Numquam prohibere somniantes
Otto von Bismarck
Otto von Bismarck

Otto von Bismarck

อ๊อตโต้ บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)

บิชมาร์ค เกิดวันที่  1 เมษายน 1815  ในโชนเฮาเซ่น,แซ็กโซนี่, ปรัสเซีย (Schönhausen, Saxony, Prussia) เขาเป็นลูกคนที่สองของบ้าน 

พ่อของเขาชื่อคาร์ล (Karl Wilhelm Ferdinand von Bismarck) ตระกูลของเขาเป็นตระกูลเก่าแก่ ครอบครองที่ดินจำนวนมาก ในอัลมาร์ก (Altmark) 

แม่ชื่อวิลเฮมไมน์ เมนเค่น (Wilhelmine Luise Mencken) 

*8 มิถุนายน 1815 มีการก่อตั้งสมาพันธรัฐเยอรมัน ซึ่งประเทศต่างๆ 39 ประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นพูดภาษาเยอรมัน และเคยเป็นดินแดนของจักรวรรดิโฮลี่โรมัน (Holy Roman Empire) เข้ารวมตัวกันอย่างหลวมๆ โดยที่ปรัสเซีย และออสเตรียก็รัฐสำคัญและเป็นคู่แข่งกัน

1816 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่โชเฮาเซ่น (Schönhausen)

1821 ตอนอายุหกขวบ เริ่มเข้าโรงเรียนประจำชื่อปลาแมนเช่ (Plamannsche Erziehungsanstalt) ในเบอร์ลิน

1827 มาเรียนต่อที่ฟรีดิช-วิลเฮล์ม จิมเนเซียม (Friedrich-Wilhelms gymnasium) 

1832 เข้าเรียนกฏหมายที่ ม.ก๊อตตินเจ้น (University of Göttingen)

1833 ย้ายมาเรียนที่ ม.เบอร์ลิน (University of Berlin)

หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้างานราชการ

1838 สมัครเข้าเป็นทหารอาสาอยู่หนึ่งปี หลังจากนั้นได้มาช่วยครอบครัวบริหารอสังหาริมทรัพย์

1845 เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นของโปเมราเนีย (Pomerania province)

1847 28 กรกฏาคม, แต่งงานกับโจฮันน่า (Johanna von Puttkamer)  พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน ชื่อเฮอณ์เบิร์ต (Herbert, b.1849) , วิลเฮล์ม (Wilhelm, b.1852) และมาเรีย (Marie, b.1847)

1848 เกิดการปฏิวัติ (March Revolution) ในหลายรัฐประเทศของสมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) ซึ่งรวมถึงปรัสเซีย ขณะที่บิชมาร์คพยายามต่อต้านการปฏิวัติโดยติดอาวุธให้ชาวนาและเดินขบวนในเบอร์ลินเพื่อสนับสนุนกษัตริย์

กษัตริย์เฟรเดอริค ที่ 4 (Frederick William IV) ซึ่งในตอนแรกได้รวบรวมกำลังทหารเพื่อปราปรามฝ่ายเสรีนิยม ได้เปลี่ยนพระทัยถอนทหาร และสนับสนุนแนวคิดของฝ่ายปฏิวัติที่ต้องการรวมเยอรมันและทรงสั่งให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ จนช่วงปลายปีสถานะการณ์ก็สงบลง

1849 บิชมาร์คได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในแลนด์แต๊ก (Vereinigter Landtag) สภาผู้แทนของปรัสเซีย โดยบิสมาร์คเป็นฝ่ายที่แนวคิดอนุรักษ์นิยมและสนับสนุนการปกครองโดยกษัตริย์ ซึ่งนโยบายในตอนแรกของบิชมารค์ เขาไม่เห็นด้วยกับการรวมรัฐต่างๆ ของสมาพันธฯ มาเป็นประเทศเดียว เพราะกลัวว่าปรัสเซียจะหายไป ประกอบกับรัฐสำคัญอย่างออสเตรียเองก็ไม่สนับสนุน ทำให้ความพยายามในการรวมเยอรมันของฝ่ายสนับสนุนล้มเหลว

