สเวียโตสลาฟ อีโกเรวิช แห่งเคียฟ (Святослав Игоревич)
หนังสือ Tale of the bygone years บันทึกเอาไว้ว่าสเวียโตสลาฟเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ของรัสเซียที่ใช้พระนามเป็นภาษาสลาฟ พระองค์เป็นโอรสของเจ้าชายอิกอร์ (Igor) และเจ้าหญิงโอลก้า (Olga) ผู้ปกครองดินแดนเคียฟ
สเวียโตสลาฟ มีพระราชสมภพประมาณปี 942
c.945 เจ้าชายอิกอร์เสียชีวิตระหว่าการรบกับพวกเดรฟเลียน (Drevlians) ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อยู่ทางตะวันออกของเคียฟ หลังจากเจ้าชายอิกอร์สวรรคต เจ้าหญิงโอกล้าจึงรับหน้าที่บริหารราชอาณาจักรแทน เพราะพระโอรสยังทรงพระเยาว์
สเวียโตสลาฟ ได้เรียนหนังสือกับชาวไวกิ้ง (Varangian) ที่มีชื่อว่าอัสมุด (Asmud)
c.957 เจ้าหญิงโอลก้า พระมารดานั้นได้เปลี่ยนมานับถือศาสนานิกายออโธดอกซ์ แต่ว่าสเวียโตสลาฟยังเคารถเทพโบราณของสลาฟ อย่างเปรัน (Perun) และเทพเจ้าองค์อื่นๆ
c.965 ไม่นานหลังจากขึ้นครองราชย์ พระองค์มีพระประสงค์ในการขยายดินแดนไปยังตะวันออก และเริ่มทำการทำสงครามกับคาซาร์ ((Khazar campaign) คาซาร์ขณะนั้นเป็นรัฐที่ใหญ่และเข้มแข็งที่สุดในยุโรปตะวันออก มีพรหมแดนติดกับเคียฟไปจนถึงบริเวณประเทศจอร์เจียปัจจุบัน
c.967 สเวียโตสลาฟส่งทหารมาช่วยจักรพรรดิไนโกรอส โฟกัส (Nikephoros Phokas) แห่งไบแซนไทน์ (Bynaztine Empire) ในการพิชิตบัลแกเรีย ซึ่งขณะนั้นมีบอริส ที่ 2 (Boris II ofBulgaria) เป็นกษัตริย์
แต่ระหว่างที่สเวียโตสลาฟกำลังทำสงครามอยู่นั้น จักรพรรดิไนโกรอส ได้สั่งให้กาโลไกรอส (Kalokyros) ทำทหารมาโจมตีเคียฟ ซึ่งขณะนั้นมีเพียงเจ้าหญิงโอลก้า และวลาดิมีร์ (Vladimir the Great) อยู่ดูแล แต่กองทัพของเคียฟปกป้องเมืองเอาไว้ได้และกาโลไกรอสต้องถอยทัพกลับ
968 เมื่อสเวียโตสลาฟสามารถเอาชนะบัลกาเรียได้ พระองค์จึงไม่ส่งมอบดินแดนให้กับไบแซนไทน์ตามสัญญาเดิม แต่ได้ยึดครองเอาไว้ และได้ย้ายเมืองหลวงจากเคียฟมายังเปรสลาเว็ตส์ (Preslavets) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญริมฝั่งแม่น้ำดานูบ (Danube river)
969 สเวียโตสลาฟสามารถพิชิตคาซาร์ และบุกเข้าเมืองหลวงเอติล (Atil) ได้สำเร็จ
970 ยกทัพเข้ายึดเมืองเอเดรียโนเปิ้ล (Adrianople) ของไบแซนไทน์ ซึ่งขณะนั้นจอห์น ทซิมิเกส (John Tzimiskes) ได้ทำรัฐประหารและขึ้นเป็นจักรพรรดิแทนไนโกรอส โฟกัส
มีนาคม, กองทัพของรัสเซียและไบแซนไทน์ รบกันที่เมืองอาร์คาดิโอโปลิส (Arcadiopolis) ในตุรกีปัจจุบัน ฝ่ายของไบแซนไทน์ นำทัพโดยบาร์ดัส สกลีรอส (Bardas Skleros) ซึ่งยกทัพใหญ่มาจากแถบบอลค่าน และสามารถเอาชนะฝ่ายรัสเซียได้
หลังจากนั้นได้มีการเจรจาสงบศึกระหว่างกัน โดยที่สเวียโตสลาฟต้องยุติการโจมตีบัลแกเรียและกลับไปยังเคียฟ
สเวียโตสลาฟนำกองทัพเดินทางกลับมาทางเรือและขึ้นฝั่งบริเวณเกาะเบเรซาน (Berezan island) ปากแม่น้ำดนิเปอร์ (Dnieper) ซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาว ปรากฏว่ากองทัพซึ่งตั้งแคมป์บริเวณนี้เพื่อหลบภัยหนาวต้องเผชิญกับภาวะอดอยาก
ช่วงเวลานี้จักรพรรดิจอห์น ทซิมิเกส แห่งไบแซนไทน์ได้เกลี้ยกล่อมให้ข่านเคอร์ยา (Pecheneg, khan Kurya) ให้สังหารสเวียโตสลาฟก่อนที่พระองค์จะเสด็จถึงเคียฟ ข่านเคอร์ยานั้นเดิมเป็นพันธมิตรของสเวียโตสลาฟที่ร่วมรบระหว่างการบุกบัลแกเรีย
972 สเวียโตลาฟ ถูกข่านเคอร์ยาปลงพระชนม์ บริเวณคอร์ตุตเซีย (Khotytsia) เกาะที่ใหญ่ที่สุดในแม่น้ำดนิเปอร์ ซึ่งเ Tale of the bygone years ได้บอกว่าเศียร์ของสเวียโตสลาฟได้ถูกนำไปทำเป็นแก้วใบใหญ่ (Chalice) เพื่อฉลองชัยชนะ
โอรสและธิดาของสเวียโตสลาฟ
กับ เปรดสลาว่า (Predslava)
1. ยาโรโพล์ก ที่ 1 (Yaropolk I of Kiev)
2. โอเล็ก (Oleg of the Drevlyans)
กับ มาลุช่า (Malusha)
1. วลาดิมีร์ (Vladimir the Great)