Numquam prohibere somniantes
Henry Kissinger
Henry Kissinger

Henry Kissinger

เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Alfred Kissinger)

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนที่ 56, โนเบลสันติภาพ 1973

คิสซิงเจอร์ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 1923 ในแคว้นบาวาเลีย, เยอรมัน (Fürth, Bavaria, Germany) ขณะนั้นเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic)

ชื่อเดิมของเขาคือ ไฮนซ์ (Heinz Alfred Kissinger) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเฮนรี่เมื่อมาอยุ่ในสหรัฐฯ  ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิว พ่อมีชื่อว่าหลุยส์ (Louis Kissinger) เป็นคุณครู และแม่ชื่อว่า พอลล่า (Paula Stern) เป็นแม่บ้าน เขามีน้องชายหนึ่งคนชื่อวอลเตอร์ (Walter Kissinger) 

นามกสุล “คิสซิงเจอร์” นั้นมาจากชื่อของเมืองแบดคิสซิงเจ้น (Bad Kissingen) เมืองสปาที่มีชื่อของบาวาเรีย

1938 เมื่อพรรคนาซีเรืองอำนาจในประเทศ  ครอบครัวของเขาอพยพออกจากเยอรมันมาอาศัยอยู่ในลอนดอน และช่วงปลายปีได้ย้ายมาอยู่ในนิวยอร์ค, สหรัฐฯ

เขาเข้าเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนมัธยมจอร์จ วอชิงตัน (George Washington High School)  ตั้งอยู่ตอนบนของย่านแมนฮัตตัน 

หลังจากจบมัธยมแล้วคิสซิงเจอร์เข้าเรียนต่อที่ซิตี้คอลเลจ (City College of New York) ด้านบัญชี โดยที่ระหว่างเรียนเขาทำงานไปด้วย

1943 ช่วงเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 คิสซิงเจอร์ต้องหยุดเรียน เมื่อเขาถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นทหาร   คิสซิงเจอร์ถูกกองทัพส่งไปเรียนวิศวะกรรมที่วิทยาลัยลาฟาเยตต์ (Lafayette college) ในเพนซิลวาเนีย แต่ต่อมาโครงการดังกล่าวถูกยกเลิก 

9 มิถุนายน, เขาได้รับสัญชาติอเมริกัน 

หลังจากรับการฝึกที่แคมป์ครอฟท์ (Camp Croft) ในเซาท์แคโรไลน่าแล้ว คิสซิงเจอร์ได้ประจำการณ์ในหน่วยทหารราบที่  84 (84th Infantry Devision) ในแอลเอ

ระหว่างนี้คิสซิงเจอร์ได้รู้จักกับฟริตซ์ (Frit Kraemer) ซึ่งเป็นชาวเยอรมันอพยพเช่นเดียวกัน ซึ่งฟริตซ์ได้ติดต่อให้คิสซิงเจอร์ย้ายมาอยู่ในหน่วยด้านสายลับของกองทัพ

ช่วงสงครามโลก เมื่อสหรัฐฯ เริ่มเข้าไปในเยอรมันได้ คิสซิงเจอร์ถูกส่งเข้าไปยังเมืองกรีเฟล์ด (Krefled)  เพื่อทำงานต่อต้านนาซี ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียวเมืองกรีเฟล์ดก็สามารถกลับมาบริหารโดยฝ่ายพลเรือนได้

1946 หลังสงครามโลก เขายังทำงานอยู่ในโรงเรียนฝึกสายลับให้กับฝ่ายยุโรป ที่แคมป์คิง (Camp King)

1947 กลับมาอยู่สหรัฐฯ และเข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ดคอลเลจ (Harvard College)

1949 แต่งงานกับแอน (Ann Fleischer) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน ชื่ออลิซาเบธ (Elizabeth) และเดวิด (David)

1950 เขาเรียนจบปริญญาตรีจากฮาร์วาร์ดคอลเลจ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ทางด้านรัฐศาสตร์ โดยเขาเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง The Meaing of history

1952 จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

1954 จบปริญญาเอกจาก ม.ฮาร์วาร์ด โดยที่เขาเขียนวิทยานิพนธ์ชื่อ “Peace, Legitimacy and the Equllbrium( A Study of the Statesmanship of Castlereagh and Metternich) หลังจากเรียนจบเขายังทำงานต่อที่ฮาร์วาร์ด โดยได้ทำงานในหลายโครงการวิจัยที่นี่จนกระทั้งถึงปี 1969

1955 ช่วงปีนี้เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของคณะกรรมการปฏิบัติการณ์ประสานงาน (Operations Coordinating Board) ซึ่งอยู่ภายใต้สภาความมั่นคง (National Security Council) และยังเป็นผู้อำนวยการการศึกษาด้านนโยบายต่างประเทศและอาวุธนิวเคลียร์ให้กับสภาความสัมพันธ์นานาชาติ (Counfil on Foreign Ralations)

ทำงานให้กับกองทุนพี่น้องร๊อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Brothers Fund) ซึ่งคิสซิงเจอร์ เป็นที่ปรึกษาและให้สนับสนุนเนลสัน ร๊อคกี้เฟลเลอร์ (Nelson Rockefeller) ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค ในการแข่งเป็นตัวแทนพรรครีพับพลิกันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

1958 ร่วมกับ โรเบิร์ด โบวี  (Robert R. Bowie) ก่อตั้งศูนย์วิจัยกิจการระหว่างประเทศ (Center for Internaitonal Affairs) ขึ้นใน ม.ฮาร์วาร์ด โดยที่คิสซิงเจอร์อยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการจนถึงปี 1971

1964 หย่ากับภรรยาคนแรก

1968 เมื่อริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ชนะการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้แต่งตั้งให้คิสซิงเจอร์เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคง (National Security Advisor)