1851 กษัติรย์เฟรเดอริค ที่ 4 ได้แต่งตั้งให้บิสมาร์คเป็นผู้แทนของปรัสเซียเข้าร่วมการประชุมของสหพันธรัฐเยอรมัน ในแฟรงค์เฟิร์ต 

1857 กษัตริย์เฟรเดอริค ที่ 4 ทรงพระประชวรด้วยโรคเส้นเลือดสมองตีบ พระอนุชาวิลเฮล์ม จึงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน และได้แต่งตั้งให้บิสมาร์คไปเป็นฑูตประจำรัสเซีย

1861 กษัตริย์เฟรเดอริค สวรรคต และพระอนุชารับการาชาภิเษกเป็นกษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 1 (Wilhelm I) 

1862 23 กันยายน, กลับมายังปรัสเซียและได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (Minister President) 

30 กันยายน, Blood and Iron speech บิชมาร์คกล่าวสุนทรพจน์ต่อรัฐสภาเรียกร้องให้เพิ่มกำลังทหารโดยบอกว่าประเทศไม่ได้สร้างโดยเสรีภาพแต่ด้วยความเข้มแข็ง โดยอาวุธและเลือดเนื้อ

ทำสงครามกับเดนมาร์ก โดยตอนแรกปรัสเซียสนับสนุนดุ๊กฟรีดิช ออกัสเตนเบิร์ก (Friedrich von Augustenburg) ในกรรมสิทธิของดินแดนชเลสวิง (Schleswing) และโฮลสไตน์ (Holstein) หลังกษัตริย์เฟรเดริก ที่ 7 (Frederick VII of Denmark) แห่งเดนมาร์กสวรรคต  โดยได้รับการสนับสนุนจากออสเตรีย ในขณะที่เดนมาร์กให้การสนับสนุนคริสเตรียน ที่ 9 (Christian IX) 

แต่ว่าหลังจากฝ่ายปรัสเซียยึดดินแดนสองแห่งได้แล้ว เกิดความขัดแย้งกับออกัสเตนเบิร์ก ปรัสเซียจึงได้ผนวกชเลสวิกไว้ และออสเตรียได้โฮลสไตน์ไป ตามข้อตกลงเกสไตน์ (Gastein convention) 

1866 ทำสงครามกับออสเตรีย (Austro-Prussian War) จากความขัดแย้งในกรรมสิทธิในชเวลวิกและโฮลสไตน์อีก 

7 มีนาคม, ระหว่างที่บิสมาร์คอยู่ในเบอร์ลิน นักศึกษาชื่อเฟอร์ดินาน โคเฮน-บไลน์ด (Ferdubabd Cohen-Blind) ได้พยายามจะลอบสังหารเขา บิสมาร์ครอดมาได้โดยกระสุนทำให้เขาบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย)

23 สิงหาคม, มีการลงนามในสัญญาสันติภาพปราก (Peace of Prague) ซึ่งยุติสงครามระหว่างปรัสเซียกับออสเตรีย และได้มีการยุบสมาพันธรัฐเยอรมันลงไป และปรัสเซียได้ผนวก โอลสไตน์ , แฟรงเฟิร์ต, แฮนโอเวอร์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งสำเร็จ และยังบังคับให้อีก 21 เมืองเหนือแม่น้ำเมน (River Main) เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์รัฐเยอรมันเหนือ (North German Confederation)

1870 19 กรกฏาคม, ฝรั่งเศส โดยนโปเลียน ที่ 3 (Napoleon III) ประกาศสงครามกับปรัสเซีย (Franco-Prussian War)

