อต้านการทำสงครามและไม่ต้องการขยายดินแดน พระองค์ต้องการเห็นสันติภาพในยุโรป แต่ติดปัญหาการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ที่ทำให้พระประสงค์ไม่เป็นจริง

ทรงปฏิรูปกฏหมายเกี่ยวกับทาส อย่างการห้ามใช้กำลังบังคับทาสให้ทำงานในวันอาทิตย์ และทาสสามารถให้การเป็นพยานและร้องเรียนต่อศาลยุติธรรมได้ได้
1798 มิถุนาย, นโปเลียน (Napoleon) ยึดเกาะมัลต้า (Malta) ซึ่งเป็นฐานกำลังหลักของอัศวินมัลต้า (Knights of Hospitaller) กลายเป็นชนวนสุดท้ายให้รัสเซียตัดสินใจทำสงครามกับฝรั่งเศส
1801 มกราคม, พอลสั่งให้ฟีโอดอร์ ออร์ลอฟ-เดนิสซอฟ (Feodor Orlov-Denisov) ทหารคอสแซ็ค นำกำลังทหารมุ่งไปยังอินเดียซึ่งเป็นดินแดนในอาณัติของอังกฤษ มีเป้าหมายเพื่อป่อนทำลายอำนาจของอังกฤษ แต่ว่าสองเดือนต่อมาพอลถูกปลงพระชนษ์เสียก่อน คำสั่งนี้จึงยังไม่ได้ปฏิบัติ
คืนวันที่ 23 มีนาคม ( O.S 11/12 มีนาคม) พอลถูกปลงพระชนภายในห้องบรรทมในพระราชวังเซนต์ไมเคิ้ล (St.Mkchael Palace)  โดยผู้ก่อเหตุนำโดยนายพลเบนนิกเซ่น (Bennigsen), นายพลแยชวิล (General Yashvil) ชาวจอร์เจีย พวกเขาบุกเข้าไปในห้องบรรทม พยายามข่มขู่ให้พอลลงพระนามสละราชบัลลังค์ พอลพยายามเจรจาแต่ว่าคนร้ายได้ใช้ดาบแทงพระองค์จนสิ้นพระชนษ์
ผู้บงการการลอบปลงพระชนษ์นี้ ได้แก่นายพล นิโคไล ซุบอฟ (Nikolay Zubov) , เคาต์ ปีเตอร์ พาห์เลน (Peter Ludwig von der Pahlen), นิกิต้า ปานิน (Nikita Petrovich Panin), โจเซ่ ริมาส (Jose de Ribas)  ใช้บ้านของโอลก้า ชุโบว่า (Olga Zubova) เป็นสถานที่ในการวางแผนการณ์, มีเพียงริมาสเท่านั้นที่ไม่ได้ร่วมก่อเหตุในคืนวันลอบปลงพระชนม์เพราะเขาเสียชีวิตไปก่อน

หลังพอลสวรรคต นายพลซุบอฟ ผู้นำในการก่อการณ์ครั้งนี้ ได้ไปผู้กับอเล็กซานเดอร์ ที่ 1 ซึ่งก็อยู่ในพระราชวังที่เกิดเหตุ  นายพลซูบอฟบอกกับอเล็กซานเดอร์ว่า  “ได้เวลาเติบโตแล้ว, จงไปแล้วปกครอง / Time to grow up/ Go and Rule” … อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 จึงสืบราชสมบัติสืบมา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!