ธีโอดอร์ เฮริซล์ (Benjamin Zeev Herzl)
บิดาแห่งไซออนิสต์
เฮิร์ซ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1868 ในเมืองเปสต์ ทางตะวันออกของกรุงบูดาเปสต์, ฮังการี (Pest, Budapest, Kingdom of Hungary) พ่อของเขาชื่อจาคอป (Jakob Herzl) และแม่ชื่อแจเน็ตต์ (Jeanette Diamond) เฮิร์ซเป็นลูกคนที่สองของบ้าน ครอบครัวของเขาพูดกันด้วยภาษาเยอรมัน และยิว
1878 ครอบครัวของเขาย้ายมาอยู่ในกรุงเวียนนา เขาได้เข้าเรียนด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยเวียนา (University of Vienna) พร้อมกับได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพชาตินิยมเยอรมัน (Burshchenschaft) แต่ว่าต่อมาในปี 1883 เขาลาออกเพื่อประท้วงเพราะว่าภายในกลุ่มเกิดกระแสการต่อต้านชาวยิว
1884 เมื่อเรียนจบได้ทำงานด้านกฏหมายอยู่ในเวียนนา และยังเริ่มเขียนนวนิยายและละครเวทีของตัวเอง
1889 แต่งงานกับจูเลีย (Julie Naschauer) มีลูกชื่อ พอลีน (Pauline, 1890-1930) , ฮันส์ (Hans, 1891-1930) และมาร์กาเร็ต (Margaret, 1893-1943)
พอลีนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ส่วนฮันส์ยิงตัวตายตามพี่สาวไป , มาร์กาเร็ตเสียชีวิตในค่ายกักกันของนาซีในช่วงสงคราม
1891 มาทำงานเป็นนักข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ Viennese newspaper และเป็นนักข่าวอิสระให้กับหนังสือพิมพ์ Neue Freie Presse ของฝรั่งเศส
1894 เกิดเหตุการณ์ Dreyfus Affair ในฝรั่งเศส ซึ่งนายทหารฝรั่งเศสที่มีเชื้อสายยิวถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับให้กับเยอรมัน เฮิร์ซซึ่งเป็นนักข่าวได้ติดตามทำข่าวนี้ ซึ่งขณะนั้นมีประชาชนออกมาเดินประท้วงบนท้องถนนและพากันร้องตะโกนว่า “ฆ่ายิว ฆ่ายิว” ซึ่งข้อมูลบางแห่งอ้างว่ามันเป็นแรงบันดาลใจ ที่เฮิร์ซรู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมและชาวยิวจำเป็นจะต้องมีดินแดนของตัวเอง
1896 กุมภาพันธ์, หนังสือ The Jewish State (Der Judenstaat) ที่เขาเขียนถูกตีพิมพ์ออกมา ซึ่งหนังสือได้บรรยายถึงเหตุผลและความสำคัญที่ชาวยิวจะต้องมีประเทศเป็นของตัวเอง หนังสือได้รับการตอบรับจากชาวยิวทั่วโลกแต่ก็เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่คนเชื้อชาติอื่น
มีนาคม, วิลเลี่ยม เฮชเลอร์ (William Hechler) รัฐมนตรีแองลิกันของอังกฤษได้เดินทางมาพบกับเฮิร์ซ
มิถุนายน, เดินทางไปยังคอนสแตนติโนเปิ้ล, จักรวรรดิอ็อตโตมัน ในขณะนั้นเพื่อพบกับสุลต่านอับดุลฮมิด (Abdulhamid II) เพื่อเสนอแผนของเขาที่ต้องการดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นรัฐของคนยิว โดยที่จะยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของอ๊อตโตมัน โดยแลกกับการที่ชาวยิวจะช่วยชำระหนี้ต่างประเทศของทางการอ๊อตโตมัน แต่ข้อเสนอของเขาถูกปฏิเสธ
หลังจากกับจากคอนสแตนติโนเปิ้ล เขาได้เดินทางไปยังลอนดอน และพบกับกลุ่มชาวยิวภายใต้การดูแลของพันเอก อัลเบิร์ต โกล์ดสมิด (Albert Goldsmid) ซึ่งหลังการพูดคุยกันโกล์ดสมิดได้ให้การสนับสนุนเฮิร์ซอย่างเต็มที่
12 กรกฏาคม, เฮิร์ซและชาวยิวนับพันคนได้ออกเดินประท้วงไปตามท้องถนนเพื่อรณรงค์การตั้งรัฐของตัวเอง
1897 เฮิร์ซ ตั้ง Die Welf of Vienna
1898 29 สิงหาคม, เป็นประธานจัดการประชุมไซออนนิสต์ ครั้งแรก (First Zionist Congress) ที่เมืองเบเซิ้ล ในสวิสฯ โดยในที่ประชุมได้มีการเลือกเฮิร์ซขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธาน เขาอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั้งเสียชีวิต
1900 มีผลงานรวมเรื่องสั้นชื่อ Philosophical Tales
1902 มีผลงานชื่อ The Old New Landซึ่งต่อมาถูกแปลเป็นภาษาฮิบรูวโดย นาฮุม โซโกโลว (Nahum Sokolow)ในชื่อเทล อาวีฟ (Tel Aviv) ซึ่งถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของเมืองเทล อาวีฟ
1903 ทางการอังกฤษได้ยื่นข้อเสนอซึ่งรู้จักกันในชื่อแผนอูกันด้า (Uganda Program) โดยเสนอมอบดินแดน 13,000 ตารางกิโลเมตร ใน Uasin Gishu ที่ประเทศเคนย่าปัจจุบันเพื่อใช้ตั้งรัฐของชาวยิว
ในที่ประชุมไซออนนิสต์ ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นในเบเซิ้ล ได้มีการนำเอาแผนอูกันด้าเข้ามาอภิปราย คนที่สนับสนุนให้เหตุผลว่าจะใช้ดินแดนนี้เป็นที่อยู่ชั่วคราวที่มั่นคงสำหรับคนยิวได้ แต่คนที่คัดค้านเห็นว่าหากได้รับข้อเสนอไปแล้วจะทำให้การก่อตั้งรัฐยิวในแผ่นดินปาเลสไตน์ยากขึ้น ซึ่งมติในที่ประชุม 295 ต่อ 177 ได้ตั้งคณะสำรวจเข้าไปสำรวจพื้นที่ตามข้อเสนอเสียก่อน (แต่ว่าหลังการสำรวจในปี 1905 คณะสำรวจรายงานว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยง เพราะเป็นที่อาศัยของสิงโต และชนเผ่ามาไซ … สุดท้ายที่ประชุมในปี 1905 ได้ปฏิเสธข้อเสนอของทางการอังกฤษไป)
1904 3 กรกฏาคม, เฮิร์ซ เสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยอาการของโรคหัวใจ ในเมืองไรนัว แอน เดอ แรซ์ (Reichenau an der Rax) ออสเตรีย ร่างของเขาถูกนำไปฝังในสุสานเดียวกับบิดาของเขาในเวียนนาตามเจตนารมณ์ ซึ่งเขาบอกไว้ว่าเมื่อมีดินแดนของชาวยิวเกิดขึ้นแล้วก็จงย้ายร่างของเขาไปที่นั่น
1948 พฤษภาคม, เกิดประเทศอิสราเอล
1949 อัษฐิของเขาถูกนำไปประกอบพิธีฝังอีกครั้งในภูเขาเฮิร์ซ (Mount Herzl) ในกรุงเยรูซาเล็ม