1  กันยายน, Battle of Sedan การรบที่ซีดาน เป็นชัยชนะครั้งสำคัญของปรัสเซียเหนือฝรั่งเศส ซึ่งในวันถัดมา นโปเลียน ที่ 3 ถูกจับตัวได้

1871 18 มกราคม, ณ.ห้องกระจก (Hall of Mirrors)ในพระราชวังแวร์ซาย (Versailles) กษัตริย์วิลเฮล์ม ที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้ประกาศตั้งจักรวรรดิเยอรมัน (German Empire) โดยมีการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federation)  ที่มีรัฐต่างๆ รวมกัน 25 รัฐ

28 มกราคม, Siege of Paris ปรัสเซียสามารถยึดกรุงปารีสได้สำเร็จ

บิชมาร์คได้รับยศเป็นเจ้าชาย (Fürst)

1871 21 มีนาคม, เขาได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (Chancellor) คนแรกของเยอรมัน แต่ว่าเขายังคงตำแหน่งในปรัสเซียควบคู่ไปด้วย  หลังดำรงตำแหน่งเขามีนโยบายที่ต่อต้านแคโธริก (Kulturkampf) บิชอฟและนักบวชในนิกายแคโธริกไม่ถูกจับก็จะถูกเนรเทศออกไป

1873 บิสมาร์คสนับสนุนให้มีการตั้งสันนิตบาตสามจักรพรรดิ (League of the Three Emperors) ระหว่างกษัตริย์วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย, ซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 (Alexander II) ของรัสเซีย และจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟ (Francis Joseph) แห่งออสเตรีย-ฮังการี เพื่อรักษาดุลย์อำนาจในยุโรป แต่ว่าระบบนี้ล่มไปในปี 1887

1879 ลงนามในสนธิสัญญา Dual Alliance ระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เพื่อสร้างพันธมิตรไว้รับมือกับรัสเซียและฝรั่งเศส

1883 มีการผ่านกฏหมายการประกันสุขภาพให้กับแรงงาน และในปี 1884 มีกฏหมายการประกันอุบัติเหตุ ตามด้วยกฏหมายการให้เงินบำนาญในปี 1889 ทำให้เยอรมันเป็นประเทศแรกในโลกที่ถือว่าเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State)  บิชมาร์คใช้นโยบายแบบรัฐสวัสดิการนี้เพื่อต่อต้านฝ่ายสังคมนิยม

1888 จักรพรรดิวิลเฮล์ม ที่ 1 สวรรคต และจักรพรรดิฟรีดริช ที่ 3 (Friedrich III) ครองราชย์ต่อมาเพียง 99 วัน ก็สวรรคต , จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 (Wilhelm II) จึงสืบอำนาจต่อมา

1890 18 มีนาคม, บิสมาร์ควัย 70 ปี ลาออกจากตำแหน่ง หลังมีความเห็นไม่ลงรอยกับจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 

หลังเกษียรบิสมาร์คและครอบครัวไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อวาร์ซิน (Varzin) ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์ เขาใช้เวลาช่วงนี้เขียนบันทึกความทรงจำ Thoughs and Memories

1894 27 พฤศจิกายน, โจฮันน่า เสียชีวิต, หลังจากนั้นบิสมาร์คจึงย้ายไปอยู่ที่ฟรีดริชรูช (Friedrichsruch) ใกลักับเมืองแฮมบูร์ก (Hamburg)

1898 30 กรกฏาคม, เสียชีวิตในวัย  83 ปี

1899 16 มีนาคม, ครึ่งปีหลังบิชมาร์คเสียชีวิต มีการย้ายโลงศพของบิสมาร์คและภรรยา มาไว้ยังสุสานที่สร้างสำหรับเขา  (Bismarck Mausoleum) โดยวันนี้ถูกเลือกเพราะเป็นวันเดียวกับที่จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 สวรรคต ครบรอบ 11 ปี และในพิธีนี้จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ได้เสด็จเข้าร่วมด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!