วิลเฮล์ม โรพกี้ (Wilhelm Röpke)
The Humane Economy
โรพกี้ เกิดวันที่ 10 ตุลาคม 1899 ในฮันโนเวอร์, เยอรมัน (Hannover, Germany) พ่อของเขาเป็นหมอ ครอบครัวของเขาเป็นโปรเตสแตนต์
1917 เข้าเรียนวิชากฏหมายและรัฐศาสตร์ที่ ม.ก๊อตตินเจ้น (Göttingen Universtiy) ต่อมาได้ย้ายมาที่ตูบินเจ้า (Tübingen)
1921 สำเร็จปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์
1922 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วย ศจ. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มหาวิทยามาร์เบิร์ก (University of Marburg)
1923 เมื่ออายุเพียง 24 ปี ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาเจน่า (University of Jena)
1929 มาทำงานที่มหาวิทยาลัยฟิลิปแห่งมาร์เบิร์ก (Philipps-University of Marburg )
1930 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ส. ของเยอรมัน โรพกี้ ได้เขียนเตือนเอาไว้ว่า “คนที่ออกไปโหวตในกับนาซี ในวันที่ 14 กันยายน จะไม่สามารถปฏิเสธภายหลังได้เลยว่าพวกเขาไม่รู้ว่าจะมีผลอะไรตามมา … เพราะพวกเขาโหวตให้กับความวุ่นวายแทนที่กฏระเบียบ, การทำลายล้างแทนที่การสร้างสรรค์ … และสงครามทั้งภายในและภายนอก”
1933 เขาต้องลี้ภัยมาอยู่ในอิสตันบูลของตุรกี เพราะว่าเขาเขียนบทความวิจารณ์นาซีหลายครั้ง ที่ตุรกีเขาได้งานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยอิสตันบูล (University of Istanbul)
ช่วงเวลานี้เขาเขียนหนังสือ The Doctrine of the Economy
1937 ได้งานใหม่ที่สถาบันนานาชาติศึกษาและการพัฒนา (Graduate Institute of International and Development Studies) ในเจนีวา, สวิสฯ
1947 ร่วมก่อตั้ง Mont Pelerin Society ซึ่งเขาได้เป็นประธานของสมาคมนี้ในปี 1961-1962
1953 ได้รับรางวัล Great Cross of Merit
1966 12 กุมภาพันธ์, เสียชีวิตในเจนีว่า
ผลงานเขียน
- Crisis and Economic, 1932
- The Doctrine of the economy, 1937
- The economic elements of the peace problem
- The Social Crisis of Our Time
- Civitas Humana
- The German Question
- International Order and Economic Integration
- The Crisis of collectivism, 1947
- Doctrine of the Mean, 1950
- Beyond supply and demand, 1958
- Against the Tide, 1959
- Confusion and truth, 1962
- Fronts of freedom Stuttgard, 1965
- A Humane Economy
- Crise and Cycles
ผลงานเขียนโรพกี้ มีอิทธิพลต่อแนวคิดเศรษฐกิจแบบ Ordoliberalism แนวคิดนี้ถูกยกย่องว่าเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจเยอรมันตะวันตก ในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่อยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจได้รับการสร้างขึ้นใหม่จนรุ่งเรืองจนถูกเรียกว่าเป็นช่วงเวลาของความมหัศจรรย์ของเยอรมัน (Wirtschaftswunder, German Economic Miracle)
Ordoliberalism รัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนเสรีภาพในตลาด สนับสนุนให้เกิดการแข่งขัน โดยที่รัฐไม่เข้าไปเป็นเจ้าของกิจการโดยตรง ธนาคารกลางต้องมีอิสระจากรัฐบาลและมีหน้าที่ในการทำให้เงินเฟ้อต่ำ
Ordoliberalism ถูกเรียกว่า Third Way (ทางเลือกที่สามนอกจากคอมมิวนิสต์และทุนนิยม) ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอุดมการณ์เศรษฐกิจในสมัยของประธานาธิบดี บิล คลินตัน (Bill Clinton) และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี่ แบลร์ (Tony Blair)