Numquam prohibere somniantes
Dropa Stone
Dropa Stone

Dropa Stone

The Dropa Stone

ในปี 1938 ศาสตราจารย์ ชิ ปู๋ ไถ่ (Chi Pu Tei, 齐福泰) นักโบราณคดีชาวจีน ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่บริเวณเทือกเขาบริเวณมณฑลเฉชวนใกลักับทิเบต และได้ค้นพบกับถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งภายหลังถูกตั้งชื่อว่าไบอัน การา-อูล่า  (Bayan Kara Ula [Bayan Har Shan] , Qinghai, Sichun Provinces, Western China)

ภายในถ้ำแห่งนี้มีสุสานอยู่จำนวนหนึ่งเรียงกันเป็นแถว แต่ว่าโครงกระดูกที่ถูกพบนั้นมีลักษณะแตกต่างจากมนุษย์ปกติ  ร่างกายมีส่วนสูงประมาณ 1.30 เมตร เล็กกว่ามนุษย์ปกติ 

นอกจากนั้นยังมีการพบภาพวาด และแผ่นหิน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว และหน้า 2 เซนติเมตร แผ่นหินมีลักษณะเป็นวงกลมที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งมีการค้นพบแผ่นดินดังกล่าวจำนวนทั้งหมด 716 แผ่น

ในปี 1962  ศจ.ซู เหวิน หนิง  (Professor Tsum Um Nui, 楚聞明) จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งได้รับเอาแผ่นหินโดรปามาตั้งแต่ปี 1958  อ้างว่าสามารถถอดข้อความในอักษรดังกล่าว ได้ว่าว่า “ยานบินได้ตกลงบริเวณที่ไบอัน ฮาร์ ซาน นี้เมื่อราว 12,000 ปีก่อน"

ชื่อแผ่นหินโดรปา (Dropa) ถูกตั้งชื่อตามชนเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณระแวกที่มีการค้นพบถ้ำดังกล่าว ซึ่งนอกจาก นอกจากชาวเผ่าโดรปาแล้วยังมีอีกเผ่าหนึ่งคือคาม (Kham) ที่อยู่ในพื้นที่บริเวณนี้  ชาวโดรปา มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากชาวจีนหรือชาวธิเบต พวกเขามีผิวเหลือ รูปร่างผอมบางและมีมือที่ยาว ตัวเล็กและมีเส้นขนบางๆ ตามลำตัว 

ในปี 1968 ดร. เวียชีสลาฟ เซียตเซฟ (Vyatcheslav Zaitsev, Вуацеслаф К.Зайцева) ชาวรัสเซียได้เขียนบทความเกี่ยวกับแผ่นหินดรอปานี้ลงในหนังสือแม็กกาซีนสปุตนิก (Sputnik magazine) ซึ่งทำให้ชาติตะวันตกหันมาสนใจเกี่ยวกับแผ่นหินดรอปาอย่างจริงจังมากขึ้น  

ดร. เซียตเซฟได้วิเคราห์แผ่นหินดรอปา ตัวอย่างพบว่าเป็นหินแกรนิตที่มีโคบอล์ตและธาตุเหล็กอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ ทำให้มีความแข็งเป็นพิเศษ 

ในปี 1947 ดร.คาริล โรบิน (Karyl Robin-Evans) ได้มีการบันทึกภาพถ่ายของสามีภรรยาชาวเผ่าโดรปาเอาไว้ ระหว่างที่เดินทางไปสำรวจ ซึ่งคนที่เป็นสามีชื่อ ฮุยปาห์ ลา (Hueypah La) มีส่วนสูง 120 เซนติเมตร และภรรยาชื่อ วีซ ลา (Veez La) มีความสูง 100 เซนติเมตร

ในปี  1974 วิศวกรชาวออสเตรีย ชื่อเอิร์น เวเกอร์ (Ernst Wegerer) ได้ถ่ายภาพหินโดรปาซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์บานโป (Banpo museum) ในมณฑลซีอาน (Xian) เอาไว้ ซึ่งมีทั้งหมดสี่ภาพ แต่หลังจากนั้นเมื่อมีนักวิทยาศาสตร์คนอื่นต้องการเดินทางไปถ่ายภาพแผ่นหินโดรปาภายในพิพิธภัณฑ์อีก เจ้าหน้าที่อ้างว่าแผ่นหินถูกทำลายไปแล้วp

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Don`t copy text!