1969-1971

1967 ซูฮาร์โต (Suharto) ขึ้นสู่อำนาจในอินโดนีเซียด้วยการยึดอำนาจจากประธานาธิบดีซูการ์โน่ (Sukarno) ซึ่งอ่อนแอหลังรอดพ้นจากการปฏิวัติในปี 1965 และปัญหาเศรษฐกิจ หลังซูฮาร์โต ครองอำนาจเขาประกาศใช้นโยบาย New Order สหรัฐฯ ให้การหนุนหลังซูฮาร์โต้ เพราะเขาต่อต้านคอมมิวนิสต์ และได้มีสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการทหารที่แนบแน่นกับสหรัฐฯ แทน

1969 คิสซิงเจอร์ผลักดันนโยบาย Detente ซึ่งพยายามผ่อนคลายการเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียต มีผลงานที่สำคัญอย่างการนำไปสู่การบรรลุข้อตกลงการจำกัดจำนวนอาวุธยุทธศาสตร์ (SALT 1, Strategic Arms Limitations Talk) กับโซเวียต

(Operation Menu) แต่ในขณะเดียวกันในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา สหรัฐฯ ในยุคนิกสัน-คิสซิงเจอร์ เร่ิมทิ้งระเบิดในเวียดนามเหนือและกัมพูชาอย่างหนัก เพื่อตัดเส้นทางขนส่งอาวุธจากโซเวียตไปยังเวียดนามเหนือ การทิ้งระเบิดในกัมพูชาของสหรัฐฯ ประมาณว่ามีคนนับแสนที่เสียชีวิต

1970 มีนาคม, ในกัมพูชานโรดม สีหนุ (Prince Norodom Sihanouk) ถูกปฏิวัติ โดยนายพลลอน นอล (General Lon Nol) ที่สหรัฐฯ ให้การหนุนหลัง , สีหนุจึงหันไปจับมือกับเขมรแดง  (Khmer Rouge)

30 เมษายน, (Cambodian Campaign) ปธน.นิกสัน ประกาศผ่านสถานีโทรทัศน์ว่าสหรัฐฯ ได้ส่งทหารบุกกัมพูชา

1971 เขามีบทบาทสำคัญในการพบปะเจรจากันระหว่าง ปธน.นิกสัน กับโจว เอินไล (Zhou Enlai) ของจีน 

1973 29  มิถุนายน, ในประเทศชิลี เกิดการปฏิวัตินำโดยพันโทโรเบอร์โต (Coloenl Roberto Souper) ที่ต้องการโค่นรัฐบาลของประธานาธิบดีอัลเลนเด (Savaldor Allende) อัลเลนเดเป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ว่ามีแนวคิดแบบสังคมนิยมสมัยใหม่และเป็นไม้เบื่อไม้เมากับสหรัฐฯ , การปฏิวัติในครั้งนี้ล้มเหลว

11 กันยายน, เกิดการปฏิวัติอีกครั้ง คราวนี้นำโดยนายพลปิโนเช่ต (Augusto Pinochet) ซึ่งสหรัฐฯ ให้การหนุนหลัง การปฏิวัติเป็นไปอย่างนองเลือดในเดือนแรก มีการสังหารประชาชนฝ่ายซ้ายหลายพันคน และกว่าสี่หมื่นคนถูกจับ

22 กันยายน, นิกสันแต่งตั้งคิสซิงเจอร์เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ (Secretary of State)

Operation Condor

สหรัฐฯ ในยุคของนิกสัน-คิสซิงเจอร์ เข้าไปสนับสนุนการปฏิวัติในชิลี (Pinochet coup, 11 ก.ย. 1973) โดยสนับสนุนนายพลปิโนเช่ (Augusto Pinochet) เพื่อโค่นล้มรัฐบาลสังคมนิยม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ในอเมริกาใต้ของสหรัฐฯ

10 ธันวาคม, ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ร่วมกับ ลี ดัค โธ (Le Duc Tho) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม จากบทบาทการเจรจาสันติภาพยุติสงครามเวียดนาม (Vietnam War,1955-1975) ตามข้อตกลงสันติภาพปารีส (Paris Peace Accords)  แต่ว่าลี ดัค โธ ปฏิเสธการรับรางวัลโนเบล โดยให้เหตุผลว่าสันติภาพยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง และเห็นว่าสหรัฐและเวียดนามใต้ได้ละเมิดข้อตกลงปารีส

1974 เมื่กนิกสันยอมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และเจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Ford) ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน คิสซิงเจอร์ยังคงได้รับความไว้วางใจให้อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศต่อไป

31 มีนาคม, แต่งงานกับแนนซี่ มากินเนส (Nancy Sharon Maginnes)

1977 ได้รับรางวัล the Presidential Medal of Freedom เป็นรางวัลสูงสุดของพลเมืองสหรัฐฯ 

คิสซิงเจอร์ลาออกจากรัฐบาล และไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown Universtiy)

1982 ก่อตั้ง Kissinger Associates, Inc. บริษัทที่ปรึกษาด้านกิจการต่างประเทศและการลงทุน ซึ่งคิสซิงเจอร์อยู่ในตำแหน่งประธานมาจนปัจจุบัน

2001 ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการสอบสวนในเหตุการณ์ 911 ( 9/11 commission) แต่ว่าเขาลาออกในไม่กี่อาทิตย์ต่อมา 

ช่วงปลายของชีวิตคริสซิงเจอร์เป็นสมาชิกของบิลเดอร์เบิร์ก (Bilderberg club) และ CFR (Council on Foreign Relations)

2023 29 พฤศจิกายน, เสียชีวิตในคอนเน็คติคัส (Kent, Connecticut)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!